เปิดเช็กกลิสต์ ใช้ โทรศัพท์ อย่างไรให้ห่างไกล “โรคกลัวการขาดมือถือ”

โทรศัพท์
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เครื่องมือสื่อสารอย่าง โทรศัพท์ มือถือ ในทุกวันนี้ เรียกได้ว่าแทบจะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่คนเรามักจะต้องนำติดตัวไปด้วยเสมอ ไม่ว่าจะทำอะไร เดินทางไปไหน ก็ต้องมีพกติดตัวไว้ตลอด แทบจะห่างจากโทรศัพท์ไม่ได้เลยสักครั้ง ถึงแม้การมีโทรศัพท์ติดตัวไว้นั้นจะเป็นเรื่องดี เพราะ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินการมี โทรศัพท์ ไว้จะช่วยเหลือเราได้อย่างทันท่วงที่ แต่ก็มช่ว่าจะมีประโยชน์สูงสุดเสมอไป การมี โทรศัพท์ ติดตัวไว้ จนมีถึงขนาดที่ขาดไม่ได้ก็อาจที่จะเข้าข่ายของโรค โนโมโฟเบีย” หรือ โรคกลัวการขาดมือถือ ได้ แล้วรายละเอียดของโรคนี้จะเป็นอย่างไร ความรุนแรงและความน่ากลัวของโรคนี้มีมากน้อยขนาดไหน วิธีการป้องกันและรับมือกับโรคนี้จะเป็นแบบไหน วันนี้ มาสิ ได้เอามาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกัน

โรคกลัวการขาด โทรศัพท์ มือถือ (Nomophobia)

เทคโนโลยีสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต นั้นสามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก และเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา จึงทำให้คนเริ่มเข้าไปใช้งานจนเปลี่ยนไปเป็นลักษณะที่ว่าติดการใช้งาน เพราะสิ่งที่ได้รับพื้นฐาน คือเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสาร มีการตอบสนองได้รวดเร็ว เหมาะแก่การใช้ในการส่งความรู้สึก ใช้เพื่อความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย ทำหน้าที่ได้หลายฟังก์ชั่น จึงมีการใช้ในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสามารถของโทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูป การเล่นโซเชียล จนเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจนรู้สึกว่าขาดไม่ได้

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นอาการหวาดกลัวเมื่อต้องใช้ชีวิตโดยไม่มีมือถือหรือไม่ได้ใช้มือถือ ไม่ว่าจะเป็นการลืมเอามา มือถือแบตหมด หรือการไปอยู่ในบริเวณที่ไม่มีสัญญาณ จะทำให้ผู้ที่มีภาวะนี้รู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด เครียด มีเหงื่อออก ตัวสั่น หรือคลื่นไส้ พฤติกรรมติดมือถือเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือการใช้ชีวิตประจำวันด้านต่าง ๆ และการใช้มือถือมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดโรคหรืออาการป่วยตามมา เช่น นิ้วล็อค ปวดเกร็งบริเวณคอ บ่า ไหล่ จอประสาทตาเสื่อม หมอนรองกระดูกที่คอเสื่อมก่อนวัย เส้นประสาทสันหลังบริเวณคอถูกกดทับจนเป็นเหตุให้เกิดอาการชาที่แขน มือไม่มีแรง เป็นต้น

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบายคำว่า “โนโมโฟเบีย” ในนิยามทางการแพทย์นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ เพราะมีการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนหรือสังคม เวลามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นมักจะมีคำเรียกเฉพาะ อย่างเช่น อาการติดสมาร์ทโฟน เป็นไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ ซึ่งคำว่า “โนโม” เป็นคำที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำว่า “โฟเบีย” แปลว่ากังวลอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย” แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำวัน และเราเกิดความกังวลใจว่าถ้าไม่มีโทรศัพท์แล้วจะทำอย่างไร ควรรีบเช็กตัวเองก่อนเกิดผลกระทบ

อาการของโรค มีดังนี้ 

  • พกมือถือติดตัวตลอดเวลา จะกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว
  • เช็กโซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชันต่างๆตลอดเวลาถึงแม้จะไม่มีเรื่องด่วนก็ตาม
  • จับมือถือตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นจนถึงก่อนนอน
  • เมื่อหามือถือไม่เจอจะเกิดความเครียดและความวิตกกังวลมากกว่าหาอย่างอื่นไม่เจอ
  • เล่นมือถือตลอดเวลา แม้ขณะที่ทำกิจกรรมอื่นๆอยู่ เช่น กินข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ
  • กลัวมือถือหายแม้จะเก็บไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือ
  • เล่นหรือคุยกับคนในโทรศัพท์มากกว่าคนรอบข้าง

ผลกระทบจากโรคโมโนโฟเบีย

สำหรับใครที่เช็กตัวเองแล้วพบว่าเข้าข่ายอาการโนโมโฟเบียคงไม่ดีแน่ เพราะเสียทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพสมอง เนื่องจากการใช้งานเทคโนโลยีเป็นการรับข้อมูลของสมองที่ต้องใช้ความเข้มข้นสูงในการจ้องรับข่าวสาร หรือใช้งานตลอดเวลา ทำให้ชีวิตในแต่ละวันต้องมีช่วงเวลาที่ต้องปลอดมือถือพักสมองบ้าง เช่น จัดช่วงเวลาไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้แก่ เวลารับประทานอาหาร เวลาทำงาน ถ้าเราสามารถปรับตัวได้จะพบว่ามันไม่ได้ต้องใช้ตลอดเวลา อาจจะเริ่มจากกำหนดเวลา 30 นาที และเพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง จากนั้นเพิ่มเวลาไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในห้องนอนถ้ากำหนดเป็นเขตปลอดมือถือเลยได้ยิ่งดี

นอกจากนี้ ยังมีผลเสียหรือผลกระทบต่อสุขภาพกายที่ทราบกันมาตลอด คือ เรื่องสายตา ที่ใช้งานหนัก ยิ่งถ้าบางคนอยู่ในที่แสงไม่พอและใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ต้องใช้แสงจ้าด้วยยิ่งมีปัญหามากขึ้นกับสายตา อาการปวดเมื่อยคอ บ่าไหล่ เพราะเวลาใช้งานโทรศัพท์จะเกิดอาการเกร็งโดยไม่รู้ตัว ถ้าเล่นนาน ๆ จะปวดศีรษะตามมา และปัญหาเรื่องสมาธิเพราะตัวภาพและจอจะรบกวนทำให้ระบบสมาธิลดลงได้

การรักษาโรคกลัวการติดมือถือ

อาการโนโมโฟเบียไม่ได้เป็นโรครุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา แค่ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของตัวเองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำนอกเหนือจากการพักผ่อนด้วยการเล่นเกม ฟังเพลง ดูหนังในโทรศัพท์มือถือ เช่น ออกไปวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์ นั่งพูดคุยกับเพื่อนแบบเห็นหน้ากัน แต่ทั้งนี้อยู่ที่ว่าถ้าเราเริ่มรู้สึกว่ามีผลกระทบ เช่น รู้สึกกังวลใจมาก ไม่สบายใจบ่อย ๆ หงุดหงิดง่าย ควรเริ่มปรับเปลี่ยนซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง

ดังนั้นแล้ว เมื่อการใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของเราไปเสียแล้ว และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อย ๆ  การรักษากฎเกณฑ์ให้มีช่วงเวลาปลอดจากโทรศัพท์มือถือบ้าง จึงจะเรียกว่าใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และคุ้มค่านั่นเอง

ก่อนจากกันในวันนี้ก็เหมือนอย่างเคย ไม่เพียงแค่สาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้หยิบเอามาฝากให้ทุกคนได้อ่าน และได้นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพกัน แต่ มาสิ ยังได้หยิบเอากับอีกหนึ่งตัวช่วยในเสริมสาร้างในการดูแลสุขภาพกับ ประกันสุขภาพ จากเอ็ทน่าประกันภัยที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองที่ดีให้กับความเจ็บป่วยทางกาย จะมีความน่าสนใจ หรือรายละเอียดความคุ้มครองอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกัน

ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

เอ็ทน่า ประกันภัย
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
    * อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน
สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison