วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่
วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่จะออมเงิน หรือนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน โดยวิธีการเก็บเงิน หรือออมเงินนั้นควรคำนึงถึงอุปนิสัย และเป้าหมายของการออม ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดลับการออมเงินระยะสั้น หรือเคล็ดลับออมเงินระยะยาว และความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้ แล้วเลือกวิธีที่เหมาะกับเรามากที่สุด ซึ่งวันนี้มาสิจะมาแนะนำ 5 วิธีที่ง่าย ๆ ไว้เป็นแนวทางให้มนุษย์เงินเดือน หรือเด็กยุคใหม่ได้มีเงินเก็บตามเป้าหมายกันค่ะ

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

วิธีเก็บเงินของเด็กยุคใหม่

1. เก็บเงินใส่กระปุกออมสิน

วิธีสุดแสนจะคลาสสิค ซึ่งแต่ละคนจะมีสไตล์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนมักจะหยอดเหรียญลงกระปุกออมสิน หรือบางคนเมื่อมีแบงค์ 50 บาท ก็จะเก็บไว้ออม ไม่นำไปใช้จ่าย หรือบางคนเลือกที่จะเก็บแบงค์ใหม่เอี่ยม อีกทั้งบางคนยังเลือกที่จะเก็บเงิน และควบคุมความประพฤติของตัวเองควบคู่ไปกับการเก็บเงินด้วย เช่น จะไม่กินมื้อเย็นหลังสามทุ่มไม่งั้นต้องหยอดกระปุก 20 บาท ทุก ๆ ครั้ง ถือการทำโทษตัวเอง แต่การทำแบบนี้นอกจากจะมีเงินออมมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เรามีวินัยเราดีอีกด้วย แต่ทุกอย่างควรทำในขอบเขตที่พอดีไม่ฝืนตัวเองจนเกินไป เพื่อจะได้สบายใจในการออมเงินค่ะ   

2. บันทึกรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ

การบันทึกรายรับรายจ่ายของตัวเอง และเช็คอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกสิ้นเดือนจะทำให้รู้ว่าคุณใช้เงินไปกับส่วนไหนเท่าไหร่บ้าง หลังจากนั้นลองทบทวนดูว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้างที่ไม่จำเป็นหรือพอประหยัดได้บ้าง ถ้าหากคุณไม่ต้องการจดบันทึกลงในสมุด ก็สามารถบันทึกโดยใช้ Application มือถือก็ได้ ที่นิยมก็เช่น Weple Money, Spendee, Piggipo, Pocket Expense, Level Money, Mint เป็นต้น

3. เปิดบัญชีเงินฝากประจำหักจากเงินเดือนโดยตรง

เริ่มต้นจากกำหนดสัดส่วนเงินตามเป้าหมายที่คุณตั้งใจออม เช่น 10% ของเงินเดือน แล้วไปเปิดบัญชีฝากประจำกับธนาคารที่มีบัญชีเงินเดือนอยู่ โดยแจ้งความประสงค์ให้ทางธนาคารหักเงินออกจากบัญชีอัตโนมัติในวันที่เงินเดือนออก (เช่น ปกติเงินเดือนออกวันที่ 25 ก็ให้หักทุกวันที่ 25) โดยเลือกประเภทการฝากประจำที่เหมาะกับวัตถุประสงค์การออมเป็นสำคัญ เช่น 12 เดือน หรือ 24 เดือน ซึ่งวิธีนี้สามารถการันตีได้ว่าคุณจะสามารถเก็บเงินได้สม่ำเสมอทุก ๆ เดือน และยังได้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีเงินเดือนที่เป็นบัญชีออมทรัพย์อีกด้วยค่ะ

4. ซื้อกองทุน LTF/RMF และประกันชีวิตเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้

สำหรับมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่ หรือคนที่ยังไม่เชี่ยวชาญในตลาดหุ้น การลงทุนในกองทุนรวม เช่น LTF หรือ RMF ที่มีผู้เชี่ยวชาญช่วยบริหารถือเป็นการลงทุนที่สะดวกกว่า และอาจจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร ทั้งนี้การลงทุนในตลาดหุ้นมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาหาข้อมูลก่อนว่ากองทุนไหนมีผลประกอบการน่าลงทุน และเหมาะกับสไตล์การลงทุนของเรา ส่วนการซื้อประกันชีวิต แม้ผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่ได้มากเท่าจากการซื้อกองทุน แต่ก็เป็นการซื้อความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งเพื่อคนที่อยู่ข้างหลังเรา เช่น ครอบครัว อย่างไรก็ตาม เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น เราจะต้องลงทุนในกองทุน LTF/RMF ทิ้งไว้นานถึง 7 ปีปฏิทิน (หรือ 5 ปี) และในกรณีของประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาอย่างน้อย 10 ปี

5. ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยตัวเอง (มีความเสี่ยงสูง)

การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นมีความเสี่ยงมาก ดังนั้นผู้ลงทุนนั้นควรจะศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุน ซึ่งในปัจจุบันก็มีแหล่งข้อมูลให้ศึกษาทั้งหนังสือการลงทุนเบื้องต้น หนังสือการลงทุนแบบเจาะลึก รวมถึงข้อมูลด้านการลงทุนจากอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังควรพิจารณาซื้อหุ้นตัวที่มีเหมาะสมกับเรา เพื่อประโยชน์ และผลตอบแทนที่งอกเงย

ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน วิธีเก็บออมเงินก็ต้องอาศัยความมีวินัย และความอดทนอยู่เสมอ มาสิขอเป็นกำลังใจให้คุณในการเก็บเงินให้ถึงเป้าหมายกันทุกคนนะคะ แต่ถ้าหากคุณกำลังมองหาสินเชื่อบุคคล เพียงคลิกที่นี่ หรือแอดไลน์ของมาสิ @masii เข้ามาได้เลยค่ะ

banner-personal-loan