ทุกวันนี้บอกได้เลยว่าเรื่องของสุขภาพร่างกายเป็นอีกหนี่งเรื่องที่เราต้องมี่การใส่ใจดูแลและต้องทำการเอาใจใส่กันมากขึ้นไปทุกวัน ด้วยความที่ทุกวันนี้กระแสข่าวทั้งหลายเริ่มมาแรงเป็นอย่างมากเมื่อได้มีนายแพทย์หนุ่มคนหนึ่งที่ได้มีการดูแลรักษาร่างกายเป็นอย่างดีออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และไม่สูบบุหรี่ กลับตรวจสบกับมะเร็งปอดระยะที่สี่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะที่ลุกลาม เรียกได้ว่าสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่ได้ทราบข่างกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้อย่างข่าวล่าสุดกับสาวคนหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวที่คล้ายกัน ยิ่งสร้างกระแสความตระหนักในเรื่องของสุขภาพของเรามากยิ่งขึ้นไปอีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่ใครหลายคนทราบกันดีว่า บุคคลที่มีภาวะหรือมีปัญหาด้านน้ำหนักตัว มักที่จะเป็นเป้าหมายหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก ๆ ที่มักจะประสบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ง่าย แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่าคนที่ผอมไปก็เช่นกัน แม้เรื่องน้ำตัวจะไม่ใช่ปัญหาแต่เรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็ไม่ได้ยิ่งย่อนหรือน้อยลงไปกว่ากันกันเลยทีเดียว วันนี้ มาสิ จึงไม่พลาดที่จะหยิบยกเอากับเหล่าโรคร้ายที่มักพบได้ในกลุ่มคนที่ผอมหรือไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว ซึ่งจตะมีโรคใดที่น่าสนใจหรือเราต้องมีการจับตาและระมัดระวังบ้างนั้น ว่าแล้วอย่ารอช้า ตาม มาสิ ไปอ่านกัน
ว่าด้วยเรื่องของความ ผอม
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานมักที่จะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งต่าง ๆ ได้ แต่คนผอมก็ใช่ว่าจะสุขภาพดี ห่างไกลโรคภัยเสมอไป เพราะก็ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อตรวจร่างกายอาจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และกระดุกพรุนได้เช่นกัน
ทั้งนี้ เมื่อพูดถึงเรื่องของความอ้วนความผอมเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรานั้นผอมไปหรือไม่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน เกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนได้ ในผู้ใหญ่ชาวเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.90 แสดงว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม
สาตุที่มาของความ ผอม
ผู้มีภาวะ ผอม อาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น
- พันธุกรรม บางคนมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพภายในครอบครัว
- เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูงอาจเป็นสาเหตุของความผอม
- การออกกำลังกายเป็นประจำ นักกีฬาหรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง เช่น นักวิ่ง
- โรคทางกายหรือโรคเรื้อรัง เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
- ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอะนอเร็กเซีย (anorexia) และบูลิเมีย (bulimia)
คนผอมก็เสี่ยงโรค
โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในคนอ้วนเท่านั้น คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่างๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด และอาจไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
ไขมันในเลือดสูง
ไขมันในร่างกายประกอบด้วย ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง ซึ่งมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป และจากที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง ทั้งนี้ โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตันได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต การมีคุณภาพชีวิตลดลง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แม้โรคไขมันในเลือดสูงจะพบมากในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมบางคนก็มีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากคนผอมบางกลุ่มมีพันธุกรรมหรือยีนที่ว่าด้วยเรื่องกินท่าไรก็ไม่อ้วนสักที แต่ร่างกายก็ยังกักเก็บไขมันไว้ในกระแสเลือด หรืออาจเป็นกลุ่มคนผอมที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจพบโดยการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้นตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยหลังหมดประจำเดือน มีความเครียดและวิตกกังวลสูง รวมถึงมาจากพันธุกรรมมากถึง 30-40 % โดยพบว่าผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่ได้เป็นโรค
จะเห็นได้ว่าการมีค่าความดันโลหิตสูงนั้นไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวแต่อย่างใด คนอ้วนหรือผอมก็สามารถตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งการรักษานั้นหากปรับเรื่องการดำเนินชีวิตและอาหารแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาความคุมความดันที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
โรคไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์นั้นช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด โดยในกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือเรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่อร่างกาย
โดยแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ในเพศหญิงอาจประจำเดือนมาผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ รวมถึงภาวะกระดูกบาง เนื่องจากแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มได้อีกด้วย สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดเพื่อการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ไทรอกซีน (Thyroxine -T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine- T3) และแคลซิโทนิน (Calcitonin) รวมถึงการอัลตราซาวนด์ต่อมไทรอยด์
ความหนาแน่นของมวลกระดูก
คนที่น้ำหนักน้อยหรือผอม มักมีความเสี่ยงต่อการมีค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้
โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น จนกระทั่งล้มแล้วกระดูกหัก สาเหตุของโรคมาจากการสูญเสียมวลกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะและหักง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงหกล้มหรือมีแรงกระแทกเบาๆ ไอหรือจาม ก็อาจให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหัก ทำให้พิการหรือทุพพลภาพ และมีคุณภาพชีวิตลดลงได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและควรตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกอยู่เสมอ เช่น ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปี และผู้ที่มีน้ำหนักน้อย คือ มีค่า BMI น้อยกว่า 20
นอกจากนี้ ยังมีโรคต่าง ๆ อีกมากมายที่คนผอม หรือผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องของน้ำตัวตัวที่เกินเกณฑ์ก็สามารถเป็นได้ที่ มาสิ ยังไม่ได้หยิบยกมาฝากกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอื่น ๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นกันได้ทั้งนั้น ดังนั้นแล้ว เราจึงความต้องมีการดูแลรักษา ใส่ใจสุขภาพ ออกกำลัง กินอาหารที่มีประโยชน์และมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้
อยากผอมแบบปลอดโรคต้องทำอย่างไร
ก็อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหน การดูแลใส่ใจ และการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะกรณีพบว่าสุขภาพผิดปกติแต่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ก็จะทำให้เรายังสามารถทำการรักษาได้ทัน นอกจากนี้การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ดังนี้
อาหาร – การดูแลด้านอาหารที่เฉพาะ เพื่อสุขภาพที่ดีและตรงกับเป้าหมายของตัวเองมากที่สุด รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหาร ที่มีประสบการณ์
อิ่มกาย – การดูแลด้านการออกกำลังกายในแบบเฉพาะบุคคล โดยมีการประเมินก่อนการออกกำลังกายโดยแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจและด้านกีฬา มีการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย อาทิเช่น เครื่อง Isokinetic รวมถึงการดูแลต่อเนื่องโดยนักเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อสุขภาพที่ดีแบบยั่งยืน
อิ่มอารมณ์ – การดูแลด้านอารมณ์และจิตใจโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง เพราะเมื่อสุขภาพกายดีแล้ว ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพใจด้วยเช่นกัน
อิ่มนอน – การดูแลด้านการนอนหลับ ซึ่งหากมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือนอนกรน ก็ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมกับปัญหาการนอนหลับที่เผชิญอยู่ได้
และนี่ก็เป็นเพียงอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่วันนี้ มาสิ ได้หยิบยกมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้ และไม่เพียงสาระดีๆ ที่เอามาฝากกัน มาสิ ยังได้ขนเอากับอีกหนึ่งตัวช่วย ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองให้กับการดูแลสุขภาพของเราให้ดียิ่งขึ้นด้วย ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care ) ที่สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี จะเป็นความคุ้มครองในเรื่องใดบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน ( ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาลค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ) และการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical ) สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี
- ค่าห้อง ค่าอาหาร และพยาบาล สูงสุดต่อวัน 12,000 บาท
- ค่าห้องไอซียูสูงสุด 24,000 บาท ( สูงสุด 15 วันต่อปี )
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป สูงสุดถึงครั้งละ 200,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
- ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยนอก สูงสุด 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด รวมถึงค่าปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัด ( ตามตารางผ่าตัด ) สูงสุด 250,000 บาท
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 100,000 บาท
- เบี้ยประกันเริ่มต้น 2,279 บาท
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ
-
รู้หรือไม่!? นั่งนานเกินไปไม่ใช่เรื่องดี ควรลุกเคลื่อนที่ทุก 30 นาที เพื่อหลีกหนี ออฟฟิศซินโดรม
-
masii ชวนทำ! แบบทดสอบตาบอดสี เช็กความเสี่ยง ตาบอดสีหรือไม่ รีบเช็กกันเลย
-
เจอ จ่าย จบ กับ ประกันภัยโรคมะเร็ง ประกันโรคร้ายที่จะให้คุณได้เงินก้อนไว้ใช้
_____________________________________________
Please become Masii Fan !!
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#ประกันสุขภาพ #ประกันโควิด #ประกันไข้เลือดออก #ประกันการเดินทาง
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#เงินสด #เงินก้อน #เงินกู้ทันใจ #เงินด่วน #เงินด่วนทันใจ
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison