ประเทศไทยถือเป็นอีก1ประเทศที่ติดอันดับต้นๆสำหรับการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับซึ่งทางรัฐเองก็มีกฏหมายข้อบังคับต่างออกมาเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตเหล่านี้ แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก จากสถิติ การเกิดอุบัติเหตที่สาเหตุมาจากการเมาแล้วขับยังเพิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 60 รัฐมนตรีได้อนุมัติ พ.ร.บ. จราจรฉบับใหม่มาเป็นที่เรียบร้อยและเพิ่มบทลงโทษสำหรับกรณีเมาแล้วขับ จากเดิม จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000บาทถึง 20,000บาท เป็นอัตราบทลงโทษใหม่ จำคุกไม่เกิน 1ปี ปรับขั้นต่ำ 10,000 ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต จนถึงการยึดรถที่ใช้ไม่เกิน 7 วัน
นอกจากบทลงโทษของผู้ที่เมาแล้วขับแล้ว หากเกิดเหตุจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ยังมีโทษ จำคุก 1-5 ปี ปรับ 20,000 – 100,000บาท และ พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า1ปี หรือถุกเพิกถอนไปเลย.
และหากเมาแล้วขับจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส. จะมีโทษเพิ่มขึ้นเป็น จำคุก 2-6ปี ปรับ40,000-120,000 บาท พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า2ปี หรือเพิกถอน แต่หากผู้นั้นถึงแก่ความตาย โทษจะเปลี่ยนเป้น จำคุก 3-10ปี ปรับ 60,000-200,000บาท รวมทั้งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ฉะนั้น Masii ว่าหากเรารู้ตัวว่าจัต้องขับขี่เดินทางก็ไม่ควรหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จะดีที่สุดครับ เพราะตามกฏหมายแล้ว หากเรามีแอลกอฮอล์ เกิน 50 มิลลรัมเปอร์เซ็น ในร่างหารหากถูก เรียกเพื่อขอตรวจวัดแล้วพบค่าเกิน ก็ถือว่ามีความผิดได้แล้ว
หลายท่านอาจสงสัยว่าปริมาณ 50 มิลลรัมเปอร์เซ็น จะเท่ากับเท่าไรหรือสังเกตได้หรือไม่. ค่า 50 มิลลรัมเปอร์เซ็น ที่เกิดขึ้นจากการดื่มในร่างกาย เทียบได้เท่ากับ
บียร์ 1 กระป๋อง = แอลกอฮอล์ 330 มิลลิกรัม
ไวน์ 1 แก้ว = 100 มิลลิกรัม
เหล้า 3 ฝา = 30 มิลลิกรัม
1 ดื่มมาตรฐาน = เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประมาณ 10 กรัม
1 ดื่มมาตรฐาน = 1 ชั่วโมงขับออก
รู้แบบนี้แล้ว นักดื่มทั้งหลายก็ควรมีสติในการดื่มแต่ทางที่ดีแล้ว หากดื่มก็ไม่ควรขับขี่จะดีที่สุดอาจใช้บริการแท๊กซี่หรือ หาที่พักนอนพักให้ร่างกายกลับมาปกติก่อนจะดีที่สุดปลอดภัยท้ังตัวเองและเพื่อร่วมเดินทางบนท้องถนนอีกด้วย