“ กินอย่างไร ได้อย่างนั้น ” คำกล่าวนี้ เชื่อได้เลยต้องมีหลายคนได้ยินมาก่อนเป็นแน่ และก็ดูเหมือนกับว่าจะเป็นดังคำกล่าวข้างต้นที่ว่าไว้ เพราะร่างกายของเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานจากการการรับประทานอาหารในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอ ของร่างกาย เมื่อเรากินอาหารใดเข้าไปร่างกายก็จะดูดซึมและเปลี่ยนแปลงสารอาหารนั้นไปใช้ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ก็อย่างว่า ร่ายกายของคนเรานั้นก็เหมือน ๆ กับสิ่งอื่นทั่วไปตามธรรมชาติ ย่อมที่จะมีส่วนที่ถูกกันกับร่างกายและก็ย่อมที่จะมีส่วนที่แตกต่างและต่อต้านเป็นพิษกับร่างกายเช่นกัน ดังนั้นแล้ว มาสิ จึงหยิบเอากับอีกหนึ่งประเภทอาหารที่ใครหลายคนมักเป็นกันในยุคหลัง ๆ มานี้ อย่าง “กลูเตน” ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ มาอัพเดทกัน
กลูเตน คืออะไร?
กลูเตน (Gluten) เป็นไกลโคโปรตีนที่พบในส่วนที่เป็นเอนโดสเปอร์มของธัญพืช (Cereal grain) บางชนิด เช่น ข้าวสาลี (Wheat), ข้าวบาร์เลย์ เกิดจากการรวมตัวของโปรตีน (Protein), กลูเตนิน (Glutenin) และไกลอะดิน (Gliadin) ในสัดส่วนเท่า ๆ กัน โดยจะสร้างพันธะไดซัลไฟด์ (Disulfide Bond) ทำให้กลูเตนมีลักษณะเหนียว และยืดหยุ่น ไม่ละลายในน้ำ
กลูเตนในอาหาร โดยทั่วไปกลูเตนสกัดได้จากการนำแป้งข้าวสาลี (Wheat flour) มาผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทำให้เกิดโด (Dough) แล้วนำโดที่ได้มาล้างด้วยน้ำ มีส่วนประกอบหลักเป็น โปรตีน ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี กลูเตนสามารถเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตขึ้นโดยยีสต์ หรือผงฟู เอาไว้ได้ ทำให้รักษารูปทรงของผลิตภัณฑ์ เช่น ขนมปัง, โดนัท, ขนมเค้ก กลูเตนนิยมใช้เป็นส่วนประกอบแทนที่เนื้อสัตว์ในอาหารเจ (Vegan) และอาหารมังสวิรัตินั่นเอง
อาหารที่มีกลูเตน มีอะไรบ้าง?
สำหรับอาหารที่มีกลูเตน มักมีทั่วไปใกล้ตัว คนที่แพ้กลูเตนควรเลี่ยง ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ต้องอ่านฉลากอาหารอย่างระมัดระวัง และควรใส่ใจกับส่วนผสมที่ใช้ในการทำอาหารเหล่านั้น มีดังนี้
ซีอิ๊ว เพราะซีอิ๊ว หรือซอสถั่วเหลือง ที่เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหรือไทย ได้มาจากกรรมวิธีดั้งเดิมโดยการใช้ข้าวสาลีหมักและถั่วเหลือง ซึ่งข้าวสาลีก็เป็นแหล่งอุดมของกลูเตนเลยทีเดียว
น้ำสลัด มีขั้นตอนและกรรมวิธีมากมายในการทำน้ำสลัด ซึ่งประกอบด้วยกลูเตนจำนวนมาก หลายคนอาจจะเพลิดเพลินไปกับการใช้น้ำสลัดเหล่านั้นในสลัดจานโปรดของตัวเองด้วยความไม่รู้ ถ้าหากได้ลองดูเนื้อหาทางโภชนาการ หรือส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์ของน้ำสลัดสักนิด จะพบว่า มีส่วนประกอบบางอย่างที่มาจากแป้งสาลี และมีปริมาณของกลูเตนอยู่
เนื้อแปรรูป มีเนื้อสัตว์แปรรูปหลายชนิด เช่น ไส้กรอก ที่มีการเติมแป้งเข้ามาเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มความเด้งดึ๋ง และมีการปรับปรุงเนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์ คุณจึงควรอ่านฉลากหรือป้ายกำกับอาหารอย่างระมัดระวัง และละเอียดถี่ถ้วน
ข้าวโอ๊ต หลายคนมักจะเลือกข้าวโอ๊ตเป็นอาหารมื้อเช้า เพราะข้าวโอ๊ตเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นเมล็ดธัญพืชที่ดีต่อสุขภาพ แต่รู้ไหมว่า ในข้าวโอ๊ตมีกลูเตนอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะข้าวโอ๊ตมักจะปลูกคู่กับพืชตระกูลอื่น ๆ เช่น ข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวสาลี ซึ่งอาจจะมีการปนเปื้อนของกลูเตนได้
ลูกอม มีขนมหลายอย่างที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น น้ำเชื่อมข้าวบาร์เลย์ หรือน้ำเชื่อมจากมอลต์ และในข้าวมอลต์ และข้าวบาร์เลย์ จะมีปริมาณกลูเตนที่สูงมาก ดังนั้น ขนมหวานอย่างลูกอมเหล่านี้ จะมีกลูเตนที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน
ชีส ชีสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม และเป็นที่รู้กันดีว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน แต่อย่างไรก็ตาม มีผลิตภัณฑ์ชีสบางอย่างที่อาจจะมีส่วนผสมของกลูเตนอยู่บ้าง เช่น บลูชีสที่มาพร้อมกับการใช้เอนไซม์ Penicillium Spores ได้มาจากขนมปังไรย์ ซึ่งมีกลูเตนซ่อนอยู่ นอกจากนี้ ในชีสขูดที่เราเห็นกันตามร้าน หรือแม้กระทั่งชีสสเปรด ก็อาจจะมีกลูเตน เพราะชีสเหล่านี้ได้รับการประมวลผลเพิ่มเติมเข้าไป
อาการแพ้กลูเตน
การแพ้กลูเตนที่อยู่ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เล่ย์ ระยะเวลาในการแพ้จะเกิดขึ้นทันที เหมือนการแพ้อาหารอื่นๆ แต่ถ้าเกิดจากโรคเซลิแอคจะแตกต่างกัน เพราะโรคนี้เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง ใช้ระยะเวลาในการแพ้นานกว่า ไม่เกิดทันทีที่ทานอาหาร จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานหรือสารต่อต้านกลูเตนที่ได้รับ
โดยสารต่อต้านกลูเตนจะไปทำลายลำไส้เล็ก ทำให้การดูดซึมอาหารผิดปกติ ไม่สามารถดูดซึมอาหารที่บริเวณลำไส้เล็กได้ สารอาหารเหล่านั้น ได้แก่ ธาตุเหล็กและวิตามินชนิดต่างๆ เป็นต้น หากตรวจพบได้เร็วผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเล็กน้อย แต่ถ้าตรวจพบช้า จะมีอาการถ่ายเป็นมันลอย ดูดซึมอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ร่างกายขาดสารอาหาร และอาจเสียชีวิตได้ด้วย แต่พบน้อยมาก ส่วนมากผู้ที่เสียชีวิตมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ กลูเตน
คนที่มีอาการแพ้กลูเตน ไม่อาจบอกได้อย่างแน่ชัด อาจเป็นเพราะกรรมพันธุ์ ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยคนที่แพ้กลูเตน จะมีการดูดซึมอาหารผิดปกติ ซึ่งเกิดจากการที่ลำไส้เล็กมีปัญหา ส่วนการวินิจฉัยอาการแพ้กลูเตนหรือไม่ ทำได้แค่สังเกตอาการ แล้วปรึกษากับแพทย์หรือนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนอาหารการกินให้ถูกต้อง ซึ่งคุณหมอจะมีขั้นตอนการตรวจหาอาการของโรคอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด หรือการตัดชิ้นเนื้อจากลำไส้ไปตรวจวิเคราะห์
ส่วนการตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อหาสารที่แพ้ เหมือนการทดสอบว่าแพ้อาหารทะเล ไข่ หรือสารเคมีอื่น ๆ โดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะใช้เข็มขนาดเล็กมากฉีดกลูเตนปริมาณมาตรฐานในชั้นใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนของผู้ทดสอบ และรอดูขนาดของปฏิกิริยาการบวมแดงที่จะเกิดขึ้นเมื่อทิ้งไว้ในระยะเวลาที่กำหนดเทียบกับบริเวณที่ฉีดน้ำกลั่นในปริมาณที่เท่ากัน หากมีการบวมแดงเป็นวงกว้างกว่าตัวควบคุมคือน้ำอย่างมีนัยสำคัญก็แสดงว่าแพ้กลูเตน ซึ่งการแพ้ข้าวสาลีก็ทดสอบแบบเดียวกัน
สำหรับบางคนที่การกินอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตน อาจเป็นอันตรายร้ายแรงสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสารอาหารดังกล่าว โดยรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมเดียว และควรอ่านส่วนประกอบอาหารบนฉลาก(ถ้ามี)ทุกครั้งก่อนรับประทาน หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบอาหารเป็นอาหารปลอดกลูเตน
ขอขอบคุณ : สปริงกรีนอีโวลูชั่น และ กรุงเทพธุรกิจ
และนี่ก็เป็นเพียงอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่วันนี้ มาสิ ได้หยิบยกมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้ และไม่เพียงสาระดีๆ ที่เอามาฝากกัน มาสิ ยังได้ขนเอากับอีกหนึ่งตัวช่วย ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองให้กับการดูแลสุขภาพของเราให้ดียิ่งขึ้นด้วย ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care ) ที่สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี จะเป็นความคุ้มครองในเรื่องใดบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน ( ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาลค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ) และการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical ) สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี
- ค่าห้อง ค่าอาหาร และพยาบาล สูงสุดต่อวัน 12,000 บาท
- ค่าห้องไอซียูสูงสุด 24,000 บาท ( สูงสุด 15 วันต่อปี )
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป สูงสุดถึงครั้งละ 200,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
- ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยนอก สูงสุด 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด รวมถึงค่าปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัด ( ตามตารางผ่าตัด ) สูงสุด 250,000 บาท
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 100,000 บาท
- เบี้ยประกันเริ่มต้น 2,279 บาท
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ
-
รู้หรือไม่!? นั่งนานเกินไปไม่ใช่เรื่องดี ควรลุกเคลื่อนที่ทุก 30 นาที เพื่อหลีกหนี ออฟฟิศซินโดรม
-
masii ชวนทำ! แบบทดสอบตาบอดสี เช็กความเสี่ยง ตาบอดสีหรือไม่ รีบเช็กกันเลย
-
เจอ จ่าย จบ กับ ประกันภัยโรคมะเร็ง ประกันโรคร้ายที่จะให้คุณได้เงินก้อนไว้ใช้
_____________________________________________
Please become Masii Fan !!
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#ประกันสุขภาพ #ประกันโควิด #ประกันไข้เลือดออก #ประกันการเดินทาง
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#เงินสด #เงินก้อน #เงินกู้ทันใจ #เงินด่วน #เงินด่วนทันใจ
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison