วัคซีน HPV วัคซีนดี ๆ ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ว่าด้วยเรื่องของสุขภาพ ไม่ว่าจะผู้ชายผู้หญิงหรือเพศไหน ๆ ต่างก็มีปัจจัยในเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้เหมือน ๆ กัน แต่ในเรื่องของการดูแลสุขภาพนั้นกลับต้องมีความใส่ใจและดูแลที่ต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิง ปัจจัย และความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพนั้นมีมากมายกว่าเพศชายอยู่หลายเท่า ไหนจะเรื่องของประจำเดือน ไหนจะเรื่องของฮอร์โมน ที่มักจะมีการเปรียบแปลงกันอยู่ตลอดเวลา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใดเลยว่าที่เพศหญิงจะมีความใส่ใจและละเอียดลออกับการดูแลสุขภาพกันมาก ๆ อย่างเช่นวันนี้ มาสิ จึงได้นำ เอาอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่ใช่ในการดูแลสุขภาพอย่าง วัคซีน HPV หรือ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง ซึ่งรายละเอียดความคุมครอง ข้อดีข้อเสีย และการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะรับวัคซีนเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ มาสิ เอามาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกันแล้ว พร้อมแล้วไปกันเลย

ทำประกันสุขภาพ ที่มีค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD ดียังไง 

วัคซีน HPV คืออะไร

วัคซีน HPV หรือ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูก เมื่อได้รับเชื้อ HPV ประมาณ 5-10 ปี เชื้อจะทำให้เซลล์ปากมดลูกอักเสบเรื้อรังแล้วพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ซึ่งเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยกว่า 70 % คือ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18

ไวรัส HPV คืออะไร

Human Papillomavirus (HPV) เป็น DNA ไวรัสที่ได้รับมาจากการสัมผัสโดยตรง (Direct Contact) จากการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmission Infection) ซึ่งจากการค้นพบในปัจจุบัน พบมากกว่า 140 type โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็งถึงเป็นมะเร็ง (High Risk HPV) ซึ่งมีชื่อเป็นหมายเลขของ HPV High Risk type 16, 18, 31, 33, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 35, 66 ส่วนที่เหลือเป็น Low Risk HPV ซึ่งในกลุ่มนี้ No. 6, 11 สามารถทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

นอกจากนี้ HPV เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งและยังทำให้เกิดมะเร็งบริเวณที่อื่น ๆ ได้ เช่น มะเร็งช่องคลอด, มะเร็งทวารหนัก (ในชายรักร่วมเพศ), มะเร็งช่องปากและลำคอ และมะเร็งอวัยวะเพศชาย ทั้งนี้การเกิดมะเร็งขึ้นกับภูมิร่างกายของคนที่ได้รับเชื้อ HPV ด้วย ถ้าภูมิร่างกายต่ำ เช่น เป็น Immunocompromised เช่น HIV, SLE  อาจทำให้มีการพัฒนาเซลล์เปลี่ยนในระยะก่อนเป็นมะเร็งเป็นมะเร็งได้เร็วขึ้น (น้อยกว่า 10 ปี)

คนส่วนใหญ่ได้ HPV High Risk แล้วสามารถ Clearance (ขจัดออกไปได้) โดยใช้เวลาเฉลี่ย 8 เดือนในภูมิคุ้มกันดีมาก และสามารถขจัดออกได้ถึง 70% ใน 1 ปี แต่ถ้ายังตรวจพบ HPV High Risk มากกว่า 2 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกในกลุ่ม High Risk Type 16, 18 ถึง 200 – 400 เท่า และ HPV  Other High Risk 30 – 40 เท่า

 

 ไวรัส HPV นำไปสู่มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้หญิงถึงร้อยละ 80 ติดเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยไวรัสชนิดนี้จะใช้เวลาเฉลี่ย 5 – 10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก การติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีเชื้อ HPV

มะเร็งปากมดลูก นั้นส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30 – 55 ปี อาการแสดงของมะเร็งปากมดลูกโดยเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะพัฒนาไปถึงขั้นร้ายแรง อาจมีภาวะน้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย ปวดเชิงกรานและหลัง ขาบวมข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ตลอดจนมีอาการท้องผูกและปัสสาวะเป็นเลือด อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดหลังและปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก

นอกจากนี้เชื้อ HPV ยังทำให้เกิดหูดหงอนไก่โดยผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยนานนับปี จนเมื่อมีก้อนโตมากไปอุดกั้นช่องคลอด ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะ จนเกิดอาการคันและปวด บางรายอาจมีเลือดออก ตกขาวผิดปกติ และแสบร้อนที่อวัยวะเพศ

ท้อง

" มะเร็งเต้านม " คร่าชีวิต “ นุ๊กซี่ ” เช็ค 7 อาการเริ่มต้น พร้อมอุ่นใจด้วยความคุ้มครองจาก " ประกันมะเร็ง "

ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก?

การรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถฉีดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยแนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-45 ปี และผู้ชายควรฉีดวัคซีนในช่วงอายุ 9-26 ปี หากได้รับวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีจะทำให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะลดลงทำให้ได้ผลดีไม่เท่ากับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีกี่ประเภท?

ปัจจุบันในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18

ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ18 ได้ถึง 70% ส่วนวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 เพิ่มเติม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนักในเด็กผู้ชายได้ด้วย

ข้อควรรู้ก่อนฉีด HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

  • การฉีดวัคซีน HPV จะฉีดบริเวณใด และมีผลข้างเคียงหรือไม่

ในการฉีดวัคซีนเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายนั้นน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการเหมือนกับการได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น อาจมีไข้ต่ำ ๆ ในบางราย หรือปวดบวมเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด หลังฉีดแนะนำให้นั่งลงพักสังเกตอาการประมาณ 30 นาที

  • วัคซีน HPV ต้องฉีดทั้งหมดกี่เข็ม และป้องกันได้นานเท่าไหร่

ในการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มว่าวัคซีน HPV จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถจดจำและสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ที่มีอยู่ในวัคซีนได้ โดยช่วงแรกที่มีการใช้วัคซีนก็ยังไม่ทราบระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่ชัดเจน แต่ต่อมาพบว่าภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น

 

  • แนะนำการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงอายุใดจึงเหมาะสมที่สุด

วัคซีน HPV นี้จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่ยังไม่เคยมีการสัมผัสกับเชื้อ จึงเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดในเด็ก หรือหญิงสาววัยรุ่น เป็นการป้องกันล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับรองการใช้ในเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุ 9-26 ปี ว่าวัคซีนสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักคือ 16 และ 18 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน และในอีกหลายประเทศชั้นนำมีการพิจารณาให้เป็นวัคซีนบังคับที่ใช้ในเด็กผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง อายุช่วง 11-12 ปี ซึ่งเป็นการป้องกันก่อนที่จะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ เพราะในช่วงอายุที่พบการติดเชื้อมาที่สุดคือ 18-28 ปี และเชื้อ HPV อาจใช้เวลาในการก่อตัวนานนับ 10 ปีก่อนที่จะปรากฏอาการผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมานั้นเอง

  • ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้หรือไม่

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ยังคงสามารถฉีดวัคซีนได้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันจากวัคซีน ถ้าเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งวัคซีนสามารถให้การป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้หลายสายพันธุ์ แม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อในบางสายพันธุ์อื่นๆที่มีอยู่ในวัคซีนได้

  • จำเป็นจะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่

คำแนะนำของคณะกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกานั้น ผู้หญิงที่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่เรียกว่า “ แปปสเมียร์” ( Pap Smear Test) เป็นประจำและไม่พบผลผิดปกติใดๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการได้รับวัคซีน

แม้ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกจะมีต้นกำเนินที่แตกต่างจากมะเร็งชนิดอื่น ๆ แต่ในเรื่องของความรุนแรงและผลกระทบต่อร่างกายนั้นไม่ได้มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด ดังนั้นแล้ว คุณผู้หญิงทั้งหลายนอกจากเรื่องของการใส่ใจในสุขภาพร่างกายของเราเป็นอยนอย่างดีแล้ว ก็อย่าลืมที่ทำการตรวจสุขภาพกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้เป็นความพร้อมที่จะรับมือได้ทันท่วงทีเมื่อตรวจพบโรคร้ายใด ๆ ขึ้นมา

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้เอามาให้ทุกคนได้อัพเดทความรู้ละได้นำ ไปปรับใช้มนการดูแลสุขภาพกัน และก่อนจากกันเหมือนอย่างเคย ไม่เพียงสาระดี ๆ ที่ มาสิ ไปเอามาฝาก วันนี้ มาสิ ยังได้ติดเอากับอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีอย่าง ประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ จาก แอกซ่า ประกันภัย ที่ให้คุณรับเงินก้อนทันที ที่ตรวจพบมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 3 บาท / วัน รายละเอียดความคุ้มครองจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปดูกัน

ประกันมะเร็งออนไลน์ จาก แอกซ่า ประกันภัย. . .

แอกซ่าประกันภัย

ประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ ที่ให้คุณรับเงินก้อนทันที ที่ตรวจพบมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ 

ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 3 บาท / วัน

  • จ่ายเงินก้อนทันทีที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง ด้วยวงเงินสูงสุดถึง 900,000 บาท
  • คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ทั้งลุกลาม และไม่ลุกลาม
  • สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • ซื้อผ่านออนไลน์ รับความคุ้มครองทันที พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมล
  • ให้ความคุ้มครองคนไทยที่มีอายุตั้งแต่อายุ 1 – 65 ปี
  • ไม่จำเป็นต้องมีกรมธรรม์หลัก
  • ไม่มีเงื่อนไขการเรียกร้องค่าสินไหมว่าผู้เอาประกันภัย จะมีชีวิตอยู่ต่อหลังจากตรวจพบหรือไม่
  • สามารถนำเบี้ยประกันมะเร็งมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565 สูงสุดถึง 25,000 บาท (ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)
  • เมื่อซื้อแผนครอบครัว ฟรี! ความคุ้มครองสำหรับบุตรที่อายุ 1-22 ปีและยังไม่สมรส โดยไม่จำกัดจำนวน

ตารางความคุ้มครอง ประกันมะเร็ง

ความคุ้มครอง (บาท) แผน 1 แผน 2 แผน 3
จ่ายเงินก้อนให้ทันทีเมื่อตรวจพบมะเร็งครั้งแรก 200,000 500,000 750,000
ขยายความคุ้มครองมะเร็งผิวหนัง 20% ของทุนประกัน 40,000 100,000 150,000
เบี้ยประกันเริ่มต้น 825 บาท/ปี
(≈ 3 บาท/วัน)
2,060 บาท/ปี
(≈ 6 บาท/วัน)
3,090 บาท/ปี
(≈ 9 บาท/วัน)

 

การทำ ประกันโรคมะเร็ง จะมีวงเงินความคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล การทำเคมีบำบัด รวมถึงยังมีเงินชดเชยกรณีเสียชีวิตจากโรค มะเร็ง โดยวงเงินที่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน และแผนประกันภัยที่เลือกซื้อ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

ดูรายละเอียดกรมธรรม์ และทำ ประกันโรคมะเร็ง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison