สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์นอกจากจะต้องทำใบขับขี่เพื่อยืนยันตัวตนผู้ขับขี่แล้ว รถยนต์ก็ต้องมีการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อเป็นการทำประกันภาคบังคับ ที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอก ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุจนมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตขึ้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเงินค่าสินไหมทดแทนต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการเคลม พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอะไร และต้องใช้เอกสารอะไรในการเคลมหรือ เบิก พ.ร.บ. รถยนต์ บ้าง ตาม masii ไปดูกันเลย
ขั้นตอนเคลม พ.ร.บ.รถยนต์
เมื่อผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตจากอุบัติทางรถยนต์ ผู้ประสบภัย ผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยชอบธรรม สามารถทำเรื่องเบิกประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ได้ภายใน 180 วัน โดยยื่นเรื่องผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือยื่นเรื่องผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791) โดยค่าเสียหายจะจ่ายให้กับผู้เสียหายตัวจริง หรือผู้รับมอบอำนาจ หรือทายาทโดยธรรม ซึ่งการเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือค่าชดเชยต่าง ๆ ต้องใช้เอกสาร ดังนี้
เอกสารเบิก พ.ร.บ. รถยนต์
1. เบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีเป็นผู้ป่วยนอก
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
2. เบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ ที่
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล
หมายเหตุ : ฝ่ายผิดจะไม่สามารถเบิกค่าชดเชยในส่วนนี้ได้ จะเบิกได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
3. กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองคนพิการ ที่แสดงหลักฐานการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานที่แสดงได้ว่าได้รับความเสียหายจากการประสบภัย
4. กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน และหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์
เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทางพ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยเป็น ค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน เป็นวงเงินดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
- ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) สามารถเบิกได้ 35,000 บาท
ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
2. ค่าสินไหมทดแทน
สำหรับเงินค่าสินไหมทดแทนนี้ ผู้เคลมประกัน พ.ร.บ. จะได้รับค่าสินไหมทดแทนหลังจากที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกตามกฎหมาย โดยสามารถเบิกค่าเสียหายได้ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล สูงสุดคนละ 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) คนละ 300,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป 200,000 บาท
- ค่าชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
ทั้งนี้การจ่ายค่าเสียหาย ทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายให้กับผู้เสียหายตัวจริงเท่านั้น แต่หากผู้เสียหายไม่สามารถดำเนินการด้วยตัวเอง สามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เชื่อถือได้ให้ทำการแทน โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ โดยค่าชดเชยจะจ่ายเป็นเช็คในชื่อของผู้ประสบภัย แต่หากในกรณีที่เสียชีวิต บริษัทประกันจะจ่ายเช็คให้กับทายาทโดยชอบธรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่! หากผู้ใดมีทุจริตในการยื่นขอรับค่าเสียหาย หรือยื่นหลักฐานเท็จ จะมีความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ*
*ข้อมูลจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์นั้น ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยในกรณีได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นเงินชดเชยค่าเสียหายที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย จึงจำเป็นที่เจ้าของรถต้องทำการต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นประจำทุกปี อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ.ขาด เพราะอาจไม่ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวได้ ซึ่งหากใครอยากซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อพ.ร.บ. รถยนต์ในราคาพิเศษกับทางเว็บไซต์มาสิได้เลยค่ะ
สนใจซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์
หรือสามารถโทรศัพท์มาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงเลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราได้เลยที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันเดินทาง รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้เลยจ้า