14 พ.ย. วัน โรคเบาหวาน โลก ต้องกินหวานขนาดไหน ถึงห่างไกลจากเบาหวาน

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งโรคไม่ติดต่อยอดฮิตที่พบได้บ่อยที่สุด และคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวานไม่น้อยกว่า 4 ล้านคน ทั้งนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากการเป็นเบาหวานก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกาย ได้แก่ จอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่เท้าและขา ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว ดังนั้น วันนี้ 14 พ.ย ของทุกป๊เป็นวันโรคเบาหวานโรค มาสิ จึงไม่พลาดโอกาสที่จะนำความรู้ดี ๆ มาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกัน กับ การกินอย่างไรให้ห่างไกล โรคเบาหวาน ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ ในภาวะที่อินสุลินมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินสุลินในร่างกาย หรือการที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายตอบสนองต่ออินสุลินลดลง (หรือที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินสุลิน) จะทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

สาเหตุของ โรคเบาหวาน เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงมากขึ้นถึงระดับหนึ่ง จนทำให้ไตดูดกลับน้ำตาลได้ไม่หมด ซึ่งปกติไตจะมีหน้าที่ดูดกลับน้ำตาลจากสารที่ถูกกรองจากหน่วยไตไปใช้ ส่งผลให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ โรคเบาหวาน ” หากเราปล่อยให้เกิดภาวะเช่นนี้ไปนาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด

อาการของโรคเบาหวาน

เบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือ เบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากกรรมพันธุ์และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง การขยับร่างกายที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น

เบาหวานชนิดนี้ มักเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าเกิดในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เช่น อายุ 20 – 30 ปี ซึ่งสัมพัทธ์กับการรับประทานอาหารที่เป็นแป้ง ของหวาน หรือการออกกำลังกายที่ลดลง และ โรคอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อายุยังน้อย มีโอกาสจะควบคุมอาการโรคได้ยากกว่า เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายกว่า และมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในช่วงอายุที่น้อยกว่า

ดังนั้น การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในระดับที่ปกติ จึงมีความสำคัญอย่างมากรวมถึงการค้นหาโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันและการรักษาโรคเบาหวานได้อย่างทันท่วงที จะส่งผลให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานระยะยาวได้

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

นอกจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมีอาการที่รุนแรง และก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้ แต่หากเราทราบสาเหตุของโรคเบาหวานและทำการตรวจวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก และผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวได้มาก

ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอาการแสดงที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย ไปจนถึงภาวะช็อกน้ำตาล อย่างไรก็ตาม อาการที่เราสามารถสังเกตได้ เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย โดยเฉพาะปัสสาวะตอนกลางคืน ซึ่งอาจมากเกิน 3 ครั้ง/คืน น้ำหนักลดฮวบฮาบโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือปลายเท้าชา แสบร้อน หรือรู้สึกคล้ายเข็มแหลมๆทิ่ม แผลเรื้อรัง หายช้า เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ตามัวลง มองไม่ชัดเท่าปกติ หรือในคนสายตาสั้นอาจมองเห็นชัดขึ้น

บุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน โดยกำหนดที่ดัชนีมวลกาย ≥ 23 kg/m2 ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง รอบเอวใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ชาย  ≥ 90 เซนติเมตร และในผู้หญิง  ≥ 80 เซนติเมตร ผู้ที่มีญาติสายตรงป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้หญิงที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกคลอด 4 กิโลกรัมขึ้นไป รวมถึงชาวเอเชียที่อาจไม่มีปัจจัยเสี่ยงข้างต้นแต่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day)

วันเบาหวานโลก เป็นการรณรงค์หลักสร้างความตื่นรู้ในระดับโลกถึงโรคเบาหวาน และจัดขึ้นทุกวันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีริเริ่มขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก เพื่อสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของเบาหวานทั่วโลก วันเบาหวานโลกเป็นการรณรงค์ซึ่งเน้นธีมใหม่ที่เลือกโดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติทุกปีเพื่อชี้ให้เห็นปัญหาที่เผชิญชุมชนผู้ป่วยเบาหวานโลก การรณรงค์นั้นมีขึ้นตลอดทั้งปี แต่วันนี้พิเศษตรงที่เป็นวันเกิดของเฟรเดอริก แบนติง ผู้ ร่วมกับชาร์ลส์ เบสต์ เป็นคนแรกที่เข้าใจแนวคิดซึ่งนำไปสู่การค้นพบอินซูลินใน พ.ศ. 2465

กินอย่างไรห่างไกลเบาหวาน

1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว

การเลือกกินอาหารชนิดต่างๆหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน ให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่ละมื้อควรกินให้ห่างกันประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงและไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง  นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน การวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ ประเทศอังกฤษพบว่า ในผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 หากปล่อยให้ตนเองอ้วนจะบั่นทอนชีวิตให้สั้นลงอีก 8 ปี

2.กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ

ชนิดและปริมาณของแป้งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เป็นเบาหวานต้องคำนึงถึง เนื่องจากมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ว่าอาหารจำพวกแป้ง จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสได้ก็ตาม แต่อาหารกลุ่มนี้ก็เป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ เพื่อให้มีแรงในการทำงาน ดังนั้น ผู้เป็นเบาหวานก็ไม่ควรงดอาหารจำพวกแป้ง แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และควรเลือกบริโภคชนิดที่ไม่ได้ขัดสี หรือผ่านการขัดสีเพียงเล็กน้อย เพราะทำให้ได้วิตามิน แร่ธาตุตลอดจนใยอาหาร

3.กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ

ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสารพฤกษเคมีที่ช่วยป้องกันเบาหวาน เส้นใยอาหารยังช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดในเลือด ดังนั้น จึงควรกินผักผลไม้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะผักซึ่งเป็นอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อย ให้พลังงานต่ำ ส่วนผลไม้นอกจากจะมีใยอาหารแล้ว ยังมีน้ำตาลตามธรรมชาติของผลไม้อยู่ด้วย แม้ว่าผลไม้บางชนิดจะมีรสชาติไม่หวานก็ตาม ดังนั้น การกินผลไม้ปริมาณมากจะทำให้ได้รับพลังงานมากมีผลต่อน้ำหนักตัวตามาได้

4.กินปลา  เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีน  ควรรับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ไขมันสูง เช่น ซี่โครงหมู คอหมู หมูยอ กุนเชียง หรือ ไส้กรอก เพื่อลดปริมาณไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล เป็นการควบคุมระดับคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ ควรกินเนื้อสัตว์วันละ 6 – 12 ช้อนโต๊ะนอกจากนี้โปรตีนจากพืช เช่นถั่วเมล็ดแห้งยังเป็นแหล่งของใยอาหารด้วย

5.ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

นมเป็นแหล่งของโปรตีนและแร่ธาตุสำคัญ คือ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง นมและผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มจะมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ควรเลือกดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมพร่องไขมัน หรือขาดไขมัน วันละ1 – 2 แก้ว ผู้ที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงนมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรส หรือนมที่เติมน้ำตาลทุกชนิด

6.กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

ไขมันเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ทำให้ร่างกายอบอุ่น มีกรดไขมันจำเป็น และช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ คอเลสเตอรอล ซึ่งพบในไขมันที่มาจากสัตว์ เครื่องในสัตว์ กะทิ อาหารทอด ไอศกรีม รวมถึงไขมันทรานส์  ซึ่งเป็นไขมันพืชที่มีการดัดแปลงให้เป็นของแข็ง เช่น มาการีน เนยขาว เนื่องจากทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้  ควรเลือกใช้ไขมันไม่อิ่มตัวทั้งสองชนิด ซึ่งพบมากในน้ำมันพืช ปลา และถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง อัลมอนด์ และ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ในปริมาณพอควร เนื่องจากไขมันทุกชนิดให้พลังงานเท่ากัน หากกินมากจะทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้

7.หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด และเค็มจัด

น้ำตาลทรายจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่อยู่ในรูปของซูโครส เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกย่อยเป็นกลูโคสและฟรุกโทส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เป็นเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยง ในขนมหวานต่าง ๆ จะประกอบไปด้วย น้ำตาล แป้ง และไขมัน ซึ่งมักเป็นไขมันอิ่มตัว การรับประทานขนมหวานเป็นประจำ อาจเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือดได้

อาหารเค็มอาจส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารอาหารเค็มจัด เช่น อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง กะปิ ปลาเค็ม ปลาแห้ง หมู/เนื้อแดดเดียว อาหารแปรรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอก หมูยอ และ ควรใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซีอิ๊ว น้ำปลา เกลือ ผงชูรส ซอสปรุงอาหาร น้ำจิ้มต่างๆ แต่น้อย

8.งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำอันตรายต่อตับ เพิ่มความดันโลหิต ทำลายสมอง และนำไปสู่มะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ หากต้องการดื่มในผู้หญิงควรดื่มครั้งละไม่เกิน 1 ดริ้ง ส่วนผู้ชายควรดื่มครั้งละไม่เกิน 2 ดริ้ง โดยปริมาณ 1 ดริ้ง เท่ากับ วิสกี้ 45 มิลลิลิตร ไวน์ 120 มิลลิลิตร หรือ เบียร์ 360 มิลลิลิตร หลีกเลี่ยงการชงกับเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและห้ามดื่มขณะท้องว่างเพราะอาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำและช็อกได้

ขอขอบคุณ : Bangkok Pattaya Hospital  และ Medpark Hospital

ก่อนจากกันในวันนี้ก็เหมือนอย่างเคย ไม่เพียงแค่สาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากให้ทุกคนได้อ่าน และได้นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพกัน แต่ มาสิ ยังได้หยิบเอากับอีกหนึ่งตัวช่วยในเสริมสาร้างในการดูแลสุขภาพกับ ประกันสุขภาพ จากเอ็ทน่าประกันภัยที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองที่ดีให้กับความเจ็บป่วยทางกาย จะมีความน่าสนใจ หรือรายละเอียดความคุ้มครองอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกัน

ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

เอ็ทน่า ประกันภัย
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
    * อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison