เป็นที่ทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นมีความสำคัญและจำเป็นกับผู้ใช้รถเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นข้อบังคับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ยังถือเป็นการทำประกันรถยนต์อย่างหนึ่งอีกด้วย วันนี้ masii ก็มีความรู้และข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ มาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์
1. พ.ร.บ. คืออะไร
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ถือเป็นการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย และผู้ประสบภัยจากรถยนต์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น และค่าชดเชยอื่นๆ เช่น สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต เป็นต้น
2. พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเท่าไร
ค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์ จะแตกต่างกันไปตามประเภทรถยนต์และขนาดเครื่องยนต์ ซึ่งมีอัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. (ยังไม่รวมภาษี) ดังนี้
ประเภทรถยนต์ และขนาดเครื่องยนต์ | อัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ |
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) | 600 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) | 1,100 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) | 900 |
3. พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง
พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น โดยที่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดผิด ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น
- ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- หากเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
- ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) เพิ่มได้ไม่เกิน 80,000 บาท
- หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้เงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- หากสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
- กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท/คน
- กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
4. พ.ร.บ. คุ้มครองตัวรถหรือเปล่า
พ.ร.บ. รถยนต์ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น คือตัวผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะให้ความคุ้มครองเป็น ค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชยกรณีบาดเจ็บ สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต จึงสรุปได้ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ให้ความคุ้มครองต่อตัวรถของผู้ประสบภัย แต่จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายนั่นเอง
5. พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองกี่ปี
พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี หลังจากนั้นเจ้าของรถจะต้องทำการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปี โดยสามารถซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับตัวแทน หรือบริษัทประกันที่รับทำ พ.ร.บ. รถยนต์
6. ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้าได้กี่เดือน
สำหรับใครที่ไม่อยากรอให้ พ.ร.บ. รถยนต์ หมดอายุ ก็สามารถทำการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ล่วงหน้าได้ก่อนภายใน 3 เดือน หรือไม่เกิน 90 วัน อย่างไรแล้วการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก่อนหมดอายุ ก็อุ่นใจกว่า เผื่อถึงเวลาจริงจะได้ไม่ลืมยังไงล่ะ
7. ไม่มีใบขับขี่ พ.ร.บ. คุ้มครองไหม
หากขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วผู้ขับขี่ไม่ได้พกใบขับขี่ไปด้วย หรือว่าใบขับขี่ดันหมดอายุพอดีละก็ ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังไงก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ในฐานะผู้ประสบภัยนั่นเอง
8. รถชนไม่มีคู่กรณี พ.ร.บ. คุ้มครองไหม
เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น รถชนเสาไฟฟ้า รถเสียหลักพลิกคว่ำ ฯลฯ ผู้ประสบภัยก็ยังคงได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. รถยนต์ แม้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่มีคู่กรณีก็ตาม แต่จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 30,000 บาท และเงินชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร คนละ 35,000 บาท
9. ถ้าไม่มี พ.ร.บ. จะเป็นอย่างไร
หากรถยนต์คันใดไม่ทำ พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อทะเบียนรถได้ และยังมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท หากนำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. ออกมาขับ แต่หากมี พ.ร.บ. รถยนต์แล้ว แต่ไม่ติดให้เจ้าหน้าที่เห็นชัดเจนที่กระจกหน้ารถ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
10. เอกสาร เคลม พ.ร.บ.รถยนต์
การเบิกประกัน พ.ร.บ. หรือการเคลม พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยหรือทายาทสามารถดำเนินเรื่อง เบิกประกัน พ.ร.บ. ได้ภายใน 180 วันหลังจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ผ่านทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา หรือผ่านทางบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยต้องเตรียมเอกสารสำหรับกรณีต่างๆ ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ เบิกค่ารักษาพยาบาล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประสบภัย
- ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล (ตัวจริง)
กรณีพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประสบภัย
- ใบรับรองแพทย์ หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
- ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล
กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ประสบภัย
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองคนพิการ ที่แสดงถึงการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ
- บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหลักฐานที่แสดงได้ว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
- บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อได้ทราบข้อควรรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ.รถยนต์ กันไปแล้ว หากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ. ใกล้หมดอายุแล้วละก็ อย่าลืมไปต่ออายุ พ.ร.บ. กันด้วย อย่าปล่อยให้ พ.ร.บ. ขาด ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ จาก พ.ร.บ. โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับทางมาสิได้ง่ายๆ
สนใจซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์
หรือหากใครต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม ก็สามารถทำประกันรถยนต์ได้เพียง คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิ หรือโทร.สอบถามทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ