การปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นหนึ่งในวิธีการลงทุนที่นักลงทุนนิยมกันมาก เนื่องจากให้ผลตอบแทนในระยะยาว แต่จะปล่อยเช่าได้ไหมนั้นย่อมขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว และมีปัจจัยอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เงินเฟ้อ หรือหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้น ก่อนปล่อยเช่าบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ จึงควรศึกษษข้อมอย่างรอบคอบก่อนเสมอ อย่างเช่น อีกหนึ่งเรื่องราวที่ในวันนี้ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกันกับเรื่องราวของ ภาษี ที่มีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยให้เช่าพื้นที่จะรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น ตาม มาสิ ไปดูกัน นอกจากนี้สำหรับที่กำลังมองหาหรือต้องการทุนทรัพย์เพิ่มนำมาต่อยอดหรือดูแลในธุรกิจ มาสิ แนะนำมาเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วย สินเชื่อบ้านแลกเงิน ที่เมื่ออนุมัติ รับเงินก้อนใหญ่ รายละเอียดจะเป็นอย่างไรตาม มาสิ ไปอ่านกัน
ตาม มาสิ ไปดู ปล่อยเช่าพื้นที่ มีภาษีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง…พร้อมแนะนำ เสริมความมั่นคงทางการเงินเมื่อมีบ้านด้วย สินเชื่อบ้านแลกเงิน รับเงินก้อนใหญ่ อนุมัติทันใจ พร้อมรับทุกค่าใช้จ่าย
ว่าด้วยเรื่องการให้เช่าพื้น
การเช่า คือ การซื้อสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการชั่วคราว สิทธิ์ที่ว่านี้หมายถึงการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากสิ่งของที่เช่านั้น การเช่าสามารถทำได้กับข้าวของหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นของเล็กๆ เช่นเช่าหนังสือ เช่าชุด ไปจนถึงของขนาดใหญ่อย่างการเช่าบ้าน ซึ่งของชิ้นเล็กๆ ขั้นตอนการเช่าไม่ซับซ้อนเท่าของชิ้นใหญ่ โดยเฉพาะบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่ต้องมีความรอบคอบทั้งการเช่าและการให้เช่า
โดยหลักการให้เช่าบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือซึ่งลงชื่อผู้จะรับผิดทั้งสองฝ่ายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือก็คือ ต้องมีหนังสือสัญญาที่ลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้เช่าและผู้ให้เช่าไว้อย่างชัดเจน แยกกันเก็บไว้คนละชุด
ระยะเวลาในการเช่า ในสัญญาเช่าต้องระบุวันเวลาที่ให้เช่าอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตเวลาในการฟ้องร้อง โดยส่วนมากสัญญาเช่าจะระบุไว้ไม่เกิน 3 ปี หากเกินกว่านี้ต้องไปจดทะเบียนกับกรมที่ดิน และหากไม่ได้จดทะเบียนแต่มีข้อพิพาทเกิดขึ้น ผู้ให้เช่าจะไม่สามารถฟ้องร้องได้ หากครบกำหนดตามสัญญาเช่าแต่ไม่มีการเซ็นสัญญาใหม่ โดยผู้ให้เช่าและผู้เช่าไม่ได้แสดงที่ท่าว่าต้องการยกเลิกสัญญา เท่ากับเป็นการต่อสัญญาแบบอัตโนมัติ แต่การเช่าสิ่งใดก็ตาม ไม่สามารถเช่าได้เกิน 30 ปี หากเกินกว่านี้และต้องการเช่าต่อต้องทำสัญญาใหม่
3 สิ่งที่ควรรู้ก่อนปล่อยเช่าพื้นที่
1. ตั้งราคาค่าเช่าให้เหมาะสม
2.นำเสนอดี มีจุดเด่น
3.ทำสัญญาเช่าให้ชัดเจน
การลงทุนปล่อยเช่าบ้านหรือคอนโดมิเนียมไม่ได้เริ่มและจบที่การหาคนมาเช่าได้เท่านั้น ต้องคำนึงถึงการเป็นผู้ให้เช่าที่ดีด้วยสัญญาเช่าที่ทำให้ผู้เช่าอยากตกลงเช่าและดูแลผู้เช่าในช่วงที่พักอาศัยอยู่ด้วย เจ้าของบ้านต้องทำสัญญาเช่าบ้าน โดยมีรายละเอียดครบถ้วน นอกจากนั้นยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถดึงดูดใจผู้เช่าได้อย่างดี
ทั้งนี้ นอกจากนี้เมื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองพื้นที่ภายในสถานที่ต่างๆ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีรายได้จากการปล่อยเช่าแล้ว ก็จะมีความเกี่ยวข้องกับภาษีค่าเช่าพ่วงมาด้วยเสมอ แล้วภาษีค่าเช่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ลองมาติดตามดูกันเลย
แล้วภาษีค่าเช่า คืออะไร?
ภาษีค่าเช่า คือ เงินที่ต้องจ่ายให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ตนเองเช่าอยู่ การจ่ายภาษีค่าเช่าสำหรับที่อยู่อาศัยจะเป็นไปตามอัตราภาษีที่ผู้ให้เช่าได้กำหนดไว้ ซึ่งการจ่ายภาษีค่าเช่าสำหรับที่พักอาศัยจะถูกนำเข้าในหมวดรายได้เมื่อยื่นภาษีเงินได้ นอกจากนี้การจ่ายภาษีค่าเช่าจะต้องชำระในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ซึ่งอาจจะเป็นการชำระเป็นรายเดือนหรือรายปีตามข้อตกลงระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า
ภาษีค่าเช่า สำหรับธุรกิจให้เช่าพื้นที่มีอะไรบ้าง?
เจ้าของหรือผู้ครอบครองพื้นที่ให้เช่าจะมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องหลายชนิด แต่ละชนิดมีรายละเอียดในการจัดเก็บจากหน่วยงานของรัฐที่จัดเก็บและอาศัยหลักกฎหมายที่แตกต่างกัน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น ผู้เสียภาษีจึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องและทันตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันการเกิดเบี้ยปรับที่เกิดจากการคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งไม่ถูกต้อง ซึ่งภาษีค่าเช่าสำหรับธุรกิจปล่อยเช่าอาคารสถานที่มีรายละเอียด ดังนี้
1.ภาษีเงินได้ กรณีผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา เงินได้จากการให้เช่าอาคารสถานที่ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) คือ เงินที่ให้เช่าทรัพย์สิน เงินค่าเช่าที่ได้รับดังกล่าวจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย หากผู้ให้เช่าเป็นนิติบุคคล เงินที่ได้รับจากการให้เช่าจะต้องนำมาคำนวณในกำไรขาดทุนสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย ตามมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
2.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เงินที่ได้จากการให้เช่าอาคาร ตึก โรงเรือน ฯลฯ ถือเป็นค่าเช่ารายปีจากทรัพย์สินในปีหนึ่งๆ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กรมที่ดินท้องถิ่นทุกปีด้วย ซึ่งภาษีที่ต้องเสียจะคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ อาคาร ตึก โรงเรือน ฯลฯ โดยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในการปฏิบัติผู้ประกอบธุรกิจมักจะให้บริการอื่นๆ รวมไปถึงการให้บริการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และการให้บริการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้ไม่ใช่การให้บริการในธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การให้บริการในส่วนนี้จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
4.อากรแสตมป์ ภาษีค่าเช่าที่เกี่ยวข้องกับอากรแสตมป์ จะใช้ในกรณีที่มีการทำสัญญาเช่า กล่าวคือเมื่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า ได้มีการทำสัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ตามหลักการตลอดอายุแล้ว ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องติดอากรแสตมป์ ในอัตรา 1 บาท ต่อมูลค่าสัญญาเช่าทุก 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท และผู้เช่าเป็นผู้ขีดฆ่าแสตมป์ ตลอดอายุสัญญา
5.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีค่าเช่าที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่าที่จดทะเบียนนิติบุคคลเท่านั้น ที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยหลักการของภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่าเช่าคือ
– ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% หากเป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้กับผู้เช่า โดยผู้เช่าต้องดูแลทรัพย์สินที่เช่าเสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเอง ทั้งบำรุงรักษาและการซ่อมแซม รวมถึงผู้เช่าเป็นคนถือกุญแจ จะนับเป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์
– จ้างรับเหมาหรือบริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ถ้ายืมสถานที่ไม่มีสิทธิ์ในการถือกุญแจ เช่น เช่าสถานที่เพื่อจัดงานต่างๆ ชั่วคราว จะถือว่าอยู่ในกลุ่มของจ้างรับเหมาหรือบริการ
ขอขอบคุณ : Post Today, DDproperty และ ไทยโฮมทาวน์
และนี่เพียงส่วนหนึ่งของความรู้ดี ๆ ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกัน สำหรับใครที่กำลังจะซื้อบ้าน หรือกำลังมองหาบ้านเป็นของตัวเองสักหลังก็อย่าลืมที่จะเอากับทริคดี ๆ ที่ มาสิ ได้เอามาฝากไปใช้กัน และอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไม่เพียงแต่ความรู้ดี ๆ ที่ มาสิ ได้นำมาฝากกัน วันนี้ มาสิ ก็ได้หยิบ สินเชื่อบ้านแลกเงิน ตัวหนึ่งที่หน้าสนใจ มาแนะนำให้ผู้ที่สนใจได้นำไปเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการพิจารณา นั่นก็คือ สินเชื่อบ้านคือเงิน SCB My Home My Cash
สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash
สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash เหมาะกับผู้ที่มีบ้านเป็นของตนเอง จะต้องเป็นบ้านที่ปลอดภาระ ไม่ว่าจะเป็นบ้านพร้อมที่ดิน ที่ดินเปล่า หรือแม้แต่ Home-office อาคารพาณิชย์ ก็สามารสมัครได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคอนโดที่หมดภาระแล้วด้วย สำหรับเงื่อนไขการผ่อน สินเชื่อบ้าน คือ เงิน SCB My Home My Cash สามารถผ่อนยาวได้นาน 30 ปี วงเงินที่สูงสุดมากถึง 20 ล้านบาท และฟรีค่าประเมินหลักประกัน (สำหรับที่ดินนั้น มีข้อจำกัดว่า ห้ามเป็นที่ดินที่ตาบอด หรือที่ดินที่ไม่มีทางเข้าออก)
เอกสารการสมัคร
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์
- หนังสือแจ้งข้อมูลหลักประกัน
- ภาพถ่ายหลักประกัน
- เอกสารยืนยันรายได้ อาทิ สลิปเงินเดือนย้อนหลัง, หนังสือรับรองเงินเดือน และสลิปเงินเดือน
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สัญชาติไทย
- ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันทางการเงิน
- อายุ 20-65 ปี
- พนักงานประจำเงินเดือน ขั้นต่ำ 15,000 บาทขึ้นไป
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน/ statement 6 เดือน
เงื่อนไขสำหรับ สินเชื่อบ้านคือเงิน SCB My Home My Cash
- ผู้ที่มีบ้านเป็นของตนเอง
- บ้านต้องปลอดภาระการผ่อนบ้าน
- เป็นที่ดินเปล่า ,บ้านพร้อมที่ดิน ,Home office ,อาคารพาณิชย์
- สำหรับที่ดินนั้น มีข้อจำกัดว่า ห้ามเป็นที่ดินที่ตาบอด ไม่มีทางเข้าออก
สนใจสมัคร สินเชื่อบ้านแลกเงิน
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อบ้านแลกเงิน
-
สินเชื่อบ้านแลกเงิน จาก SCB ไปกับ สินเชื่อ SCB My Home My Cash วงเงินสูงถึง 20 ล้านบาท
-
ปี 2566 ต้องจับตา!…จะ ซื้อบ้าน ที ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
-
ประกันสังคม I ผู้ประกันตนมาตรา 33 เฮ! ธอส. ปล่อย สินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.99 %
-
สินเชื่อของ SCB ที่เกี่ยวกับบ้าน หรือสินเชื่อบ้านแลกเงิน SCB มีอะไรบ้างนะ
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison