อย่างที่ทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องมี เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังถือเป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณีและบุคคลภายนอกในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทั้งนี้พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี หลังจาก พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ เจ้าของรถจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี หรือหากใครต้องการต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าก็สามารถทำได้เช่นกัน
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้กี่เดือน
สำหรับการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์นั้น จะมีผลต่อการ ต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อทะเบียนรถยนต์ เพราะหากรถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. จะไม่สามารถทำการเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ซึ่งหากเราไม่ทำ พ.ร.บ. จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท และถ้าปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนานเกิน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ ทั้งยังต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% ในการเสียภาษีรถยนต์อีกด้วย
โดยคุณสามารถต่อภาษีและ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก่อนล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือประมาณ 90 วัน ก่อนที่ภาษีรถยนต์หรือ พ.ร.บ.รถยนต์ จะหมดอายุ ซึ่งราคาค่าเบี้ยของ พ.ร.บ. รถยนต์ มีดังนี้
พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไร
- รถยนต์ นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) ราคาประมาณ 600 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) ราคาประมาณ 1,100 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคาประมาณ 2,050 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคาประมาณ 3,200 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง ราคาประมาณ 3,740 บาท
- รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) ราคาประมาณ 900 บาท
- รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง 6 ตัน ราคาประมาณ 1,220 บาท
- รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน ราคาประมาณ 1,310 บาท
- รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน ราคาประมาณ 1,700 บาท
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเอกสารที่กฎหมายได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อช่วยคุ้มครองและชดเชยค่าความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยจากรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่บาดเจ็บ รวมไปถึงค่าปลงศพ ในกรณีที่เสียชีวิต อีกทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ ยังคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ซึ่งมีความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น (เบิกได้โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิด)
- ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- หากเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม (เบิกได้เฉพาะฝ่ายถูกเท่านั้น)
- ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) เพิ่มได้ไม่เกิน 80,000 บาท
- หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้เงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- หากสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
- กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท/คน
- กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์นั้น ให้ความคุ้มครองที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และคู่กรณีแล้ว ยังรวมไปถึงคุ้มครองบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย และดังที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นว่าเราสามารถต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือ 90 วัน ทั้งนี้หากใครต้องการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็สามารถติดต่อกับตัวแทนของบริษัทได้เลยค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น วิริยะประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย, ทิพยประกันภัย และ เจพี ประกันภัย เป็นต้น
สนใจสมัครประกันรถยนต์
และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น มาสิแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยก็ดีค่ะ เพราะช่วยคุ้มครองทั้งตัวรถยนต์และร่างกายของผู้ขับขี่และคู่กรณี โดยหากใครสนใจอยากทำประกันรถยนต์ ก็สามารถติดต่อกับทางมาสิได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ได้เลยค่ะ