สิ้นแล้ว ! ควีนเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชวงศ์ อังกฤษ เสด็จสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 96 พรรษา

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

นับได้ว่าเป็นข่าวที่สร้างความสะเทือนใจไปทั่วทั้งโลกอีกครั้ง หลังจากสำนักพระราชวังบักกิงแฮมแห่งอังกฤษได้รายงานข่าวการจากไปครั้งสำคัญของสมเด็จพระราชินีนาถ หรือควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์ อังกฤษ ที่ได้เสด็จสวรรคตลงด้วยพระชนมายุ 96 พรรษา เมื่อเวลา 18.39 .ตามเวลาท้องถิ่น 

ควีนเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชวงศ์ อังกฤษ

ภาพ : BBC News

สมเด็จพระราชินีนาถ หรือควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชวงศ์ อังกฤษ สวรรคตขณะทรงมีพระชนมายุได้ 96 พรรษา ขณะประทับอยู่ที่ปราสาทบัลมอรัลในสกอตแลนด์ โดยสำนักข่าว BBC รายงานข่าวเมื่อเวลาประมาณ 18:39 .วันที่ 8 กันยายน 2022 ตามเวลาอังกฤษ และตรงกับเวลา 24:39 .วันที่ 9 กันยายน ตามเวลาไทย

ตั้งแต่มีรายงานถึงความกังวลเกี่ยวกับพระพลานามัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2 สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งรายงานตรงกันว่า เหล่าสมาชิกพระราชวงศ์แทบทุกพระองค์ต่างเดินทางมายังพระตำหนักบัลมอรัล สก็อตแลนด์ สถานที่ที่พระราชินีประทับอยู่

หลายฝ่ายเริ่มกังวลเกี่ยวกับพระพลานามัยของสมเด็กพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากที่พระราชินีนาถทรงยกเลิกกำหนดการเดินทางไปยังไอร์แลนด์เหนือ และเมื่อวันที่ 7 .. 2565 สมเด็จพระราชินีนาถเพิ่งยกเลิกการประชุมคณะองคมนตรีเนื่องจากคณะแพทย์ถวายคำแนะนำให้พระองค์ทรงพักผ่อน

โดยเมื่อต้นปี 2022 ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ก็ประชวรด้วยโรคโควิด-19 ที่ระบาดในปีผ่านมา เช่นเดียวกับคนอังกฤษอีกเป็นจำนวนมาก และต้องทรงกักตัวในพระราชวังบักกิงแฮมอยู่หลายวัน 

ส่วนอาการประชวรล่าสุดถูกรายงานว่า เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว แต่พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประมุขของประเทศจนถึงวันสุดท้าย เพราะก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่วัน พระองค์ได้ทรงแต่งตั้ง ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ อีกทั้งก่อนที่พระองค์จะสวรรคตก็ยังเตรียมทรงงานด้วยการประชุมออนไลน์กับคณะองคมนตรี จนคณะแพทย์ต้องถวายคำแนะนำให้ควีนทรงหยุดปฏิบัติหน้าที่ 

สมเด็จพระราชินีนาถ ควีนเอลิซาเบธ ที่ 2  ครองราชยาวนานกว่า 70 ปี

ภาพ : The Washington Post

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ที่ 2 เพิ่งกลายเป็นประมุขที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์ หลังครองราชย์เป็นเวลา 70 ปี กับอีก 127 วัน 

โดย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 เมษายน 1926 ทรงเป็นประมุขของ 15 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี โดยเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1952 หลังจากพระราชบิดาสวรรคต

ในขณะที่ทรงพระชนมายุเพียง 25 พรรษา และทรงพระอภิเษกในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1947 กับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์, เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี, เจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก และเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์

รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ผ่านเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่ท้าทายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะช่วงการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานา แต่พระองค์ยังคงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ได้ ด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงาม ติดดิน และแทบจะมีข่าวเสียหายเกี่ยวกับพระองค์น้อยมาก 

พระราชกรณียกิจ และเหตุการสำคัญ

ตลอดระยะเวลากว่า 70 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีผู้เด็ดเดี่ยวและแน่วแน่ ทรงเป็นทั้งพระราชมารดาและเป็นสมเด็จย่าแห่งชาติผู้เป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรแห่งสหราชอาณาจักร

ช่วงเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้รับการถวายการรับใช้ จากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น 15 คน และทรงได้พบกับประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ 13 คน อีกทั้งยังทรงเผชิญกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง ตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิอังกฤษ ไปจนถึงการถือกำเนิดขึ้นของยุคโลกาภิวัตน์ ตลอดจนเรื่องราวทั้งดีและร้ายของราชวงศ์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ยังทรงยืนหยัดอย่างมั่นคง และเป็นขวัญกำลังใจในการนำพาประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตและความไม่แน่นอนจวบจนปัจจุบัน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการไว้อาลัยและระลึกถึงต่อการจากไปของสมเด็จพระราชินีนาถ ควีนเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ มาสิ จึงได้ ยกตัวอย่างเรื่องราวและภาพเหตุการณ์สำคัญๆ ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มาไว้ที่นี่

เสด็จขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ ในปี 1953

เส้นทางสู่ราชบัลลังก์ของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ รัชทายาทในสมเด็จพระเจ้าจอร์จ ที่ 6 ถูกเร่งให้เร็วขึ้น โดยการสละราชสมบัติของพระปิตุลาของพระองค์ และการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดา พระองค์กลายเป็นราชินีในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1952 ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา และพระชนมายุ 27 พรรษา ในช่วงที่มีพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายนปี 1953 

การเดินพบปะพสกนิกรครั้งแรกของสมาชิกราชวงศ์ ในปี 1970

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงทำลายประเพณีที่มีมาหลายศตวรรษ โดยแทนที่จะทรงโบกพระหัตถ์จากระยะไกล พระองค์ทรงเดินเข้าไปทักทายพสกนิกรอย่างใกล้ชิด ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 1970 

โดยภาพอันน่าประทับใจเกิดขึ้น หลังสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในฉลองพระองค์สีเหลืองมะนาว พร้อมด้วยพระมาลาอันเป็นเอกลักษณ์และมีกระเป๋าถือในพระหัตถ์ ทรงพระดำเนินผ่านถนนในนครซิดนีย์ พร้อมทั้งยิ้มและตรัสกับพสกนิกรที่ไปเฝ้ารอรับเสด็จ

ซึ่งตั้งแต่นั้นมาการเดินทักทายพสกนิกรก็ได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับสมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์

……………………………………………………………………………..

ราชวงศ์อังกฤษเสด็จเยือนจีนครั้งแรก ในปี 1986

 

เดือนตุลาคมปี 1986 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กลายเป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศจีน โดยการเสด็จพระราชดำเนินเยือนครั้งนี้ ถูกมองว่าเป็นส่วนสำคัญของความพยายามทางการทูตของสหราชอาณาจักร ในขณะที่เตรียมจะคืนฮ่องกงให้อยู่ภายใต้การปกครองของจีน

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ยังได้เสด็จไปทอดพระเนตรกำแพงเมืองจีน ตลอดจนหุ่นนักรบดินเผาที่เพิ่งค้นพบใหม่และได้พบกับ เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนในขณะนั้นด้วย

……………………………………………………………………………..

พิธีเสกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และไดอานา ในปี 1981 และ การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานา ในปี 1997

ภาพ : hellomagazine Thailand

ในปี 1981 นับได้ว่าช่วงเวลาที่คึกคักที่สุดช่วงหนึ่งของครอบครัวสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยเริ่มต้นด้วยพิธีเสกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และไดอานา สเปนเซอร์ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 1981 

โดยประชาชนมากถึงหนึ่งล้านคนพยายามที่จะไปเฝ้ารอดูขบวนแห่ระหว่างพิธีในใจกลางกรุงลอนดอน ขณะที่ BBC ประเมินว่า มีผู้ชมการถ่ายทอดสดพิธีผ่านทางโทรทัศน์ทั่วโลกราว 750 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไดอานาจะเป็นที่รักในฐานะเจ้าหญิงของประชาชนแต่ก็มีปัญหาในชีวิตคู่กับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ โดยมีการกล่าวหาอีกฝ่ายว่าไม่ซื่อสัตย์ ก่อนจะแยกทางกันในปี 1992 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เรียกว่าแอนนัส ฮอริบิลิส’ (Annus Horribilis หรือปีแห่งความหายนะในภาษาละติน) เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายเหตุการณ์ ทั้งการสิ้นสุดชีวิตคู่ของเจ้าชายแอนดรูว์ พระราชโอรส และการหย่าร้างของเจ้าหญิงแอนน์ พระราชธิดา ตลอดจนเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ปราสาทวินด์เซอร์ 

และในปี 1997 ข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานา ในอุบัติเหตุรถชนที่กรุงปารีส ของฝรั่งเศส สร้างความตกตะลึงไปยังทั่วโลก และทำให้ครอบครัวราชวงศ์อังกฤษตกเป็นเป้าการตรวจสอบจากประชาชน

โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์จากความล่าช้าในการแสดงท่าทีต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหญิงไดอานา ซึ่งไม่กี่วันหลังเกิดเหตุ พระองค์ตรัสกับพสกนิกรทั้งประเทศในการถ่ายทอดสดจากพระราชวังบักกิงแฮม โดยตรัสว่าไม่มีใครที่รู้จักไดอานาจะลืมเธอได้ อีกหลายล้านคนที่ไม่เคยพบเธอ แต่รู้สึกว่าพวกเขารู้จักเธอ จะจดจำเธอพร้อมตรัสเสริมว่าเราทุกคนต่างพยายามรับมือกับเรื่องนี้ด้วยวิธีที่ต่างกัน

……………………………………………………………………………..

เจ้าชายฟิลิปสิ้นพระชนม์ ในปี 2021

ในวันที่ 9 เมษายน 2021 เป็นอีกวันแห่งความเศร้าโศกของสมาชิกราชวงศ์อังกฤษ หลังสำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายฟิลิป 

พิธีพระศพของพระองค์จัดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด ทำให้มีเพียงสมาชิกครอบครัวราชวงศ์และพระสหายที่ใกล้ชิดเท่านั้นที่ได้เข้าร่วม โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ประทับเพียงลำพังบนพระที่นั่งภายในโบสถ์ และทรงสวมหน้ากากอนามัยสีดำเพื่อป้องกันการระบาดตามมาตรการของรัฐ

ขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิปมา 73 ปี โดยสมเด็จพระราชินี ซึ่งเจ้าชายฟิลิปเรียกด้วยความรักว่าลิลิเบธพรรณนาถึงเจ้าชายฟิลิปว่าเป็นพละกำลังและการคงอยู่ของพระองค์

ในการตรัสข้อความวันคริสต์มาสในปีนั้น พระองค์ตรัสด้วยความระลึกถึงเจ้าชายฟิลิปว่าแววตาเจ้าเล่ห์และสงสัยของเขานั้นเจิดจ้าในท้ายที่สุด เหมือนกับตอนที่ฉันมองดูเขาครั้งแรกและตรัสเสริมว่าแต่แน่นอนว่าชีวิตนั้นประกอบไปด้วยการจากลาครั้งสุดท้าย และการพบกันครั้งแรก

……………………………………………………………………………..

ฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี (Platinum Jubilee) ในปี 2022

ในวันที่ 2- 5 มิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา ได้มีการการเฉลิมฉลองในฐานะที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ควีเอลิสซาเบธ ที่ 2 ทรงเป็นประมุขแห่งราชวงศ์อังกฤษพระองค์แรกและพระองค์เดียว ที่ครองราชย์ถึง 70 ปี จึงได้มีการจัดขบวนพาเหรด งานปาร์ตี้ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะมีขึ้นในระหว่างการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี หรือการครองราชย์ครบรอบ

โดยอนุสาวรีย์สำคัญๆ ในลอนดอนและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ มีการประดับตกแต่งและติดธงชาติอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นบรรยากาศของความคึกคักและการเฉลิมฉลองที่จะเกิดขึ้น

……………………………………………………………………………..

ปฏิบัติการลอนดอนบริดจ์  (Operation London Bridge) 

ทั้งนี้ หลังสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต สิ่งที่ตามมาคือปฏิบัติการลอนดอนบริดจ์ (Operation London Bridge) โดยราชเลขานุการส่วนพระองค์ จะเป็นบุคคลแรกภายนอกครอบครัวที่รับทราบข่าว ก่อนโทรศัพท์ด้วยสายโทรศัพท์ที่ป้องกันการดักฟังไปหา ลิซ ทรัสส์ (Lizz Truss) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ซึ่งเพิ่งเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินี เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อแจ้งข่าวดังกล่าว โดยใช้ประโยคสั้นๆ ว่า “London Bridge is Down” หรือสะพานลอนดอนถล่มลงมาแล้ว

จากนั้น เลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าว และส่งข่าวต่อไปยังรัฐมนตรีคนอื่นๆ รวมถึงข้าราชการระดับสูงให้รับทราบข่าว ขณะที่ประชาชนจะได้รับทราบเป็นเวลาต่อมาผ่านสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์บีบีซี และสถานีวิทยุ โดยสถานีวิทยุจะหยุดเล่นเพลงที่ไม่เหมาะสมและเตรียมพร้อมสำหรับการประกาศข่าว ในเวลาเดียวกัน สถานีวิทยุ BBC Two จะหยุดนำเสนอรายการตามปกติ และเปลี่ยนไปใช้การประกาศอย่างเป็นทางการของช่อง BBC One

เมื่อมีการประกาศข่าวดังกล่าวแล้ว ทหารราบคนหนึ่งจะติดประกาศที่ประตูพระราชวังบักกิงแฮม ขณะที่เว็บไซต์ของพระราชวังก็จะแสดงประกาศเช่นเดียวกัน โดยนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ออกแถลงการณ์คนแรก กล่าวรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักร และพบกับพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์

ทิศทางการเปลี่ยนแปลง หลังสมเด็จพระบรมราชินีนาถควีนเอลิซาเบธ ที่ 2 สวรรคต

ธรรมเนียมในช่วงเปลี่ยนผ่านรัชสมัย 

ในอดีตช่วงเวลาที่เปราะบางและเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ คือ ช่วงที่กษัตริย์องค์เดิมสวรรคต และช่วงเวลาก่อนที่กษัตริย์องค์ใหม่จะขึ้นครองราชย์ อันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญและมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของประเทศ รวมไปถึงส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความรู้สึกของประชาชนในประเทศด้วย ซึ่งช่วงเวลานั้นอาจเกิดการแทรกแซงหรือเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น ดังนั้น การประกาศถึงการสวรรคตของกษัตริย์ จึงต้องมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้อย่างรัดกุม

ด้วยเหตุดังกล่าว การวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ ซึ่งสถาบันกษัตริย์มีความเป็นมายาวนานกว่าหนึ่งพันปี และได้ผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ อย่างมากมาย

ภาพ : TIME

โดยการเปลี่ยนผ่านรัชสมัยของกษัตริย์อังกฤษนั้น มีแผนหรือขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งทั้งสำนักพระราชวัง รัฐบาล สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันวางแผนเกี่ยวกับการประกาศข่าวการสวรรคตและการจัดพระราชพิธีพระบรมศพ โดยได้รับความเห็นชอบของกษัตริย์หรือพระราชินีพระองค์นั้น

ครั้งล่าสุดที่มีการเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์อังกฤษ คือเมื่อปี 1952 หรือกว่า 70 ปีก่อนที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคต โดยมีการขานรหัสลับ Hyde Park Corner ก่อนที่จะมีการอัญเชิญเจ้าหญิงเอลิซาเบธขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา ผู้ที่สนใจสามารถรับชมได้จากซีรีส์ The Crown ซีซั่น 1 ตอนที่ 2 Hyde Park Corner อันเป็นการจำลองเหตุการณ์และขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้น

The Queen (King) is Dead, Long Live the King 

เมื่อมีแถลงการณ์ถึงการสวรรคตแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ การสืบราชสันตติวงศ์ตามหลัก The Queen (King) is Dead, Long Live the King. “พระราชินีนาถเสด็จสวรรคตแล้ว ขอกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระเจริญโดยการสืบราชสันตติวงศ์อังกฤษในครั้งนี้จะเป็นไปตามแผนการที่ได้มีการกำหนดไว้แล้วเช่นกันที่เรียกว่า “Operation Spring Tide” ซึ่งหากแปลเทียบเคียงกับปรากฏการณ์น้ำขึ้นตามธรรมชาติ อาจสะท้อนถึงการขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษของเจ้าชายชาร์ลส์ พระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระราชินีนาถ

ตามแผนดังกล่าว เจ้าชายชาร์ลส์ในวัย 73 พรรษา รัชทายาทอันดับหนึ่งของราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งทรงครองตำแหน่งเจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) อันเป็นตำแหน่งมกุฏราชกุมารมาตั้งแต่ปี 1969 รวมเวลานานกว่า 53 ปี ซึ่งถือเป็นรัชทายาทที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก จะทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป ของราชบัลลังก์ อังกฤษ 

ในวันถัดมาหลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถเสด็จสวรรคต สภาแห่งการสืบราชสมบัติ (The Accession Council) ซึ่งเป็นองค์กรตามธรรมเนียมประเพณีแต่โบราณที่ประกอบด้วยคณะองคมนตรี ข้าราชสำนักอาวุโส สมาชิกสภาขุนนาง คณะผู้บริหารนครลอนดอน และผู้มีตำแหน่งสำคัญ จะได้มาพร้อมกันที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เพื่อทำพิธีประกาศการขึ้นครองราชย์ของเจ้าชายชาร์ลส์ และพร้อมกันนั้น พระองค์จะต้องทรงกล่าวคำปฏิญาณในการขึ้นครองราชสมบัติ (the accession declaration) ซึ่งจะมีผลเป็นการสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ (to proclaim King Charles the new sovereign.)

หลังจากนั้น กษัตริย์พระองค์ใหม่จะต้องปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามแผนที่กำหนด ซึ่งรวมถึงการให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ และต้องเสด็จพระราชดำเนินไปยังดินแดนต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นเมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์ เมืองเบลฟาสส์ของไอร์แลนด์เหนือ และเมืองคาร์ดิฟฟ์ของเวลส์ เพื่อประกอบพิธีต่างๆ ในฐานะประมุขพระองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักรให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริย์กับดินแดนต่างๆ ด้วย

ตามแผนการดังกล่าว เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถสวรรคตครบ 10 วัน จะมีการจัดพระราชพิธีพระบรมศพ ณ วิหารเวสมินเตอร์ ก่อนที่จะเคลื่อนพระบรมศพไปฝังยังปราสาทวินด์เซอร์ที่ซึ่งพระสวามี ตลอดจนพระราชบุพการีได้รอคอยพระองค์อยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว

สายลมแห่งความเปลี่ยนผ่านของสถาบันกษัตริย์อังกฤษ

ในช่วงรอบปีที่ผ่านมา ผู้ที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับราชวงศ์อังกฤษจะสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงจากปัญหาพระพลานามัยที่ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงต้องงดการปฏิบัติพระราชภารกิจหลายประการ โดยจะทรงมอบหมายให้เจ้าชายชาร์ลส์และพระราชวงศ์เป็นผู้แทนพระองค์ รวมไปถึงการที่ทรงมีพระราชดำรัสต่อสาธารณชน เพื่อยืนยันถึงการสถานะของเจ้าชายชาร์ลส์ในการสืบทอดราชบัลลังก์และการขึ้นเป็นพระราชินีอังกฤษของคามิลลา ดัชเชสแห่งคอนวอร์ลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

นอกจากนั้นแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า การจากไปของเจ้าชายฟิลลิป พระราชสวามีที่อยู่เคียงข้าง และเป็นกำลังสำคัญให้แก่พระองค์มายาวนานกว่า 74 ปีเมื่อปีที่ผ่านมา ย่อมส่งผลกระทบสำคัญต่อพระองค์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการดำเนินการหรือกำหนดแผนต่าง ๆ ขึ้นอย่างรัดกุมเพื่อการเปลี่ยนผ่านราชบัลลังก์ที่ราบรื่นมากเพียงใด แต่ความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย และการยอมรับของประชาชนต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอดจนกระแสเรียกร้องสาธารณรัฐในประเทศอังกฤษเอง จะเป็นสิ่งที่ท้าทายเจ้าชายชาร์ลส์ ผู้ที่กำลังจะขึ้นมาเป็นผู้นำสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ในระยะเวลาอันใกล้นี้

นับได้ว่าเป็นข่าวการสูญเสียครั้งสำคัญของโลกอีกครั้ง มาสิ ขอแสดงความเสียใจและขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปขององค์สมเด็จพระราชินี ควีนเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษมา ณ ที่นี้อีกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูล : THE STANDARD , BrandThink , The Momentum และ The MATTER

สำหรับใครที่สนใจในส่วนของสินเชื่อ และการประกันภัย สามารถติดต่อ มาสิ ได้เลย หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison