12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้

12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้
12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

คุณรู้หรือยังว่ามีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง ที่จะช่วยลดหย่อนภาษีให้จ่ายภาษีน้อยลง หลายคนอาจจะยังไม่รู้ แต่ไม่เป็นไรครับ วันนี้ผมจะมานำเสนอวิธีที่จะช่วยให้คุณเสียภาษีน้อยลงได้แน่นอน เป็นเรื่องจุกจิกที่เราควรทราบนะครับ ประหยัดเงินได้ยังไงก็มีประโยชน์แน่นนอน จริงไหมครับ

12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้

12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้

หากคุณมีรายได้รวมทั้งปีไม่เกิน 240,000 บาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท ไม่ต้องคิดมากเลยครับ เนื่องจากรายได้อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่หากเกินกว่านี้ต้องเสียภาษีนะครับครับ เรามาลองดูกันดีกว่าครับว่ามีอะไรที่เราสามารถนำมาลดภาษีได้บ้าง

วิธีการลดหย่อนภาษี

1. ประกันสังคม

ประกันสังคม ตามจำนวนจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

เงินประกันสังคมหรือเงินสมทบกองทุนประกันสังคมโดยกองทุนประกันสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสร้างหลักประกัน และสร้างความมั่นคงให้แก่บุคคลที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน โดยมีความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 7 ประเภทย่อยๆ (ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน) โดยจำนวนเงินสูงสุดของรายได้ที่จะนำมาคำนวณลดหย่อนภาษีก็คือ 15,000 บาท ดังนั้นจะสามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 9,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว

2. ดอกเบี้ยเงินกู้

ดอกเบี้ยเงินกู้ ตามจำนวนจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน หรือคอนโด หรือเพื่ออยู่อาศัย เราสามารถนำมาหักภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่สูงสุดจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท และหากเป็นการกู้ร่วมก็สามารถแบ่งดอกเบี้ยเฉลี่ยคนละเท่าๆ กัน แต่รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 100,000 บาทนะครับ

3. เบี้ยประกันชีวิต

เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 ประเภท ได้แก่

  • ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

ประกันชีวิตทั่วไป ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ จะหักเบี้ยประกันได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าคู่สมรสมีรายได้ สามารถหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท

สำหรับใครที่สงสัยว่าประกันชีวิตของตัวเองเป็นประเภทไหนและหักได้เท่าไหร่ คุณสามารถสอบถามจากตัวแทนประกันภัยของคุณได้เลยครับ หรือสามารถสังเกตใบเสร็จรับเงินค่าประกันที่มีระบุว่าสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้จำนวนเท่าไหรนะครับ

4. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund)

เมื่อเรานำรายได้ส่วนหนึ่งมาลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) พอสิ้นปี กรมสรรพากรจะให้เรานำเงินที่ลงทุนใน RMF มาใช้ในการคำนวณลดหย่อนภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายไปจริงในในปีนั้น แต่มีข้อแม้ คือ สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15 % ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ดังนั้นหากจะลงทุนใน RMF เพื่อลดหย่อนทางภาษีต้องไม่ลืมคำนึงถึงเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้ด้วย

5. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund)

หากเรานำรายได้ส่วนหนึ่งมาลงทุนใน กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ทางกรมสรรพากรอนุญาตให้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนหุ้นที่มีบริษัทหลักทรัพย์กองทุนเป็นผู้บริหาร เมื่อสิ้นปีก็สามารถนำเงินลงทุนส่วนนี้มาใช้คำนวณหักลดภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายไปในการลงทุน และมีข้อแม้ คือ สามารถใช้สิทธิ์หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15 % ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี หากเราขายคืนหน่วยลงทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วยครับ

6. เงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน) สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยรวมทั้งหมดแล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

7. เงินบริจาค
12 วิธีการลดหย่อนภาษีที่คุณอาจจะยังไม่รู้

เงินบริจาคเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา สามารถนำไปหักลดหย่อนได้เป็น 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆ

เงินบริจาคอื่นๆ ทั่วไป สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากการหักลดหย่อน และยกเว้นกรณีอื่นๆ ทั้งหมดแล้ว

8. คู่สมรส

ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 30,000 บาท สามารถลดหย่อนของคู่สมรส กรณีที่คู่สมรส (สามีภรรยา) ของเราที่ไม่มีเงินได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการลดหย่อนภาษีร่วมกัน เราจะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มอีก 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้ครับ

  • คู่สมรสต้องมีการจดทะเบียนสมรส
  • คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ในระหว่างปี หรือมี แต่เลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีรวมกัน

9. เลี้ยงดูบุตร และการศึกษาบุตร

ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตร นับจากบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นได้ทั้งบุตรตามกฎหมาย และบุตรบุญธรรม โดยสามารถหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน (สูงสุด 45,000 บาท) โดยบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรือหากเกิน 20 ปี (ในช่วงอายุ 21-25 ปี) จะต้องศึกษาในระดับ ปวส. ขึ้นไปเท่านั้น และหากบุตรศึกษาต่อในประเทศ (ตั้งแต่อนุบาลปริญญาเอก) ก็จะได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท  

ทั้งนี้บุตรที่จะนำมาใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนั้น จะต้องไม่มีรายได้ในปีภาษีเกิน 15,000 บาทขึ้นไป หรือรายได้ที่มีได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่น บุตรที่อายุต่ำกว่า 20 ปีและรับเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลนั้นจะถือว่าเป็นเงินของผู้ปกครอง และไม่ถือว่าบุตรมีรายได้

10. เลี้ยงดูบิดามารดา

ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท แต่หากเรา หรือคู่สมรสมีบิดา มารดาที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท ในส่วนนี้จะรวมถึงบิดา มารดาของคู่สมรส (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) แต่มีเงื่อนไขว่าบิดา มารดาที่นำไปขอลดหย่อน ต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนที่เป็นคนเลี้ยงดู เนื่องจากสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

11. เบี้ยประกันเพื่อสุขภาพบิดามารดา

ในกรณีที่บิดา มารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และเราซื้อประกันเพื่อสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันเพื่อสุขภาพมาลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 15,000 บาท อีกทั้งค่าเบี้ยประกันนี้สามารถนำไปหารกันเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีให้กรณีที่มีลูกหลายคนได้อีกด้วย

(ซื้อประกันสุขภาพบิดามารดา กับ “มาสิ” คลิก)

12. เบี้ยประกันสุขภาพ

รัฐบาลอนุญาตให้นำเบี้ยประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล มาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท จริงๆแล้ว ประกันสุขภาพ และ ประกันอุบัติเหตุ ทำได้ทั้งจากบริษัทประกันวินาศภัย และ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย มีข้อดีคือซื้อได้ปีต่อปี ปรับเปลี่ยนได้ยืดหยุ่นตามความต้องการในปีต่อไป

สนใจสมัครประกันสุขภาพ

regis-but
สนใจสมัคร

ซื้อประกันสุขภาพราคาพิเศษ กับ “มาสิ” คลิก หรือสอบถามผ่านโทรศัพท์ 027103100 และทาง Line@ : @masii ครับ