พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี

พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี
พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เป็นที่ทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ นั่นเป็นสิ่งที่จำเป็นกับผู้ขับขี่รถยนต์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อใช้คุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดย พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น แล้วถ้า พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุขึ้นมา จะต้องทำยังไงบ้าง เราไปหาคำตอบกับ masii กันเลยค่า

พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี

พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี

สำหรับ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครอง 1 ปี และเมื่อ พ.ร.บ. หมดอายุ เจ้าของรถก็ต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เพราะหากรถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. จะไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ซึ่งหากปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี ก็จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับอีกด้วย นอกจากนี้หากนำรถยนต์ที่ พ.ร.บ. หมดอายุ มาขับบนท้องถนน จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ทำอย่างไร

สำหรับการต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์นั้น เจ้าของรถยนต์สามารถต่อพ.ร.บ. หลังจากที่ พ.ร.บ. หมดอายุ ได้เลยทันที ทั้งยังสามารถ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ล่วงหน้าได้ 3 เดือนหรือก่อน 90 วัน โดยเลือกช่องทางการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้ทั้ง พ.ร.บ.รถยนต์ ออนไลน์ หรือ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ผ่านทางตัวแทนขาย พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ บริษัทประกันภัย ซึ่งต้องใช้เอกสารในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์

  •       สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
  •       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ
  •       ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี)

พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี

ค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์ (ไม่รวมภาษี)

รถยนต์โดยสาร

รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) 600 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)  1,100 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง  3,740 บาท

รถกระบะ/ รถบรรทุก

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) 900 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน 1,220 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน 1,310 บาท
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 12 ตัน 1,700 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน 1,680 บาท
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน 2,320 บาท

พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ทำยังไงดี

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์

สำหรับรถยนต์ที่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเกิดความสูญเสียต่อชีวิตและร่างกาย ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี และบุคคลภายนอก สามารถเบิกประกัน พ.ร.บ. ได้ ดังนี้

ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับความคุ้มครองทุกฝ่าย โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)

ค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง คนละไม่เกิน คนละไม่เกิน 35,000 บาท
กรณีบาดเจ็บตามข้อ 1 และสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพตามข้อ 2 ได้คนละไม่เกิน 65,000 บาท
กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมสามารถเบิกค่าชดเชย เป็นเงินค่าปลงศพ คนละ 35,000บาท
แต่หากเสียชีวิตหลังจากรับการรักษาพยาบาล ได้คนละไม่เกิน 65,000 บาท


ค่าสินไหมทดแทน (คู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม)

แต่หากในอุบัติเหตุมีการพิสูจน์หลักฐานได้ว่าเราเป็นฝ่ายถูก จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มเติม เป็นค่าสินไหมทดแทนหรือเงินชดเชยที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีวงเงินคุ้มครอง ดังนี้

ค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกินคนละ 80,000 บาท
กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ (นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป) ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
กรณีพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (ไม่เกิน 20 วัน) ได้รับเงินชดเชยคนละไม่เกิน 4,000 บาท

สนใจสมัคร พ.ร.บ. รถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร!

จะเห็นว่า พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยได้เป็นอย่างดี อย่างไรแล้วก็อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ เด็ดขาด ทั้งนี้หากใครสนใจอยาก ซื้อ พ.ร.บ รถยนต์  ก็สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับทางมาสิได้ง่ายๆ รวมไปถึงหากใครอยากทำประกันรถยนต์เพิ่มเติม ก็สามารถโทรมาสอบถามทีมงานเพิ่มเติมได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันภัยร้านกาแฟ ประกันเดินทาง รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ

car insurance banner