ว่าด้วยเรื่อง ภาษีมรดก ปี 2560

ว่าด้วยเรื่อง ภาษีมรดก ปี 2560
ว่าด้วยเรื่อง ภาษีมรดก ปี 2560
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

หลายๆคนอาจไม่ค่อยพอใจเท่าไรที่ต่อไปนี้จะมีการเก็บภาษีมรดก ที่เป็นมรดกจากพ่อแม่เราเองด้วยซ้ำ แต่ก็อย่าได้เริ่มมีอารมณ์โกรธกริ้วไปเพราะบางทีมรดกที่เราได้อาจรับอาจไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียเงินก็ได้ ดังนั้นจึงจะขอพาทุกคนไปไขปัญหาภาษีมรดก 2560 ด้วยกันเลย

ภาษีมรดก คืออะไร?

ภาษีมรดก คือภาษีที่มีการเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ถูกโอนไปยังผู้รับมรดก อาจโอนมาจากพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวเจ้าของทรัพย์สินที่ได้เสียชีวิตลงไปแล้ว โดยภาษีจะถูกคำนวณจากทรัพย์สินในกองมรดกทั้งหมด โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้คือ

ภาษีมรดก แบ่งเป็น 2 สองประเภท

  1. ภาษีกองมรดก
    การเก็บภาษีแบบนี้จะเหมารวม โดยนำมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตมารวมกัน แล้วทำการประเมินออกมาเป็นภาษีและให้ชำระตามจำนวนที่ประเมินได้นี้ ก่อนที่จะนำมรดกที่เหลืออยู่ไปมอบให้กับผู้รับมรดกเป็นลำดับต่อไป ซึ่งการจัดเก็บภาษีในรูปแบบนี้เหมาะกับการจัดการมรดกที่มีผู้รับคนเดียวมากกว่า
  2. ภาษีการรับมรดก
    การเก็บภาษีในแบบนี้ จะเก็บหลังจากที่ได้มีการจัดแบ่งมรดกให้กับผู้รับมรดกทุกคนแล้ว ซึ่งจะคิดภาษีเป็นรายบุคคลไป โดยคำนวณจากมรดกที่ได้รับ และคำนวณตามลำดับชั้นของสิทธิในการรับมรดกด้วย ทั้งนี้หากเป็นผู้ที่ไม่ใช่ทายาทโดยตรงจะต้องเสียภาษีมรดกมากกว่าทายาทโดยตรง ซึ่งวิธีการเก็บภาษีนี้จะเกิดผลดีต่อผู้รับมรดกเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้มีโอกาสจ่ายภาษีน้อยลงและหากมรดกที่ได้รับไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด

อัตราภาษีมรดก

  1. หากผู้ได้รับมรดกไม่ใช่ผู้สืบสันดานจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี
  2. หากผู้ได้รับมรดกที่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี

นอกจากนี้ หากผู้เสียภาษีไม่จ่ายภาษีให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.50 บาทต่อเดือนอีกด้วย และหากไม่ยื่นแบบแสดงรายการในเวลาที่กำหนด หรือยื่นแบบแสดงรายการไม่ครบถ้วนก็จะต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่มอีกด้วย

ใครที่ต้องเสียภาษีมรดก

ผู้ที่ต้องเสียภาษีมรดกก็คือผู้ที่ได้รับมรดกนั่นเอง ได้แก่

  • ผู้รับมรดกที่เป็นทายาทโดยธรรม เช่น ลูกแท้ๆ ลูกนอกสมรสที่ได้ทำการรับรองบุตรแล้ว  ลูกบุญธรรม
  • คู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
  • บิดา มารดาแท้ๆ ของเจ้าของมรดก
  • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้าของมรดก
  • ปู่ย่าตายาย
  • ลุง ป้า น้า อา
  • ผู้รับมรดกจากการทำพินัยกรรม

ลองศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกกันดู เพราะเมื่อคุณได้รับภาษีมรดก จะได้ทำการจัดการเรื่องภาษีมรดกได้อย่างถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง