ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์

ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์
ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

อย่างที่ผู้ใช้รถทราบกันดีอยู่แล้วว่า รถยนต์ทุกคันต้องมี พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะถือเป็นข้อบังคับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเหมือนกับเป็นการทำประกันภัยรถยนต์อย่างหนึ่ง โดย พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี และจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี แต่บางคนอาจหลงลืมจนปล่อยให้ พ.ร.บ. หมดอายุ จนไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ แล้วอย่างนี้ถ้าไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีข้อเสียอะไรบ้าง เราตาม masii ไปดูกันเลยค่ะ

ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์

ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครอง 1 ปี เมื่อครบกำหนดเจ้าของรถยนต์จะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ หากปล่อยให้ พ.ร.บ. ขาด หรือ พ.ร.บ. หมดอายุ จะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย และอาจส่งผลเสียต่างๆ ตามมา ดังนี้

  • เมื่อถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ แล้วพบว่ารถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ. หมดอายุ จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
  • เจ้าของรถจะไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ได้
  • และหากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดนานเกิน 3 ปี จะทำให้เลขทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ
  • นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% ในการเสียภาษีรถยนต์อีกด้วย
  • หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ประสบภัยในรถยนต์คันนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์

ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์

ซึ่งความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับจาก พ.ร.บ. รถยนต์นั้น ได้แก่

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จะได้รับโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด (ถึงแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม)

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท
  • ค่าสินไหมชดเชย กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 35,000 บาท

2. ค่าเสียหายเพิ่มเติมที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (ฝ่ายถูกจะได้รับในส่วนนี้)

  • ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท
  • ค่าสินไหมชดเชย กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาท
  • ค่าสินไหมชดเชย กรณีสูญเสียอวัยวะ วงเงินคุ้มครอง 200,000 – 300,000 บาท
  • ค่าสินไหมชดเชย การรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน สูงสุด 4,000 บาท
  • วงเงินคุ้มครองความรับผิดต่ออุบัติเหตุ สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง สูงสุด 5,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุ 1 ครั้ง
  • วงเงินคุ้มครองความรับผิดต่ออุบัติเหตุ สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง สูงสุด 10,000,000 บาทต่ออุบัติเหตุ 1 ครั้ง

ข้อเสียของการไม่ต่อพ.ร.บ. รถยนต์

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก อีกทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์ ยังเป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันควรมี ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลเสียดังที่มาสิกล่าวไปในข้างต้น และเมื่อได้ทราบข้อเสียของการไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมเช็กวันหมดอายุของพ.ร.บ. กันด้วยล่ะ แต่ถ้าใครต้องการซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ ปัจจุบันนี้ก็มีบริษัทประกันหลายแห่งที่เป็นตัวแทน เช่น วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย ทิพยประกันภัย และ เจพี ประกันภัย เป็นต้น

สนใจสมัครประกันรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

แต่หากใครที่สนใจการทำประกันรถยนต์ก็สามารถติดต่อกับทางมาสิได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลหรือติดตามข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับประกันรถยนต์ได้เลยจ้า


car insurance banner