ทุกวันนี้คนหันมาขับรถยนต์กันมากขึ้น เพราะว่าช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สามารถขับไปไหนมาไหนก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่านอกจากรถยนต์ทุกคันจะต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ แล้ว การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ ก็มีความสำคัญและจำเป็นมากเช่นกัน ถ้าอยากรู้ว่า ต่อภาษีรถยนต์ จำเป็นอย่างไร ตาม masii ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ต่อภาษีรถยนต์ จำเป็นอย่างไร
การต่อภาษีรถยนต์ หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมีไว้ในครอบครอง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีโทษปรับได้ ซึ่งการจ่ายภาษีรถยนต์นั้น หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้นำเงินไปพัฒนาและปรับปรุงถนนหนทางและการคมนาคมต่างๆ ภายในประเทศ โดยสามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน หากล่าช้าอาจถูกปรับ และหากขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ป้ายะเบียนรถยนต์จะถูกระงับต้องยื่นเรื่องขอทะเบียนใหม่
เอกสารที่ใช้ต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริง/สำเนา) หรือหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์
- เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ (ต้องต่อ พ.ร.บ.ก่อน จึงจะต่อภาษีรถยนต์ได้)
- หลักฐานการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)
- หลักฐานการติดตั้งแก๊สรถยนต์ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์
- ยื่นคำขอต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ ณ สถานที่ที่รับต่อภาษีรถยนต์ เช่น กรมขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งในพื้นที่ ไปรษณีย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ เคาน์เตอร์เซอร์วิส เป็นต้น
- ดำเนินการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์เกิน 7 ปี) หรือหากทำการตรวจมาแล้ว ให้ยื่นเอกสารตรวจสภาพรถแก่เจ้าหน้าที่ได้เลย
- หลังจากยื่นเอกสารครบแล้ว ก็ชำระเงินค่าธรรมเนียม
- รอรับใบเสร็จรับเงิน และรับป้ายภาษีรถยนต์สำหรับแปะหน้ากระจกรถ
- ในกรณีที่ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถทำได้ตามกระทู้นี้ คลิกที่นี่ จากนั้นทางกรมขนส่งฯ จะส่งใบเสร็จรับเงิน ป้ายภาษี และ กรมธรรม์พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ทางไปรษณีย์
- หากขาดการต่อภาษีนานเกิน 3 ปี จะต้องดำเนินการขอป้ายทะเบียนใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก จึงจะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร
ค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกจะคิดค่าใช้จ่ายตามขนาดความจุของกระบอกสูบ (ซีซี) สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง, รถกระบะ 4 ประตู) ดังนี้
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 – 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
รถกระบะ 2 ประตู
สำหรับรถกระบะ 2 ประตู หรือรถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีเขียว การคิดภาษีรถยนต์ จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถที่ได้ระบุข้อมูลไว้ในเล่มทะเบียนรถ ดังนี้
น้ำหนักรถ/กิโลกรัม | อัตราภาษีรถยนต์ |
501- 750 | 450 บาท |
751 – 1,000 | 600 บาท |
1,001 – 1,250 | 750 บาท |
1,251 – 1,500 | 900 บาท |
1,501 – 1,750 | 1,050 บาท |
1,751 – 2,000 | 1,350 บาท |
2,001 – 2,500 | 1,650 บาท |
รถตู้
สำหรับค่าภาษีรถยนต์ของรถตู้ หรือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงินนั้น ก็จะมีการคิดคำนวณภาษีรถยนต์ตามน้ำหนักรถ ดังนี้
น้ำหนักรถ/กิโลกรัม | อัตราภาษีรถยนต์ |
ไม่เกิน 1,800 | 1,300 บาท |
เกิน 1,800 | 1,600 บาท |
ข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก
ทั้งนี้สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมาเกิน 5 ปีแล้ว ในปีถัดไปเราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ดังนี้
- ปีที่ 6 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ลดหย่อนได้ ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ลดหย่อนได้ ร้อยละ 50
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ต่อภาษีรถยนต์ จำเป็นอย่างไร หากใครที่รู้ว่า ภาษีรถยนต์ ใกล้จะหมดอายุแล้ว สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วัน แต่อย่างไรแล้วก็ควรขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ซึ่งถ้าจะให้ดีมาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทร.มาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ