ไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีโทษอะไรบ้าง แน่นอนว่าคำถามนี้คงอยู่ในใจของใครหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มขับรถ อาจยังสงสัยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญและจำเป็นต่อการขับขี่รถยนต์อย่างไร และถ้ารถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. หรือไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ทุกๆ ปี จะมีโทษอะไร และมีค่าปรับอย่างไรบ้าง เราตาม masii ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ไม่ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีโทษอะไรบ้าง
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ การทำประกันรถยนต์ภาคบังคับเป็นการทำประกันเพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมทั้ง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ซึ่งมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี เมื่อ พ.ร.บ.หมดอายุ ก็ต้องทำการ ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ เป็นประจำทุกปี ซึ่งหากรถยนต์คันใดไม่มี พ.ร.บ. จะมีโทษปรับ และมีผลเสียต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ผู้ใดนำรถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์มาใช้ขับขี่บนท้องถนน มีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
- รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ จะไม่สามารถ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ประจำปีได้
- หากรถยนต์คันใดไม่ได้ต่อภาษีนานเกิน 3 ปี จะทำให้เลขทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ พร้อมกับต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน
- ผู้ประสบภัยจากรถจะไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. หากรถยนต์คันที่เกิดเหตุไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ (ยกเว้นว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิดได้)
การทำ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเหมือนการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัย โดยให้การชดเชยเป็นวงเงินความคุ้มครองดังนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น (เบิกได้โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิดและอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี)
- กรณีบาดเจ็บ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลตามจริง คนละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินชดเชยคนละ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บ และทุพพลภาพภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินชดเชยเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท
- กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตในภายหลัง จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมไม่เกิน 65,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม (ฝ่ายถูกสามารถเบิกส่วนนี้เพิ่มได้)
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) คนละไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ (นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป) ได้รับเงินชดเชยคนละ 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ได้รับเงินชดเชยคนละ 500,000 บาท
- ทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยคนละ 300,000 บาท
- ผ่าตัดใช้กะโหลกศีรษะเทียม ได้รับเงินชดเชยคนละ 250,000 บาท
- เงินชดเชยค่ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน คนละไม่เกิน 4,000 บาท (วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน)
เมื่อเพื่อนๆ ได้รู้กันแล้วว่า ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะมีโทษอะไรบ้าง ก็คงทำให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับ พ.ร.บ. รถยนต์ กันมากขึ้น ซึ่งหากใครที่รู้ตัวว่า พ.ร.บ. รถยนต์ ใกล้หมดอายุแล้วละก็ สามารถ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้าได้โดย คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ
สนใจสมัครประกันรถยนต์
แต่หากใครที่อยากได้ความคุ้มครองเพิ่มเติมละก็ สามารถทำประกันรถยนต์ได้เพียง คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับมาสิ หรือหากมีข้อสงสัยสามารถโทร.มาพูดคุยปรึกษากับทีมงานได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ พ.ร.บ. รถยนต์ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ