นอกจาก พ.ร.บ. รถยนต์ จะเป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำการ ต่ออายุ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปีแล้ว การ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญและต้องทำการต่ออายุเป็นประจำทุกปีเช่นกัน ไม่เช่นนั้นหากนำรถยนต์ที่ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์มาใช้บนท้องถนนแล้ว จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และหากขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที วันนี้ masii เลยได้นำขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ที่ควรรู้มาฝากกัน ไปดูกันว่าต้องทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง
ขั้นตอนต่อภาษีรถยนต์ที่ควรรู้
1. ตรวจสภาพรถยนต์
สำหรับรถยนต์ที่จะทำการต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ หากรถยนต์ที่ใช้มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) แล้วนำใบตรวจสภาพรถยนต์มาใช้ในการต่อภาษีรถยนต์อีกครั้ง
2. ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์
นอกจากจะทำการตรวจสภาพรถยนต์แล้ว ก่อนต่อภาษีรถยนต์ อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ด้วย เพราะจะได้นำเอกสารแนบท้ายหรือส่วนหางของ พ.ร.บ. รถยนต์ มาใช้ในการต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถยนต์นั่นเอง แม้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์จะยังไม่หมดอายุ ก็สามารถทำการต่อ พ.ร.บ.ล่วงหน้าได้ 30 วัน และสามารถกำหนดวันคุ้มครองให้ต่อจากวันที่ พ.ร.บ.หมดอายุได้
3. ขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส
หากรถยนต์คันที่จะต่อภาษีได้ติดตั้งแก๊ส ไม่ว่าจะเป็นแก๊ส NGV หรือ LPG อย่าลืมขอเอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สจากสถานที่ติดตั้งแก๊สไว้ด้วย เพราะถือว่ารถยนต์ดังกล่าวมีการดัดแปลง ต้องแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่งทางบก ซึ่งรถยนต์ที่ติดแก๊ส LPG ควรตรวจสอบถังบรรจุก๊าซทุกๆ 5 ปี และทุกๆ 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV โดยควรตรวจกับสถานที่ที่ได้รับมาตรฐานจากกรมขนส่ง และมีวิศวกรออกใบรับรองอย่างถูกต้อง
4. เตรียมเอกสารการต่อภาษีรถยนต์
เมื่อทำขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวเตรียมเอกสารให้พร้อม แล้วเตรียมยื่นเอกสารให้กับสถานที่ที่รับต่อภาษีรถยนต์ได้เลย
- เล่มทะเบียนรถยนต์ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถยนต์
- พ.ร.บ. รถยนต์
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)
- เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG)
5. ชำระภาษีรถยนต์
เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆ พร้อมแล้ว ก็ถึงเวลาต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้แล้วค่ะ โดยสถานที่ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้
- สำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ >> https://eservice.dlt.go.th
สำหรับใครที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้า ก็สามารถทำการชำระภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าได้ก่อนไม่เกิน 3 เดือน ที่สำคัญก็ควรขับรถอย่างปลอดภัย ไม่ประมาท และถ้าจะให้ดี มาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
แต่หากใครที่ต้องการต่อภาษีรถยนต์ มาสิก็มีบริการ รับต่อภาษีรถยนต์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ 02 710 3100 และอย่าลืมแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารหรือบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันการเดินทาง ประกันภัยโดรน ประกันสุขภาพ รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ (^_^)