สิทธิประกันสังคม ที่ควรรู้

สิทธิประกันสังคม ที่ควรรู้
สิทธิประกันสังคม ที่ควรรู้
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

สำหรับพนักงานประจำคงคุ้นเคยกับประกันสังคมเป็นอย่างดีใช่หรือเปล่าครับ ก็เพราะในทุกๆเดือนเงินเดือนของเราจะมีส่วนหนึ่งที่ถูกหักออกไป เพื่อเข้าประกันสังคมนั่นเอง หลายคนคงคุ้นเคยกับเงินที่ถูกหักไปและไม่มีข้อสงสัยแน่ๆ แต่บางคนคงสงสัยว่าเงินประกันสังคมที่ถูกหักไปนั้น ถูกหักไปให้ประกันสังคมทำไม และเรามีสิทธิ์อะไรสำหรับประกันสังคมนั้นๆ

สิทธิประกันสังคม ที่ควรรู้

สำหรับประกันสังคมหากพูดกันตามจริงนั้น จะมีสิทธิ์มากมายเลยครับ ซึ่งเรามาพูดถึงสิทธิ์ประกันสังคมที่เราจะต้องใช้แน่ๆ หรือสิทธ์ประกันสังคมที่จำเป็นกับตัวเราดีกว่าครับว่ามีสิทธิ์ข้อไหนโดดเด่นน่าสนใจบ้าง

ซึ่งได้แก่ สิทธิ์ในกรณีออกจากงาน สิทธิ์การตรวจสุขภาพประจำปี สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล

กรณีออกจากงาน

เงื่อนไขสำหรับการขอเงินชดเชยจากการว่างงานนั้นมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ครับ

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย หรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  2. มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน
  4. ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th) ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  5. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้
  6. ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  7. ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้
  • ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ซึ่งสำหรับผู้ว่างงาน จำเป็นต้องยื่นเรื่องว่าเป็นผู้ว่างงานครับ และสถานที่ยื่นเรื่อง ก็ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

  1. ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  (เว็บไซต์ www.empui.doc.go.th) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง และรายงานตัวตามกำหนดนัด เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
  2. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

**ขอบคุณข้อมูลจาก sso.go.th หรือสำนักงานประกันสังคม **

ตรวจร่างกายตามระบบ

1. การคัดกรองการได้ยิน (Finger Rub Test) อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี

  1. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข
  • อายุ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี
  • อายุ 40-54 ปี ตรวจได้ทุกปี
  • อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเสี่ยง
  1. การตรวจตาโดยความดูแลของจักษุแพทย์
  • อายุ 40-54 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
  • อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจทุก ๆ 1-2 ปี
  1. การตรวจวัดสายตาด้วยสาย Snellen Eye Chart อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab)

1. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC

  • อายุ 18-54 ปี ตรวจได้ 1 ครั้ง
  • อายุ 55-70 ปี ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
  1. ตรวจปัสสาวะ UA อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
  2. ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
  • อายุ 35-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี
  • อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
  1. การทำงานของไต Cr อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
  2. ไขมันในเส้นเลือดชนิด Total & HDL Cholesterol อายุ 20 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี

การตรวจอื่น ๆ

1.เชื้อไวรัสตับอักเสบ HB sAg ตรวจได้ 1 ครั้ง
2.มะเร็งปากมดลูกแบบ Pap Smear

  • อายุ 30-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี
  • อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสม

3.ตรวจมะเร็งปากมดลูกวิธี VIA อายุ 30-54 ปีขึ้นไป ตรวจทุก 5 ปี
4.ตรวจเลือดในอุจจาระ FOBT อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี
5.การเอ็กซ์เรย์ทรวงอก Chest X–ray อายุ 15 ปีขึ้นไป ตรวจ 1 ครั้งต่อปี

สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล

เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาหากมีประกันสังคมก็เข้าโรงพยาบาลตามสิทธิที่คุณเลือกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินต้องสำรองจ่ายไปก่อนแล้วค่อยเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคม

ซึ่งการสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินไปแล้ว สามารถนำเอกสารดังนี้ มาเบิกคืนได้ที่ สำนักงานประกันสังคมภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่จ่าย

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )      
  2. ใบรับรองแพทย์ (ระบุอาการที่เกิดขึ้นโดยละเอียด)     
  3. ใบเสร็จรับเงิน (กรณีฉุกเฉินไม่เข้าโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ)     
  4. หนังสือรับรองจากนายจ้าง (กรณีเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้)     
  5. สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ     
  6. เอกสารหลักฐานอื่นหาเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา     
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารหน้าแรก ได้ 11 ธนาคาร  ดังนี้ 
  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกสิกรไทย 
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารธนชาต
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ซึ่งทั้งหมดที่เรายกมานี้คือข้อมูลส่วนหนึ่งครับ จะเห็นได้ว่า ประกันสังคมที่เราจ่ายในทุกๆเดือนนั้น จะมีส่วนช่วยอย่างมากในกรณีที่เราตกงาน หรือสามารถนำมาเป็นค่ารักษาพยาบาลได้นั่นเอง แต่หากในตอนนี้เราต้องการเงินด่วน เงินสินเชื่อส่วนบุคคล หรือเงินก้อน ที่เราอยากกู้นั้น ก็สามารถช่วยเราหากต้องการเงินในเวลาฉุกเฉินได้ครับ เข้ามาเปรียบเทียบสินเชื่อที่เหมาะสมกับฐานเงินเดือนของเราได้เองครับ แค่คลิกที่นี่

เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล

compare-button เปรียบเทียบเลย!
เปรียบเทียบเลย!

หรือ แอด Line @ :@masii ครับ