ทุกวันนี้บอกได้เลยว่าเรื่องของสุขภาพร่างกายเป็นอีกหนี่งเรื่องที่เราต้องมีการใส่ใจดูแลและต้องทำการเอาใจใส่กันมากขึ้นไปทุกวัน ด้วยความที่ทุกวันนี้กระแสข่าวทั้งหลายเริ่มมาแรงเป็นอย่างมาก เมื่อได้มีนายแพทย์หนุ่มคนหนึ่งที่ได้มีการดูแลรักษาร่างกายเป็นอย่างดีออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และไม่สูบบุหรี่ กลับตรวจสบกับมะเร็งปอดระยะที่สี่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะที่ลุกลาม ซึ่งสร้างความตระหนักให้กับผู้ที่ได้ทราบข่างกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้อย่างข่าวล่าสุดกับสาวคนหนึ่งที่ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราวที่คล้ายกัน ยิ่งสร้างกระแสความตระหนักในเรื่องของสุขภาพของเรามาก ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และพิการในคนไทย นั่นก็คือ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” ซึ่งมี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง แต่แม้ว่า โรคหลอดหัวใจและหลอดเลือด จะมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยดังกล่าว แต่เรื่องของไขมันในเลือดสูงกลับไม่ได้รับความใส่ใจมากเท่าสองปัจจัยอื่น แต่ตัวมันเองนั้นกลับอันตรายกว่าอีกสองปัจจัยที่เหลือด้วยซ้ำ ดังนั้น วันนี้ มาสิ จึงอยากที่จะเชิญชวนทุกคนไปรู้จัก ภาวะ ไขมันในเลือดสูง ปัจจัยเสี่ยงอันดับต้นที่นำปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ว่าแล้วอย่ารอช้า ตาม มาสิ ไปอ่านกัน
โรคหัวใจ และหลอดเลือด
จากเอกสารนำเสนอข้อมูล “การปรับภูมิทัศน์นโยบายการเข้าถึงการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดในประเทศไทย” ซึ่งจัดทำโดย บุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่าตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา “โรคหัวใจและหลอดเลือด” เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และพิการในประเทศไทย โดยประเทศไทยมีประชากรที่ป่วยเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือดสูง ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบจำนวนผู้ป่วย 8.4 รายต่อประชากร 100 คน ซึ่งมี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะ ไขมันเลือดสูง
แม้ทั้ง 3 สาเหตุ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และภาวะ ไขมันในเลือดสูง จะมีโอกาสทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากพอกัน แต่คนไทยกับให้ความสำคัญกับภาวะไขมันในเลือดสูงน้อยกว่าที่ควร เพราะเชื่อว่าหากตรวจพบ LDL-C (Low Density Lipoprotein Cholesterol) หรือไขมันชนิดไม่ดีสูง สามารถแก้ไขได้ด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย ทำให้ละเลยการพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
โดยภาวะไขมันในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ในระยะแรก คนส่วนมากมักไม่รู้ว่าตัวเองมีระดับไขมันในเลือดสูง เพราะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่หากในร่างกายที่มีคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน ต่อมาอาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจมีความดันโลหิตสูงขึ้น นอกจากนี้ การสะสมของไขมันในหลอดเลือดอาจทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันที่หัวใจ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหากเกิดขึ้นบริเวณสมองก็อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
สาเหตุของไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดสูงเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
พฤติกรรมการใช้ชีวิต
การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุหลักที่เพิ่มโอกาสในการเกิดไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะเรื่องของอาหารการกินที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ หรือคารโบไฮเดรตสูงเกินไป เช่น อาหารประเภทชีส ไข่แดง อาหารประเภททอดหรือผ่านกระบวนการแปรรูป เป็นต้น อีกทั้ง เรื่องของการไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รวมทั้งการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
นอกเหนือจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยังพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดไขมันในเลือดได้มากขึ้น ได้แก่
- อายุ โดยระดับของคอเลสเตอรอลมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น
- กรรมพันธุ์ โรคไขมันในเลือดสูงอาจมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Familial Hypercholesterolemia) ส่งผลให้บุคคลนั้นมีความผิดปกติในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็งหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้แม้ผู้ป่วยจะมีอายุน้อย
- มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไตภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid) ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของไขมันในเลือดสูง
ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงอาจทำให้ไขมันไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือดแดงจนเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งขึ้น ซึ่งไขมันที่เกาะตัวอยู่จะทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดแดงได้น้อยลงและทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น
- เจ็บหน้าอก หากหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดดีไปเลี้ยงร่างกายได้รับผลกระทบ ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกหรือมีอาการอื่นที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack) เมื่อไขมันที่สะสมอยู่แตกออก เกิดเป็นลิ่มเลือดปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
- โรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นได้จากการที่ลิ่มเลือดอุดตันการไหลเวียนของเลือดในสมอง
วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม
หลักการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จะคำนึงถึงการลดปัจจัยเสี่ยงที่มี ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา
- หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์
- เน้นการบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ได้อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ละครั้งประมาณ 40 นาทีขึ้นไป
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แต่ในบางรายอาจต้องใช้ยาควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
ขอขอบคุณ : โรงพยาบาลพญาไท , โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ กรุงเทพธุรกิจ
และนี่ก็เป็นเพียงอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่วันนี้ มาสิ ได้หยิบยกมาฝากกัน อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้ และไม่เพียงสาระดีๆ ที่เอามาฝากกัน มาสิ ยังได้ขนเอากับอีกหนึ่งตัวช่วย ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความคุ้มครองให้กับการดูแลสุขภาพของเราให้ดียิ่งขึ้นด้วย ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care ) ที่สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี จะเป็นความคุ้มครองในเรื่องใดบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน ( ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาลค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ) และการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical ) สามารถเลือกแผนความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 1,000,000 และ 5,000,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี
- ค่าห้อง ค่าอาหาร และพยาบาล สูงสุดต่อวัน 12,000 บาท
- ค่าห้องไอซียูสูงสุด 24,000 บาท ( สูงสุด 15 วันต่อปี )
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป สูงสุดถึงครั้งละ 200,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
- ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยนอก สูงสุด 25,000 บาท
- ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด รวมถึงค่าปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัด ( ตามตารางผ่าตัด ) สูงสุด 250,000 บาท
- ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 100,000 บาท
- เบี้ยประกันเริ่มต้น 2,279 บาท
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ
-
ผอม ไปใช่ว่า…คนผอมก็เสี่ยงเป็นโรคได้ รวมโรคยอดฮิตที่เหล่าคนพร้อมมักเป็นได้
-
จัดอันดับน้ำมันเพื่อสุขภาพ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้าย… น้ำมันพืช อะไรดีที่สุด?
-
รู้หรือไม่!? ดื่ม น้ำ น้อยเกินไปพาเสี่ยงโรคได้…เลือดแห้ง สมองเสื่อม น่ากลัวไปไหม
_____________________________________________
Please become Masii Fan !!
Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand/
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#ประกันสุขภาพ #ประกันโควิด #ประกันไข้เลือดออก #ประกันการเดินทาง
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#เงินสด #เงินก้อน #เงินกู้ทันใจ #เงินด่วน #เงินด่วนทันใจ
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison