เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด และสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การขับรถชนรถ รถเฉี่ยว รถคว่ำ หรือขับรถชนคนเดินถนน ซึ่งแน่นอนว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุก็ย่อมมีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็มี ทั้งนี้ หากรถยนต์คันที่ประสบภัยมี พ.ร.บ.รถยนต์ ผู้ประสบภัยก็จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. และถ้าผู้ประสบภัยถูกรถชนเสียชีวิต จะเบิก พ.ร.บ.รถยนต์ ได้อย่างไรบ้างนั้น ตาม masii ไปหาคำตอบกันเลย
รถชนเสียชีวิต เบิก พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างไร
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ได้แก่ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะได้รับเป็น ค่าเสียหายเบื้องต้น ที่สามารถเรียกร้องได้ทุกฝ่ายโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด แต่หากภายหลังพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายถูก ก็จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมได้ ดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น (เบิกได้ทุกฝ่าย โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)
- ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) สามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ 35,000 บาท
- ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทน (เฉพาะฝ่ายถูก)
- ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกได้สูงสุดคนละ 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
- กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
- กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
- ค่าชดเชยกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) 200 บาทต่อวัน (ไม่เกิน 20 วัน)
เอกสาร เบิก พ.ร.บ. รถยนต์ กรณีที่ผู้ประสบภัยเสียชีวิต
หากผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้ทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต เป็นผู้ดำเนินเรื่องเบิก พ.ร.บ. รถยนต์ ภายใน 180 วันนับแต่วันเกิดเหตุ โดยยื่นเรื่องผ่านโรงพยาบาล หรือยื่นเรื่องผ่านบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (โทร. 1791) ซึ่งต้องใช้เอกสารเบิกพ.ร.บ. ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต (หากอายุไม่ถึง 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตรแทน)
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนของทายาทโดยธรรม
- สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทโดยธรรม
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้ประสบภัยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
หลังจากที่ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยได้ดำเนินเรื่องเบิกความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับทายาทโดยธรรม หรือผู้ที่รับมอบอำนาจแทนที่มีหนังสือมอบอำนาจและเอกสารแนบมาอย่างถูกต้อง
เมื่อเพื่อนๆ ได้ทราบกันไปแล้วว่า รถชนเสียชีวิต พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอย่างไร และมีขั้นตอนการเบิก พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไรบ้างนั้น หากใครที่ พ.ร.บ.รถยนต์ ใกล้หมดอายุ ก็อย่าลืมไป ต่อ พ.ร.บ. กันด้วยนะ โดยสามารถ ต่อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ 3 เดือน หรือ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์
แต่หากใครที่ต้องการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม สามารถเลือกทำประกันรถยนต์ได้ โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์ หรือโทร.มาพูดคุยสอบถามกับทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ