พ.ร.บ. รถยนต์ เปรียบเสมือนการทำประกันภัยภาคบังคับ ที่ช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในกรณีที่รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ แต่ถ้ารถยนต์ไม่มี พ.ร.บ. หรือ พ.ร.บ.หมดอายุ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือ บุคคลภายนอก จะยังสามารถเบิกค่าเสียหายในกรณีใดได้บ้าง เราไปหาคำตอบพร้อมกับ masii กันเลย
รถไม่มี พ.ร.บ. สามารถเบิกค่าเสียหายได้ในกรณีใดบ้าง
กรณีที่รถไม่มี พ.ร.บ.เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ขับรถชนต้นไม้หรือเสาไฟฟ้า จนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือ รถของคู่กรณีก็ไม่มี พ.ร.บ. ด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยได้ แต่อย่างไรก็ตามได้มีข้อยกเว้น ที่ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย โดยมีเงื่อนไขตามกรณีต่อไปนี้
1. เจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือจ่ายไม่ครบจำนวน
ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ แล้วคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด แต่เจ้าของรถนั้นมิได้จัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อผู้ประสบภัยจากรถ หรือพูดง่ายๆ ว่า ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์ ด้วยกันทั้งคู่ และเจ้าของรถที่เป็นฝ่ายผิดก็ไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
2. รถยนต์คันเกิดเหตุไม่ได้อยู่ในครอบครองของเจ้าของรถ เพราะถูกขโมยมา
ขณะเกิดเหตุ รถยนต์ของคู่กรณีนั้นมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถ เพราะรถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และเจ้าของรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
3. รถยนต์คันเกิดเหตุไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถ
รถยนต์คันที่เกิดอุบัติเหตุไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่เกิดความเสียหาย และรถนั้นไม่มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ (ไม่มี พ.ร.บ.รถยนต์)
4. ชนแล้วหนี
ในกรณีที่ผู้ประสบภัยถูกชนแล้วหนี และรถยนต์คู่กรณีขับขี่หนีไป หรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
5. บริษัทประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น หรือจ่ายไม่ครบจำนวน
บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถที่เกิดความเสียหาย ไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
6. รถยนต์คู่กรณีคันที่เกิดเหตุเป็นรถยกเว้น
ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามที่ได้กำหนดยกเว้นไว้ใน พ.ร.บ. เช่น รถของหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นต้น
7. เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นกับกองทุนทดแทนฯ แต่ต้องจ่ายเงินคืนพร้อมเงินเพิ่ม 20%
ในอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี แม้ว่าผู้ประสบภัยจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทประกันภัยได้ แต่ก็สามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการเยียวยาผู้ประสบภัยภัยจากรถให้สามารถได้รับการรักษาพยาบาลหรือได้รับเงินชดเชยกรณีทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต แต่เมื่อกองทุนฯ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จะไล่เบี้ยเรียกคืนเงินที่จ่ายไปพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 จากเจ้าของรถหรือทายาทโดยธรรม
สำหรับกรณีข้อ 1- 6 เมื่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแล้ว นายทะเบียนจะสามารถเรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปคืนจากผู้กระทำละเมิด คือ เจ้าของรถคู่กรณีหรือบริษัท แล้วแต่กรณี รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ของค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนส่งเข้าสมทบกองทุนอีกต่างหาก
เว้นแต่กรณีที่ความเสียหายเกิดแก่ผู้ประสบภัยเพราะเหตุชนแล้วหนี และเจ้าของรถหรือบริษัทไม่ทราบถึงเหตุนั้นโดยสุจริต หรือเจ้าของรถที่กรมธรรม์ พ.ร.บ.หมดอายุ แต่ยังไม่เกิน 30 วัน โดยเจ้าของรถไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการทำประกันภัย หรือในกรณีอื่นที่คปภ.กำหนด ซึ่งนายทะเบียนอาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
การเรียกร้องจากกองทุนฯ ต้องเรียกร้องภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น หากเกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจะเป็นค่าสินไหมทดแทนซึ่งต้องไปพิสูจน์ในทางแพ่ง กรณีเรียกร้องกับผู้กระทำละเมิด ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด
ค่าเสียหายเบื้องต้นที่จะได้รับ
- กรณีบาดเจ็บ ได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง รายละไม่เกิน 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ได้รับค่าปลงศพหรือค่าชดเชย รายละ 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ ภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาและค่าปลงศพหรือค่าชดเชย รวมกันรายละไม่เกิน 65,000 บาท
ข้อมูลจาก : oic.or.th
แม้ว่า รถไม่มี พ.ร.บ. จะสามารถเบิกค่าเสียหายได้ในกรณียกเว้นดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม การที่รถยนต์มี พ.ร.บ. เป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับ ทั้งยังช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางรถอีกด้วย ซึ่งหากใครที่ พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ หมดอายุแล้วหรือใกล้หมดอายุละก็ ควรรีบไป ต่อ พ.ร.บ. โดยด่วน หรือ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับเว็บไซต์มาสิได้เลย
สนใจ ซื้อ พ.ร.บ รถยนต์
และหากใครที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจากประกันรถยนต์ สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อซื้อประกันรถยนต์กับมาสิได้ง่ายๆ หรือโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันบิ๊กไบค์ ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินชั้นนำได้เลยค่ะ