โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร
โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร ใครที่สงสัยว่า การทำสัญญาโอนรถแบบทั่วไป กับ การโอยลอย นั้นมีลักษณะอย่างไร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง วันนี้ masii ก็ได้รวบรวมความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ การโอนรถ มาฝากกันแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จแล้ว แน่นอนว่าจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์รถจากผู้ขายไปสู่ผู้ซื้อ หรือที่เรียกว่า การโอนรถ ซึ่งต้องดำเนินการที่สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร, สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่, สำนักงานขนส่งจังหวัดหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาที่ผู้โอนมีที่อยู่ปรากฏในใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือที่ขอแจ้งใช้รถไว้ ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์รถมีทั้งแบบ โอนรถยนต์ปกติ และการโอนลอย โดยมีรายละเอียดและความแตกต่างกันดังนี้

โอนรถยนต์ปกติ

ในการซื้อขายรถยนต์นั้นจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์รถจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ โดยการโอนรถยนต์แบบปกติจะเป็นการทำสัญญาที่มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มาทำสัญญาพร้อมกันที่กรมการขนส่งทางบก ซึ่งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารที่ใช้ในการโอนรถยนต์ปกติ

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่ทำการซื้อขาย
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอน และผู้รับโอน
  • กรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม
  • กรณีเป็นการรับโอนมรดก จะต้องใช้สำเนาใบมรณะบัตรของเจ้าของรถเดิม และพินัยกรรมหรือคำสั่งศาล
  • สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งมีการกรอกรายละเอียดรายการและลงลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีอำนาจมิได้มาดำเนินการโอนหรือรับโอนด้วยตนเอง

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

โอนลอย

แต่ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขายไม่สะดวกโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ได้ที่สำนักงานขนส่งหรือว่ามีวันเวลาว่างที่ไม่ตรงกับผู้ซื้อ ก็สามารถดำเนินการ “โอนลอย” ได้ค่ะ โดยผู้ขายจะต้องเซ็นเอกสารทั้งหมดไว้ให้แก่ผู้ซื้อ จากนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้ดำเนินการเองที่สำนักงานขนส่ง หลังจากที่ได้รับเอกสารโอนลอยจากผู้ขายรถเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารที่ใช้ในการโอนลอย

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ที่ทำการซื้อขาย
  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้โอนและผู้รับโอน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้โอนและผู้รับโอน
  • แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด (ผู้โอน)
  • หนังสือสัญญาซื้อขาย
  • หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่ได้ไปทำเรื่องโอนที่กรมขนส่งเอง สามารถให้บุคคลอื่นหรือบุคคลที่ซื้อรถต่อไปทำเรื่องโอนแทนได้)

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

ขั้นตอนการโอนรถ

  1. ต้องนำรถยนต์เข้าตรวจสอบสภาพที่งานตรวจสภาพรถยนต์ ของกรมการขนส่งเท่านั้น
  2. ยื่นเอกสารดำเนินการโอนรถพร้อมชำระค่าธรรมเนียม ที่งานทะเบียนรถ
  3. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
  4. รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ

หมายเหตุ : การโอนกรรมสิทธิ์รถต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอน (หากไม่ดำเนินการภายในกำหนด มีปรับไม่เกิน 2,000 บาท)

เมื่อเพื่อนๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่า โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร หากใครที่ต้องทำสัญญาซื้อขายรถมือสอง หรือสัญญาโอนรถ จะได้เข้าใจกระบวนการกันมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมขับขี่กันอย่างปลอดภัย ไม่ประมาท เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ ถ้าจะให้ดีควรทำประกันรถยนต์ไว้ด้วยเพื่อความอุ่นใจ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิ

โอนรถยนต์ปกติ กับ โอนลอย แตกต่างกันอย่างไร

สนใจสมัครประกันรถยนต์

regis-but
สนใจสมัคร

หรือหากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถโทร.มาพูดคุยสอบถามกับทีมงานมาสิได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ

car insurance banner