ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม

ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม
ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

พ.ร.บ. หรือเรียกอีกอย่างว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance) ที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องมี เพื่อที่จะให้ความคุ้มครองแก่ ชีวิต ร่างกาย ของผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ขึ้นชื่อว่าบังคับแสดงว่ารถทุกคันต้องมี แต่หลายๆ ครั้งที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น คนขับรถกลับหลงลืมความคุ้มครองที่ พ.ร.บ. มีให้ต่อผู้ขับและผู้ประสบเหตุนั้นๆ วันนี้ “มาสิ” จะมาเตือนให้นักขับทั้งหลาย ไม่ลืมที่จะนึกถึงความคุ้มครองในส่วนนี้กัน ไปดูรายละเอียดกันเลย

ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม

*** รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ จะเป็นเงื่อนไข พ.ร.บ. ใหม่ ที่ผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ***

เนื่องด้วย คปภ.(สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย) มีประกาศตามคำสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2559 ได้มีการปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจากเดิม กรณีที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัย (ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ) ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดตามกฎหมาย (เป็นฝ่ายถูก) โดยมีผลเริ่มบังคับใช้สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่มีระยะเวลาประกันภัยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป รายละเอียดใหม่เป็นดังนี้

รายละเอียดความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ) แบบใหม่

ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จะได้รับโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด (รวมถึงกรณีเราเป็นฝ่ายผิด)

1.1  ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง)

  • วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 30,000 บาท

1.2  การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร (พิการ)

  • วงเงินคุ้มครอง 35,000 บาท

1.3 จากข้อ 1.1 และ 1.2 ค่าเสียหายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

*** คนนั่งในรถฝ่ายผิด จะไม่ถือว่าเป็นคนผิด  คนผิดจะนับที่ผู้ขับขี่เท่านั้น ***

2.จำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น

  • ผู้ประสบภัย(ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ) จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายที่ผิดตามกฎหมาย (กรณีเราเป็นฝ่ายถูก)

ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม

โดยมีวงเงินคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้

2.1  ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง)   

  • วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 80,000 บาท

2.2  การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร (พิการ)

  • วงเงินคุ้มครอง 300,000 บาท

2.3  สูญเสียอวัยวะ    

  • วงเงินคุ้มครอง  200,000 – 300,000 บาท

2.3.1 กรณีสูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป

  • วงเงินคุ้มครอง 300,000 บาท

2.3.2 กรณีสูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือหูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด  สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด

  • วงเงินคุ้มครอง 250,000 บาท

2.3.3 กรณีสูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว

  • วงเงินคุ้มครอง 200,000 บาท

ความคุ้มครองจาก พรบ. ที่หลายๆ คนอาจลืม

2.4  ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)

  • วงเงินคุ้มครอง 4,000 บาท

2.5  จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดสำหรับรายการข้อ 2.1, 2.2, 23 และ 2.4

  • ค่าเสียหายรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท

2.6  วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • วงเงินคุ้มครอง 5,000,000 บาทต่อ 1 ครั้งที่ประสบอุบัติเหตุ

2.7  วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง

  • วงเงินคุ้มครอง 10,000,000 บาทต่อ 1 ครั้งที่ประสบอุบัติเหตุ

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยเป็นหลักแต่ไม่ให้ความคุ้มครองแก่รถยนต์ ดังนั้นหากประสบอุบัติเหตุก็อย่าลืมความคุ้มครองในส่วนนี้นะครับ แต่หากจะต้องการความคุ้มครองให้รถยนต์ด้วยนั้นต้องทำประกันภาคสมัครใจหรือประกันภัยรถยนต์นั่นเองครับ รถยนต์เราจึงจะได้ความคุ้มครอง

สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

และหากสนใจทำ พ.ร.บ.หรือต่อพ.ร.บ. ก็สามารถใช้บริการ “มาสิ” ได้นะครับ โดยสามารถโทรมาสอบถามได้ที่ 02 710 3100 หรือแอด LINE: @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ ได้เลย

car insurance banner