การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก

การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก
การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

คงจะมีหลายคนที่ชอบออมเงินสงสัยกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ว่าดอกเบี้ยเงินฝากคิดกันอย่างไร ทำไมได้น้อยจัง หรือไม่ก็ทำไมถึงมีแต่คนแนะนำว่า ให้ลงทุนอย่างอื่นดีกว่าการเอาเงินไปฝากธนาคารไว้เฉย ๆ เพราะดอกเบี้ยน้อย เพราะฉะนั้นบทความนี้จะมาสอนให้รู้จักการคิดดอกเบี้ยเงินฝาก ว่าคิดกันอย่างไร มีปัจจัยอะไรที่มาเกี่ยวข้องบ้าง

การคิดดอกเบี้ยเงินฝาก

บัญชีเงินฝากแต่ละประเภท กับการคิดดอกเบี้ยเงินฝาก

เนื่องจากบัญชีเงินฝากมีหลายประเภทด้วยกัน และแต่ละประเภทก็มีการคิดดอกเบี้ยที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นลองมาทำความเข้าใจกับอัตราการดิดดอกเบี้ยของแต่ละประเภทบัญชีกันดู แต่ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารด้วย

  • เงินฝากออมทรัพย์ – ได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.5 – 1% แล้วแต่ธนาคาร โดยจะมีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคม และถ้ามีดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 20,000 บาท จะต้องเสียภาษี 15%
  • เงินฝากประจำ – เป็นบัญชีที่ใครต่อใครมักจะแนะนำให้ฝากกัน เพราะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากเงินธรรมดา แต่มีข้อเสียอยู่ที่ต้องฝากประจำทุกเดือนตามกำหนด ตั้งแต่ 12 – 36 เดือน โดยมีดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.75 – 3.5% แล้วแต่เงื่อนไข รูปแบบการจ่ายดอกเบี้ย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือการจ่ายครั้งเดียวเมื่อครบกำหนด และการทยอยจ่ายทุกเดือน และถ้าหากฝากเกิน 24 เดือนขึ้นไป ก็จะไม่ต้องเสียภาษี 15%
  • เงินฝากกระแสรายวัน – ได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 0 – 1.5 % แล้วแต่ธนาคาร โดยจะมีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน และสิ้นเดือนธันวาคม การฝากบัญชีประเภทนี้ ต้องเสียภาษี 15% ทุกกรณี
  • สลากออมทรัพย์ – ได้รับดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.5 – 4.75% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและระยะเวลาที่ถือสลากไว้ จะได้ดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนด และยังมีโอกาสได้ชิงโชคจากการถูกสลากอีกด้วย การฝากบัญชีประเภทนี้ ต้องเสียภาษี 15% ทุกกรณี
  • พันธบัตรรัฐบาล – มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงถึง 2.7 – 7% โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาของพันธบัตร การจ่ายดอกเบี้ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการจ่ายแบบประจำ และการจ่ายแบบทบต้น ต้องเสียภาษี 15%

ทีนี้ก็ยังมีคำถามต่อไปอีกว่า หากฝากเงินกับสถาบันการเงินของรัฐ จะได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินของเอกชนจริงหรือไม่ คำตอบก็คือไม่จริง เพราะก่อนหน้านี้การฝากเงินกับสถาบันการเงินของรัฐจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าเอกชน แต่ภายหลังเอกชนก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่า เพราเอกชนสามารถนำเงินฝากไปลงทุนสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น  คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ฝากเงินแล้วว่า ต้องการฝากเงินกับรัฐหรือเอกชนมากกว่ากัน