ปัจจุบันต้องบอกเลยว่า รถยนต์มือสอง ได้รับความนิยมไม่แพ้กับรถใหม่ หรือ รถป้ายแดงเลย เพราะว่ามีราคาที่ถูกกว่า และสามารถเลือกได้หลากหลาย แต่ทว่าการเลือกซื้อรถมือสองนั้นก็ควรต้องเลือกดีๆ ใจเย็นๆ และเลือกซื้อจากแหล่งขายรถมือสองที่เชื่อถือได้ ซึ่งการซื้อรถมือสอง บางครั้งผู้ซื้ออาจต้องมีผู้กู้ร่วม หรือ ผู้ค้ำประกันด้วย แล้วทั้งสองสิ่งนี้ มีความต่างกันอย่างไร และมีหน้าที่อะไรบ้าง ตาม masii ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ซื้อรถมือสอง มีผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน ต่างกันยังไง?
สำหรับผู้ต้องการซื้อรถมือสองผ่านไฟแนนซ์ แน่นอนว่าเราสามารถยื่นกู้คนเดียวก็ได้ แต่การพิจารณานั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและประวัติการชำระหนี้ของผู้ขอไฟแนนซ์รถมือสอง ทั้งนี้บางบริษัทไฟแนนซ์อาจมีทางช่วยให้คุณผ่านการอนุมัติได้ง่ายขึ้น หากผู้ซื้อมีผู้กู้ร่วม หรือมีผู้ค้ำประกันด้วย แม่ว่าทั้งสองสิ่งนี้จะดูคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ดังนี้
ผู้กู้ร่วม คืออะไร
ผู้กู้ร่วม คือ บุคคลที่มีฐานะเป็นลูกหนี้ และมีหน้าที่รับผิดชอบในการชำระหนี้ที่กู้มาเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก ซึ่งบุคคลที่จะเป็นผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเท่านั้น เช่น พ่อ-แม่-ลูก สามี-ภรรยา หรือพี่น้องทางสายเลือด โดยธนาคารจะนำข้อมูลทั้งของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมมาพิจารณาร่วมกันในการขออนุมัติสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ต่อเดือน ภาระหนี้สิน ความสามารถในการชำระหนี้ ประวัติการชำระหนี้ เป้นต้น
ต้องใช้ผู้กู้ร่วมในกรณีต่อไปนี้
- ผู้กู้หลักมีรายได้น้อย ฐานเงินเดือนไม่พอต่อการผ่อนชำระค่างวด
- ผู้กู้หลักมีรายได้สูง แต่มีภาระการใช้จ่ายหรือมีภาระหนี้เยอะ
- ข้าราชการบำนาญ
คุณสมบัติของผู้กู้ร่วม
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
- มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับผู้กู้หลัก อาทิ พ่อแม่ลูก สามีภรรยา หรือพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
- ในกรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถนำหลักฐานการแต่งงานมายืนยันได้
- หรือในกรณีที่มีบุตร แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็สามารถนำสูติบัตรของบุตรมาเป็นหลักฐานได้เช่นกัน
ผู้ค้ำประกัน คืออะไร
ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยมีการทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าตนจะเป็นผู้ชำระหนี้ให้แทนลูกหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้สามารถทวงหนี้ หรือฟ้องร้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการค้ำประกันว่าหากลูกหนี้ผิดสัญญา ไม่ชำระหนี้คืนตามกำหนด หนี้สินนั้นจะถูกชำระอย่างแน่นอน โดยผู้ค้ำประกันไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัว แต่อาจเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์สนิทสนมกัน
ต้องใช้ผู้ค้ำประกันในกรณีต่อไปนี้
- ผู้กู้อายุน้อย ไม่เคยมีประวัติด้านการขอสินเชื่อมาก่อน
- ผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี
- วางเงินดาวน์รถค่อนข้างต่ำ
คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ
- ผู้ค้ำประกันเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ในครอบครัว
- เป็นบุคคลที่มีอาชีพและรายได้มั่นคง
- มีที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้แน่นอน
- ไม่มีประวัติค้างชำระ หรือไม่มีประวัติเสียหายทางด้านการเงิน
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ผู้กู้ร่วม กับ ผู้ค้ำประกัน คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร และจำเป็นกับการซื้อรถมือสองอย่างไรบ้างนั้น หากใครที่จำเป็นต้องใช้ทั้งผู้กู่ร่วม และผู้ค้ำประกัน ก็ขอให้ตัดสินใจเลือกให้ดีๆ ที่สำคัญควรมีวินัยในการผ่อนค่างวดรถอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองรวมถึงผู้กู้ร่วมและผู้ค้ำประกันนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม การมีผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าการขอจัดไฟแนนซ์รถมือสองจะผ่าน 100% ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างทั้ง ผู้กู้หลัก ผู้กู้ร่วม และผู้ค้ำประกันด้วยว่าตรงตามเงื่อนไขของบริษัทไฟแนนซ์หรือไม่
สนใจสมัครประกันรถยนต์
และสำหรับใครที่ต้องการทำประกันรถยนต์ให้กับรถมือสอง สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือหากต้องการพูดคุสอบถาม โทร. 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับมาสิที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลย