ภาษีรถยนต์ กับ ต่อทะเบียนรถยนต์ เหมือนกันไหม คำถามนี้คงอยู่ในใจของใครหลายคน เพราะเวลาได้ยินคำว่า ต่อภาษีรถยนต์ ทีไรก็จะมีคำว่า ต่อทะเบียนรถยนต์ ตามมาด้วยทุกที แล้วสองคำนี้มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และการต่อภาษีรถยนต์มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น เราไปหาคำตอบพร้อมกับ masii กันเลยค่ะ
ภาษีรถยนต์ กับ ต่อทะเบียนรถยนต์ เหมือนกันไหม
ภาษีรถยนต์ คืออะไร
ภาษีรถยนต์ คือ สิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยภาษีรถยนต์ที่จ่ายไปนี้ จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมต่อไป ทั้งนี้การเสียภาษีรถยนต์เป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ ดังนั้นเจ้าของรถจึงต้องทำการชำระภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี หากล่าช้าจะถูกปรับได้
ซึ่งการเสียภาษีรถยนต์ในแต่ละปีนั้น เป็นเหมือนการต่อทะเบียนรถยนต์ไปในตัว โดยหลังจากทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์เรียบร้อย จะได้รับป้ายภาษี หรือป้ายวงกลม (ป้ายสี่เหลี่ยม) ที่แสดงวันที่หมดอายุชัดเจน ทำให้หลายคนจึงนิยมเรียกการต่อภาษีรถยนต์ กันว่า ต่อทะเบียนรถยนต์ ไปโดยปริยาย ซึ่งทั้งสองคำนี้ต่างก็มีความหมายไปในทางเดียวกันนั่นเอง
เอกสารที่ใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
- สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
- หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.รถยนต์ ฉบับปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ)
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่มีอายุเกิน 7 ปี
- เอกสารรับรองการติดตั้งแก๊สรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งแก๊สNGV หรือ LPG)
อัตราภาษีรถยนต์
กรมการขนส่งทางบกได้คิดอัตราภาษีรถยนต์ ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ดังนี้
- จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยมีอัตรา ดังนี้
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 50 บาท
- 601 – 1,800 ซีซี ๆ ละ 50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 00 บาท
- จัดเก็บตามน้ำหนัก ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
รถกระบะ รถบรรทุก
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1,000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
รถตู้
- น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
- น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท
อ่านเพิ่มเติม >> ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไร
สถานที่ต่อภาษีรถยนต์
- สำนักงานขนส่งทางบก
- ที่ทำการไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าที่รับต่อภาษีรถยนต์
- เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th (เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี)
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า ภาษีรถยนต์ กับ ต่อทะเบียนรถยนต์ เหมือนกันไหม หากใครที่รู้ตัวว่าภาษีรถยนต์ หรือ ทะเบียนรถยนต์ใกล้หมดอายุแล้วละก็ อย่าลืมรีบไปต่อภาษีรถยนต์กันด่วนๆ โดยสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน หรือ ประมาณ 90 วัน
สนใจสมัครประกันรถยนต์
และสำหรับใครที่ต้องการทำประกันเพื่อเพิ่มความคุ้มครองละก็ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับเว็บไซต์มาสิได้ง่ายๆ หรือหากมีข้อสงสัย สามารถโทร.มาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันภัยโดรน ประกันการเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมไปถึง สินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ