ตอบคำถามสุดฮิตในกองทุน ltf/rmf
เมื่อพูดถึงกองทุนรวม คนมักคิดถึง LTF/RMF อยู่เสมอๆ ยิ่งใกล้เดือนตุลาคมก็เตรียมตัวที่จะลงทุนในสองกองทุนนี้ แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่ อาจยังงงๆอยู่ว่ากองทุนนี้คืออะไรกันแน่ และถ้าจะลงทุนบ้างควรเตรียมตัวอย่างไร รวมไปถึงคำถามค้างคาใจ ต่อไปนี้จะเป็นคำตอบที่สามารถเคลียร์ความกระจ่างให้ได้อย่างดี
ตอบคำถามสุดฮิตในกองทุน ltf/rmf
กองทุน LTF-RMF คืออะไร?
ตอบ กองทุน LTF คือ กองทุนที่ใช้เพื่อสนับสนุนการลงทุนในตลาดทุนแบบระยะยาว ซึ่งจะมีการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ดังนั้นพูดกันตรงๆกองทุนรวม LTF ก็ถือว่าเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง
พอสมควร ส่วนกองทุน RMF คือ กองทุนที่ช่วยออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน
ซื้อกองทุน LTF หรือ RMF แบบใหนก่อนดี ?
ส่วนใหญ่คนมักเลือกลงทุนกับกองทุน LTF ก่อนเสมอ เนื่องจากใช้ระยะเวลาสั้นกว่า แถมไม่ต้องซื้อกองทุนติดต่อกันทุกปี เหมือนกับ RMF...
gdp คืออะไร?
เมื่อเปิดทีวีดูข่าวเศรษฐกิจ หรือข่าวเศรษฐกิจในหน้าหนังสือพิมพ์เรามักเจอคำว่า GDP อยู่เสมอ หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่าคำนี้คืออะไรกันแน่ แล้วมันมีความสำคัญอย่างไร มันเกี่ยวพันกับเราไหม ทำไมจึงต้องพูดถึงกันบ่อยๆ วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจ GDP คืออะไร? กันดีกว่าไหม เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเราบ้าง
gdp คืออะไร?
GDP คืออะไร?
GDP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ย่อมาจาก Gross Domestic Product ที่หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศช่วงเวลาหนึ่ง ๆโดยไม่คำนึงว่าจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของประเทศใด ซึ่งคำนี้คิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย โดย GDP นี้สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ ได้ และหากจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีก GDP จะเป็นสินทรัพย์ในประเทศทั้งหมดในปีนั้น (สินค้า เครื่องจักรบ้าน อสังหาริมทรัพย์)...
3 วิธี ออมเงินแต่งงาน ที่คู่รักควรทำ
มาคราวนี้จะมาขอพูดถึงเรื่องการออมเงินเพื่อนำไปใช้ในการแต่งงานบ้าง เพราะเรามักจะเห็นคู่รักที่มาตั้งกระทู้พันทิปกันอยู่บ่อย ๆ ว่ามีปัญหากับเรื่องการเก็บเงินแต่งงาน หรือมีปัญหาเรื่องเงินสินสอด เป็นต้น เมื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ก็มีปัญหาทางด้านการเงินกันแล้ว แล้วอนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นมาดูกันว่า หากต้องการแต่งงานแบบไร้ปัญหาเรื่องการเงิน ต้องทำอย่างไรกันบ้าง
3 วิธี ออมเงินแต่งงาน ที่คู่รักควรทำ
1. ใช้มาตรการรัดเข็มขัด
มาตรการนี้ จะใช้คนใดคนหนึ่ง หรือจะใช้เป็นคู่ก็ยิ่งดีมากขึ้น เพราะการแต่งงาน มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องในจำนวนค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นจึงควรคุยกันให้เป็นกิจจะลักษณะว่า ในช่วง 1-6-12 เดือนนี้ จะใช้เงินกับเรื่องอะไร และไม่ใช้เงินกับเรื่องอะไรบ้าง และถ้าอยากได้จริง ๆ ก็ให้ลองหาเงินพิเศษด้วยตัวเองดู นอกเหนือการการใช้เงินที่จะนำไปเก็บออม เพราะเมื่อถึงเวลานั้น อาจจะรู้สึกเสียดายเงินจนไม่กล้าเอาไปใช้ก็ได้ นับว่าเป็นวิธีที่ดีพอสมควรเลย
2. สร้างบัญชีเงินออมเป็นของตัวเอง
ถึงแม้ว่าหัวข้อจะบอกว่าสร้างเป็นของตัวเอง แต่อาจจะมีการตั้งกฎกันเล็ก...
ลดหย่อนภาษีปี 2560 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
อีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู่ช่วงสิ้นปีแล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงที่วุ่นวายพอสมควรสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ต้องหามาตรการมาลดหย่อนภาษี ที่เกิดจากการ "เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" ยิ่งใครมีรายได้สูง ๆ ฐานภาษีก็ต้องสูงเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นอะไรที่สามารถลดหย่อนปี 2560 ได้บ้าง ก็ต้องเอามาใช้ให้มากที่สุด ซึ่งเราได้รวบรวมมาไว้ที่นี่แล้ว
ลดหย่อนภาษีปี 2560 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง
1. การชำระเบี้ยประกันภัย
รู้หรือไม่ว่าการทำประกันภัยนั้น ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่กรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องมีระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้นประกันชีวิตประเภทนี้จึงเป็นประกันแบบออมทรัพย์หรือบำนาญนั่นเอง โดยมีกำหนดไว้ว่า สามารถลดหย่อนได้ตามฐานภาษี แต่ต้องไม่เกิน 90,000 ขึ้นไป ก็นับว่าคุ้มพอสมควร เพราะนอกจากจะลดหย่อนได้แล้ว ยังสามารถเก็บไว้รอผลประโยชน์ระยะยาวได้อีก
2. การออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การออมเงินผ่านกองทุนนี้ มีข้อบังคับว่าออมได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี เพราะฉะนั้นจึงสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่ได้ออมเงินไปจริง แต่ไม่เกิน...
10 ขั้นตอนการยื่นภาษี 2561 ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
การยื่นภาษี ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนชาวไทยทุกคนจะต้องเสียภาษีให้กับภาครัฐด้วยการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) โดยเงินภาษีที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับภาครัฐนั้นจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
10 ขั้นตอนการยื่นภาษี 2561 ผ่านออนไลน์ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
ส่วนการยื่นภาษีในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากด้วยการยื่นภาษี 2561 ผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบของแบบยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
แบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
แบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนยื่นภาษี...
3 แนวทาง หาเงินใช้หนี้
คงจะเป็นปัญหาที่ยิ่งกว่าโลกแตก สำหรับคนที่มีบัญชีติดลบ และจะต้องหาเงินใช้หนี้ในแต่ละงวดที่จะมาถึง บางคนก็น่าเห็นใจเพราะมีรายได้ไม่พอไปเลี้ยงครอบครัว บางครั้งก็อาจจะมีกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน หรือเงินเร่งด่วน จนต้องหยิบยืมคนรอบข้างมาก่อนจนเป็นหนี้ วันนี้ masii เลยขอแนะนำ 3 แนวทางใช้หนี้ที่สามารถทำได้จริง มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้าง
3 แนวทาง หาเงินใช้หนี้
1. หาเงิน
เป็นหนี้ ก็ต้องหาเงินใช้หนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว แต่บอกก่อนว่าการหาเงินก็ไม่ได้หมายถึงการไปยืมคนอื่นมาใช้หนี้อีกที เพราะอันนี้เรียกว่าหมุนเงินมากกว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้วิธีนี้จริง ๆ ก็ควรใช้ตอนมีเหตุสำคัญ ๆ จะดีกว่า
ถ้าเงินเดือนไม่พอที่จะเอามาใช้หนี้ ก็ให้ลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายดู จะได้เห็นว่าส่วนไหนควรประหยัดได้บ้าง แต่ถ้ายังไม่พออีก ก็ขอแนะนำให้ลองทำอาชีพเสริมในส่วนที่ตัวเองถนัด เช่น การค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ...
ทำประกันแบบใดถึงจะสามารถใช้ในการหักภาษีได้
เรื่องของการลงทุนในระยะยาวนั้นเป็นแนวทางที่ทางด้านของรัฐบาลพยายามที่จะทำการส่งเสริมแก่ประชาชนเสมอ เนื่องจาก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จะเป็นหลักประกันให้กับทางผู้ออมในภายภาคหน้า การที่คนเรานั้นมีปริมาณเงินออมอยู่ภายในระบบจำนวนมากจะเป็นการช่วยทำให้ส่วนของระบบเชิงองค์รวมของประเทศจะยังคงมีฐานเงินออมซึ่งนั่นจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับเรื่องของการลงทุนภายในภาคเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องหันไปพึ่งพาการกู้เงินจากทางทางต่างประเทศอีกต่อไป
ทำประกันแบบใดถึงจะสามารถใช้ในการหักภาษีได้
สำหรับเรื่องของการส่งเสริมเกี่ยวกับการออมนั้นสิ่งหนึ่งที่ทางรัฐบาลได้นำมาใช้ในการสนับสนุนหรือใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวผู้ออมก็คือ “มาตรการเกี่ยวกับเรื่องของภาษี” คุณทราบหรือไม่ว่าการทำประกันนั้นสามารถใช้ในการนำมาหักลดหย่อนภาษีได้แล้วการประกันลดหย่อนภาษีนั้นสามารถทำได้อย่างไร?
สำหรับกรณีค่าเบี้ยประกันชีวิตอันเป็นส่วนของตัวผู้ที่มีเงินได้ ส่วนนี้ทางผู้ออมเงินสามารถนำมาใช้ในการหักลดหย่อนได้ในลักษณะเท่าที่จ่ายไปตามเป็นจริงแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่เกินไปกว่า 100,000 บาท สำหรับเงื่อนไข อาทิเช่น จะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ได้มีการกำหนดเอาไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป, ค่าเบี้ยประกันที่มีจะต้องไม่เป็นเงินที่มีการรวมค่าเบี้ยประกันอย่างอื่นอันเป็นของสัญญาใด ๆ เพิ่มเติมและกรณีนี้จะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ต้องมีผลประโยชน์ที่เป็นส่วนของผลตอบแทนคืนโดยผลตอบแทนเหล่านี้จะต้องเป็นเงินที่ไม่เกิน 20 % ของตัวเบี้ยประกันชีวิตแบบรายปีหรือตัวเบี้ยประกันสะสม
สำหรับกรณีค่าเบี้ยประกันที่เป็นส่วนของประกันสุขภาพบุคคลอันเป็นบิดาและมารดา ส่วนนี้ทางผู้ออมสามารถนำมาใช้ในการหักลดหย่อนได้ในลักษณะเท่าที่จ่ายไปตามเป็นจริงแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องไม่เกินไปกว่า 15,000 บาท สำหรับเงื่อนไข อาทิเช่น ผู้มีเงินได้นั้นจะต้องเป็นบุตรตามกฎหมายของบุคคลอันเป็นบิดามารดา, ตัวของบิดาและมารดานั้นจะต้องมีเงินได้ที่ไม่เกินไปกว่า 30000 บาท ฯลฯ
สำหรับกรณีค่าเบี้ยประกันในรูปแบบของส่วนบำนาญของตัวบุคคลอันเป็นผู้มีเงินได้...
เงินเฟ้อ ส่งผลต่อคุณอย่างไร?
หากจะพูดกันตรงๆเศรษฐกิจไทยปี 2017 เหมือนจะมีอาการเป็นไข้โดยเฉพาะประชาชนระดับรากหญ้า ข้าวของแพงแต่สินค้าเกษตรถูกมาก จนทำให้คนเหล่านี้ไม่มีแรงซื้อจึงทำให้แม้ค้าต่างย่ำแย่ไปตามๆกัน นี่ยังไม่นับรวมปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังหวั่นๆอยู่อีก สำหรับใครที่กำลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจแต่ยังไม่รู้จักปัญหาเงินเฟ้อ วันนี้เรามีรายละเอียดมาฝากกัน
เงินเฟ้อ ส่งผลต่อคุณอย่างไร?
ที่มาของ “เงินเฟ้อ”
ปัญหาเงินเฟ้อมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่
ต้นทุนสินค้าเพิ่ม
ในสถานการณ์ที่ต้นทุนสินค้าเพิ่ม อันมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น วิกฤตทางธรรมชาติ หรือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน แบบนี้ผู้ผลิตก็ต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มตาม เพราะต้นทุนการผลิตคือสิ่งที่ใช้พิจารณาการกำหนดราคาสินค้าและการบริการ และเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆก็ต้องซื้อสินค้าแพงตามนั่นเอง
ความต้องการสินค้าเพิ่มแต่ปริมาณไม่เพียงพอ
เมื่อสินค้ามีไม่เพียงพอกับความต้องการ ของขาดแคลน ราคาก็จะปรับตัวขึ้นแน่นอน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การดำเนินนโยบายของรัฐบาล หรือการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน...
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
ภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือภาษีเราที่เก็บจากลูกค้า เมื่อมีลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือบริการจากเรา ซึ่งเราก็จะบวกภาษีมูลค่าเพิ่มลงในราคาสินค้าหรือบริการที่ขายให้แก่ลูกค้านั่นแหละ หรือสามารถพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ว่า ผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตัวจริงนั้นก็คือลูกค้านั่นเอง การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ในปัจจุบันมีอัตรา 7 % ซึ่งในบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียน เพราะว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนไป เนื่องจากถ้าผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปอยู่ที่ผู้บริโภคแทน โดยนิติบุคคลหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท ต่อปี จะจดหรือไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่ถ้าหากเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่อย่างนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี ผู้ที่ผ่านการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะสามารถออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้าได้
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
สำหรับหลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ดังต่อไปนี้
นิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)
สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ระยะเวลาไม่เกิน 1...
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 มีโครงสร้างอย่างไร?
หลาย ๆ คนคงจะยิ้มไม่หุบกันเลยทีเดียว เมื่อได้รับทราบว่ากรมสรรพากร ได้เสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 โดยยินยอมให้หักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ถึง 100,000 บาท และผู้ที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท/เดือน ไม่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 มีโครงสร้างอย่างไร?
แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าภาษี คืออะไร ? นั้น มีคำอธิบายดังนี้
ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บเอาจากประชาชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ส่วนรวมโดยที่ผู้เสียภาษีไม่ได้รับสิ่งตอบแทนโดยตรงหรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ภาษีก็คือเงินที่รัฐบาลเรียกเก็บจากเอกชน เพื่อที่รัฐบาลจะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายรายได้กลับคืนสู่ประชาชน เพื่อชำระหนี้สินของรัฐบาล เพื่อดำเนินการทางธุรกิจของรัฐบาล และเพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน
ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด...