กองทุนเลี้ยงชีพ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับมนุษย์ออฟฟิศทุกคน

กองทุนเลี้ยงชีพ
กองทุนเลี้ยงชีพ
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

กองทุนเลี้ยงชีพ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการวางแผนทางการเงินที่ดีของเหล่ามนุษย์เงินดือนทั้งหลายที่มีความน่าสนใจและมีความมั่นคงไม่แพ้กับการลงทุนกองทุนในรูปแบบอื่นก็คือการออมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากจะถามว่ากองทุนนี้มีความน่าสนใจอย่างไรก็คงจะต้องบอกว่ากองทุนนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นกองทุนที่เหมือนกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ที่จะมีการหักเงินออม และจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมให้ เมื่อเราพ้นวาระในการทำงานหรือสิ้นสุดสัญญาของกองทุนนั้น

และสำหรับใครก็ตามที่กำลังมองหาที่หาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปใช้ในการตัดสินใจ หรือใช้สำหรับวางแผนการลงทุน ในวันนี้บทความของเราก็ได้ทำการรวบรวม 5 ข้อที่น่าสนใจของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาบอกกัน ดังต่อไปนี้

เป็นกองทุนที่ย้ายจากกองทุนรัฐ มาเป็นกองทุนเลี้ยงชีพได้

สำหรับใครก็ตามที่เบื่อการทำงานแบบราชการและต้องการย้ายงานมาทำงานเอกชน ก็สามารถโอนเงินจากในกองทุนข้าราชการมาเป็นกองทุนเลี้ยงชีพได้ แถมยังไม่ต้องเสียภาษีในการโอนย้ายอีกด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนที่มีนโยบายหลากหลาย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ และปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบนโยบายของบริษัทเอกชนนั้น ๆ  เช่นพนักงานจะเลือกได้เลว่าจะลงทุนจำนวนเท่าไหร่ ในรูปแบบใด หรือที่เรียกกันว่าระบบ Master Fund นอกจากนี้กองทุนสำรองเลื้ยงชีพยังเป็นกองทุนที่สามารถเก็บเงินสำรองไว้ในกองทุนทั้งในรูแบบเงินลงทุนหรือผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน แต่มีข้อแม้ว่ากองทุนนี้จะสิ้นสุดเมื่อพนักงานสิ้นสุดการทำงานที่บริษัทนั้นนั่นเอง

จะรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เมื่อไหร่

สามารถรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้หลังจากที่ลาออกภายใน 90 วัน และมีสิทธิ์รับเงินสมทบกองทุนเพิ่มเติม หากกบริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินสมทบ

สามารถรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวด ๆ เหมือนบำนาญได้หรือไม่

คำตอบคือ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงพูดคุยกันระหว่างผู้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับนายจ้าง

การสมทบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอัตราเท่าไหร่บ้าง

สำหรับการรับเงินสมทบ(Vesting Clause) จาก เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น  ทางกฎหมายได้มีการกำหนดให้นายจ้างต้องทำการจ่ายเงินผลประโยชน์ในการลงทุนไว้ เช่น

  • หากมีอายุการทำงานน้อยกว่า 1 ปีต้องจ่ายเงินสมทบ0%
  • หากมีอายุการทำงาน 1  ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2 ปี ต้องจ่ายเงินสมทบ20%
  • หากมีอายุการทำงาน  2  ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 3 ปี ต้องจ่ายเงินสมทบ40%
  • หากมีอายุการทำงาน 3  ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 4 ปี ต้องจ่ายเงินสมทบ60%
  • หากมีอายุการทำงาน 4  ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 5 ปี ต้องจ่ายเงินสมทบ80%
  • ตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 100%