ลดราคา …ใช่จะลดรายจ่าย?!?

ลดราคา ...ใช่จะลดรายจ่าย?!?
ลดราคา ...ใช่จะลดรายจ่าย?!?
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

 

“มายา บาร์-ฮิลเลล เพื่อนของผม กำลังจะไปซื้อผ้าห่มสำหรับเตียงคู่ เธอไปที่ร้านและเจอแบบที่เธอชอบซึ่งกำลังลดราคา ราคาปกติสำหรับขนาดคิงไซส์อยู่ที่ 300 ดอลลาร์ ขนาดควีนไซส์อยู่ที่ 250 ดอลลาร์ และขนาดเตียงคู่อยู่ที่ 200 ดอลลาร์ แต่ในสัปดาห์นี้ ผ้าห่มทุกขนาด ลดราคา เหลือเพียงผืนละ 150 ดอลลาร์ สุดท้ายมายาก็ห้ามใจไม่ได้ และเธอก็ได้ผ้าห่มคิงไซส์ติดมือกลับบ้าน”

ลดราคา …ใช่จะลดรายจ่าย?!?

ริชาร์ด เธอเลอร์ (Richard Thaler) เล่าเรื่องของเพื่อนคนนี้ไว้ในหนังสือเรื่อง เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Misbehaving) ไม่บอกก็คงรู้ว่าท้ายที่สุดมายาก็ต้องโยนผ้าห่มคิงไซส์นั้นไว้ในห้องเก็บของเพราะขนาดไม่พอดีกับเตียง ก่อนที่จะต้องเสียทั้งเงินและเสียทั้งเวลาไปซื้อผ้าห่มผืนใหม่มาใช้กับเตียงคู่ที่มี

หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ตอนนี้ก็คงเคยมีประสบการณ์ทำนองนี้มากับตัวบ้าง ทั้งเสื้อผ้าลดราคาพิเศษที่ซื้อมาแต่ไม่เคยใส่ ทั้งรองเท้าราคาป้ายแพงหู่ฉี่ที่ตอนลองก็ใส่ไม่สบาย แต่ก็ซื้อมาเพราะมันลดราคา ใส่เท่าไรก็ยังกัดเท้า จนทนไม่ไหวต้องเก็บใส่กล่อง สมองเล่นตลกอะไรกับเรากันแน่? ไฉน “ลดราคา” กลับทำเราเสียเงินไปเปล่าๆ บ่อยเหลือเกิน?

เหตุที่เป็นดังนี้ก็เพราะมนุษย์ปุถุชนอย่างเราๆ ไม่ได้รับความพึงพอใจจากการใช้สินค้าอย่างเดียว แต่ยังได้รับความพึงพอใจกับการได้ซื้อสินค้าใน “ราคาพิเศษ” เองด้วย ยิ่งเราซื้อได้ในราคาถูกกว่าราคาปกติเท่าไร เราก็จะสุขยิ่งเท่านั้น (ถ้าเอาไปโม้ให้เพื่อนฟังได้ก็คงจะยิ่งสุขขึ้นไปอีก LOL) นี่เองที่จุดชนวนให้การโหยความสุขของเราพาเราไปซื้อสิ่งที่เราไม่เคยต้องการ บางครั้งพอกลับถึงบ้านอาจถามตัวเองด้วยซ้ำว่า “ฉันซื้อเสื้อลายนี้มาได้ยังไง?!”

เพื่อแก้ปัญหานี้ 

– ปกติผมจะมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เอาไว้ทบทวนตัวเองทุกครั้งก่อนจะซื้อของลดราคาด้วยความพลั้งเผลอและขาดสติ วันนี้เลยมาลองแชร์ดูเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย

  1. ให้ลองสะกดจิตตัวเองซะว่า “ราคาพิเศษ” นั้นเป็น “ราคาปกติ” แล้วถามตัวเองดูอีกครั้งว่ายังจะซื้ออยู่ไหม (อันที่จริงสินค้าบางอย่างขายราคาพิเศษจนเป็นราคาปกติด้วยซ้ำ LOL)
  1. ซูเปอร์มาร์เกตชอบลดราคาของที่กำลังจะหมดอายุ บางครั้งถึงขั้น 1 แถม 1 จุดนี้ต้องระวังให้ดี ดูวันหมดอายุด้วย และอย่าซื้อไปมากเกินจนกินไม่ทัน จะเสียเงินฟรีมากกว่าจะประหยัดเงินนะจ๊ะ (นี่เป็นมาก่อน ฮืออ~)
  1. พวกโภคภัณฑ์ 1 แถม 1 หรือ ลด 50% นี่ เห็นแล้วอย่าจิตเตลิดโกยมาทั้งเชลฟ์ ใช้แล้วไม่ถูกใจจะเสียดายกันเปล่าๆ นะ ทางที่ดีซื้อมาแค่ 1 ขวด (ได้แถมอีก 1 ขวด) ก่อนก็พอ ยิ่งถ้าขวดใหญ่ก็ใช้ได้นานมากแล้ว เดี๋ยวอีกไม่นานก็มียี่ห้ออื่นลดแบบเดี๋ยวกันเชื่อสิ แต่ถ้าเป็นของที่ใช้ประจำลดราคา คิดจะเหมาไหมก็สุดแต่ใจปรารถนาเลย

วันนี้ขอพักไว้ที่ 3 ข้อก่อน คราวหน้าถ้ามีเคล็ดลับการประหยัดเงินอะไร จะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมนะ 😀

จากเรื่องที่ masii เล่าให้ฟังในวันนี้ก็จะแสดงให้เห็นว่า การซื้อของลดราคาในบางครั้งก็ไม่ได้เป็นการลดค่าใช้จ่าย หากไม่คิดให้ดีพอ จึงอยากแนะนำให้ลองเปรียบเทียบให้ดีก่อนการซื้อของในแต่ละครั้ง ซึ่งอาจจะเริ่มจากลองเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่เราใช้อยู่ว่าราคาแพงไปไหม ซึ่ง masii สามารถช่วยให้เปรียบเทียบได้ภายในไม่ถึง 1 นาที เพียงแค่เข้ามาที่เว็บไซด์ masii.com แล้วคุณก็จะรู้ว่าการเปรียบเทียบเป็นเรื่องง่ายๆ  ***

อ้างอิง

ริชาร์ด เธเลอร์. เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ที่มองคนไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ. แปลโดย ศรพล ตุลยะเสถียร และ พิมพัชรา กุศลวิทิตกุล. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส, 2559.