ตามกฎหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ซึ่งเปรียบเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับที่ผู้ขับขี่รถทุกคนต้องทำ เพื่อคุ้มครองผู้ประสบภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์จนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพ.ร.บ.จะคุ้มครองทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคนเดินเท้า ทั้งนี้ พ.ร.บ. รถยนต์จะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปี เท่านั้น เมื่อ พ.ร.บ. หมดอายุ เจ้าของรถก็ต้องทำการต่อ พ.ร.บ. ไม่เช่นนั้นจะมีโทษทางกฎหมายคือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้สามารถทำการซื้อ พ.ร.บ. หรือ ต่อ พ.ร.บ. ได้จากตัวแทนนายหน้า หรือบริษัทขายประกันรถยนต์ รวมไปถึงยังสามารถ ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้อีกด้วย
รวมค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์ ทุกประเภท
และหากพูดถึงอัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ. รถยนต์ สำหรับการประกันภัยรถยนต์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้กำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว โดยแยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ ดังนี้
ประเภทรถยนต์ และขนาดเครื่องยนต์ | อัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ |
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) | 600 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) | 1,100 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) | 900 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน | 1,220 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน | 1,310 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 12 ตัน | 1,700 |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน | 1,680 |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน | 2,320 |
หัวรถลากจูง | 2,370 |
รถพ่วง | 600 |
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร | 90 |
จะเห็นได้ว่าค่าเบี้ย พ.ร.บ. แต่ละประเภทนั้นมีราคาที่ไม่สูงมากจนเกินไป หากแลกกับความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นคนขับ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ เช่น คนเดินเท้า เป็นต้น ซึ่งความคุ้มครองหลักๆ ของ พ.ร.บ. รถยนต์ คือ การให้เงินชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ทุกฝ่าย เป็นเงินค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) รวมไปถึงค่าชดเชยแก่ผู้ประสบภัยในกรณีที่สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร (พิการ) หรือเสียชีวิต และค่าชดเชยความรับผิดต่อผู้ประสบภัย (ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายถูก) โดยจะได้วงเงินคุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง 5,000,000 บาทต่อ 1 ครั้งที่ประสบอุบัติเหตุ สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง (รถเก๋ง) และวงเงินคุ้มครองสูงสุด 10,000,000 บาท สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง หรือรถยนต์โดยสาร
สนใจสมัครประกันภัยรถยนต์
ทั้งนี้หากเราซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์กับตัวแทนประกันต่างๆ ก็อาจมีส่วนลดราคาค่าเบี้ย พ.ร.บ.รถยนต์ ถูกกว่าที่กฎหมายกำหนด ส่วนราคาจะลดมากหรือลดน้อยก็แล้วแต่ละบริษัทค่ะ ซึ่งหากใครที่สนใจซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ในราคาพิเศษ รวมไปถึงทำประกันภัยรถยนต์กับมาสิละก็ สามารถติดต่อได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ด้วยนะ) เพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมค่ะ