หากพูดถึง พ.ร.บ. รถยนต์ หลายคนคงนึกถึงการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเพื่อให้ความคุ้มครองต่อผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ แต่รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ก็มีความสำคัญต่อการต่อภาษีรถยนต์เช่นกัน แต่ว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ตาม masii ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
พ.ร.บ.รถยนต์ สำคัญต่อการต่อภาษีรถยนต์อย่างไร
พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องจัดให้มีประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของ พ.ร.บ. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่อย่างไร โดยจะได้รับความคุ้มครองเป็น เช่น ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น และค่าชดเชยอื่นๆ กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต เป็นต้น
ความคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์
ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันที่เราทำพ.ร.บ.ได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดก็ตาม โดยมีวงเงินความคุ้มครองดังนี้
ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) สูงสุดคนละไม่เกิน | 30,000 บาท |
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะ คนละ | 35,000 บาท |
หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน | 65,000 บาท |
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม
สำหรับคู่กรณีที่ภายหลังพิสูจน์ความผิดได้ว่าเป็นฝ่ายถูกในอุบัติเหตุ สามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้
ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) คนละไม่เกิน | 80,000 บาท |
เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง คนละ | 500,000 บาท |
ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) คนละ | 300,000 บาท |
สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ได้รับการชดเชยคนละ | 200,000 บาท |
สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับการชดเชยคนละ | 250,000 บาท |
สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับการชดเชยคนละ | 500,000 บาท |
เงินชดเชยค่ารักษาตัว (ผู้ป่วยใน) วันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน | 4,000 บาท |
หมายเหตุ : พ.ร.บ. รถยนต์ ปรับเพิ่มความคุ้มครองใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563
ต่อภาษีรถยนต์ ต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์
ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี หรือ การต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ (ที่ยังไม่หมดอายุ) ร่วมด้วย จึงจำเป็นที่เจ้าของรถต้อง ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยหลังจากที่ ต่อ พ.ร.บ. เสร็จแล้ว จะได้รับเอกสารกรมธรรม์ พ.ร.บ.รถยนต์ ขนาด A4 ที่ออกโดยบริษัทประกันรถยนต์ ซึ่งในกรมธรรม์จะระบุรายละเอียดต่างๆ เช่น รายละเอียดรถยนต์ที่เอาประกันภัย ผู้เอาประกัน เบี้ยประกัน
โดยส่วนล่างสุดของ พ.ร.บ.รถยนต์ จะเป็นหลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อใช้ในการจดทะเบียนรถใหม่หรือขอเสียภาษีประจำปีต่อนายทะเบียนขนส่ง ซึ่งเอกสารอื่นๆ ที่ต้องเตรียมในการต่อภาษีรถยนต์ มีดังนี้
เอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนรถยนต์หรือสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์
- เอกสารกรมธรรม์ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี
- ใบรับรองการติดตั้งแก๊ส สำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส
หลังจากที่ทำการเสียภาษีรถยนต์เรียบร้อยแล้ว จะได้รับแผ่นป้ายสี่เหลี่ยมสำหรับติดหน้ารถ เพื่อยืนยันว่ารถยนต์คันนี้ได้ทำการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี รวมถึงได้ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เรียบร้อยแล้วนั่นเอง ซึ่งหากรถยนต์ที่ไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และหากต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะโดนเรียกค่าปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน และถ้าไม่ต่อภาษีนานเกิน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ ต้องดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ที่กรมการขนส่งทางบก
เมื่อเพื่อนๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่า พ.ร.บ. มีความสำคัญต่อการต่อภาษีรถยนต์อย่างไรแล้วละก็ หากใครที่ต้องการ ต่อ พ.ร.บ รถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. หรือ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ โดยสามารถทำการต่อพ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
สนใจซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์
พิเศษ! สำหรับลูกค้าที่ ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ กับมาสิในช่วงนี้ รับฟรี! บริการต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์ ต่อภาษีรถยนต์ผ่านมาสิง่ายๆ รอรับป้ายภาษีจากทางไปรษณีย์ได้เลย สนใจโทร. 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ จากทางมาสิได้เลยค่ะ