การมีบ้านสวยสักหลังคงเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ พื้นที่ หรือด้านอื่น ๆ ก็ตาม ก็อาจที่จะทำให้เราก็ไม่อาจที่จะสามารถเลือกที่มีบ้านหลังสวยงามได้อย่างที่หวัง ดังนั้น การต่อเติมบ้านเพื่อที่จะให้เป็นได้ บ้าน ที่วาดฝันไว้ คงเป็นทางเลือกแรก ๆ ที่จะเลือกทำ แต่สำหรับสายแต่งบ้านหรือไม่ ว่าการต่อเติมหรือแต่งบ้านนี้มีกฏหมายบังคับอยู่ แล้วการแต่งแบบ บ้าน แบบนี้หรือต่อเติม บ้าน แบบไหนที่ต้องขออนุญาตตามกฏหมายกำหนด วันนี้ มาสิ ได้เอาข้อมูลมาอัพเดทให้ทุกคนได้ทราบกันแล้ว จะมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้าง ตาม มาสิ ไปดูกัน
การต่อเติมบ้าน ต้องขอนุญาตหรือไม่ ?
คำถามที่ว่า จะต้องขออนุญาตก่อนต่อเติมบ้านหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการก่อสร้าง หากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่สร้างไว้แล้วผิดไปจากเดิม ได้แก่ เพิ่ม เติม ลด ขยาย ลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก ที่ไม่ใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงอาคารตามที่กฎหมายกำหนด ควรทำหนังสือขออนุญาตและยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพิจารณาก่อนเสมอ สำหรับการต่อเติมบ้านที่ต้องขออนุญาตมี ดังนี้ คือ
– ขยายพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งของอาคารมากกว่า 5 ตารางเมตร
– เปลี่ยนหรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
– มีการเพิ่ม-ลด หรือเปลี่ยนจำนวนเสา คาน บันได และผนัง
โดยการดำเนินการต่อเติมบ้านนั้นในเบื้องต้นเจ้าของบ้านควรรู้เรื่อง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร) พ.ศ. 2522 ตามมาตรา 21 และ 39 ทวิ ซึ่งเนื้อหาที่สรุปได้ คือ การดัดแปลง หรือต่อเติมอาคาร ต้องแจ้งและได้รับอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่นก่อนเสมอ (มาตรา 21) พร้อมยื่นแบบแปลน ชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานให้เจ้าพนักงานทราบ (มาตรา 39 ทวิ) และ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร นี้กำหนดให้การก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารนั้นต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และเลี่ยงการรบกวนผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง
ต่อเติมบ้านแบบไหน ไม่ผิดกฎหมาย
1.มีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
สำหรับการต่อเติมบ้านไม่ว่าจะเป็นบ้าน 1 ชั้น 2 ชั้น หรือมากกว่านั้น หากดำเนินการในข้อต่างๆ เหล่านี้ จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน
- การต่อเติมบ้านที่มีพื้นที่ครอบคลุมเกิน 5 เมตร
- การลด-เพิ่ม จำนวนเสา หรือคาน
- การต่อเติมที่มีความเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ขนาด ที่แตกต่างไปจากของเดิม
- การต่อเติมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักบ้านที่เพิ่มมากขึ้นจากการคำนวนฐานรับน้ำหนัก
2.มีสถาปนิกและวิศวกรควบคุมการดำเนินการต่อเติม
การขออนุญาตต่อเติมบ้านที่ต้องยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าพนักงานท้องถิ่นนั้น ต้องมีรายละเอียดของแบบแปลนที่จะใช้ในการต่อเติมที่ได้รับการรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบ รวมถึงวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง
หากเป็นกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของวัสดุก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้น หลังคา เสา จะต้องมีการคำนวนเรื่องการรับน้ำหนักของฐานจากสถาปนิกหรือวิศวกรที่รับหน้าที่ก่อสร้างด้วย
3.มีระยะร่นและการเว้นที่ว่างถูกต้องตามกฎหมาย
ส่วนของระยะร่นที่เจ้าของบ้านควรรู้ไว้นั้นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนของการก่อสร้างหรือต่อเติมก็ตาม โดยระยะร่นที่ควรมีเป็นดังนี้คือ
- ระยะร่นระหว่างตัวอาคารกับจุดกึ่งกลางถนนต้องมีอย่างน้อย 3 เมตร
- เว้นที่ว่างระหว่างตัวอาคารกับเขตที่ดินด้านหน้าอย่างน้อย 3 เมตร ส่วนที่ว่างด้านหลัง และด้านข้างต้องเว้นไว้อย่างน้อย 2 เมตร
- มีขอบเขตของตัวบ้านไม่เกิน 70% ของที่ดิน ซึ่งจะนับจากชั้นที่มีพื้นที่กว้างสุด
- บ้านที่มีจำนวนชั้น 1 ชั้น หรือมีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ควรเว้นระยะห่างของช่องเปิด (หน้าต่าง ช่องลม ช่องแสง) ห่างจากแนวของเขตที่ดินข้างเคียงไม่น้อยกว่า 2 เมตร แต่ถ้าเป็นผนังทึบต้องเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
4.มีความยินยอมจากเพื่อนบ้านใกล้เคียง
การต่อเติมบ้านควรดำเนินการไปอย่างไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะมีผลกระทบบ้าง เช่น เสียงดัง กลิ่น หรือฝุ่น ดังนั้น ก่อนดำเนินการต่อเติมบ้านเจ้าของบ้านควรพูดคุยขอความยินยอมพร้อมแจ้งวันเวลาให้เพื่อนบ้านรับรู้ไว้ก่อน โดยเฉพาะการต่อเติมผนังทึบที่ชิดรั้วบ้านด้านข้างจะต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันปัญหาขัดแย้งภายหลัง
ต่อเติม บ้าน ที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร และไม่ต้องขออนุญาต
- การเปลี่ยนโครงสร้างของบ้านโดยใช้วัสดุที่มีขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม
- การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของบ้าน ที่ไม่ถือเป็นโครงสร้างและเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างไม่เกิน 10% เช่น ผนัง พื้น
- การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร โดยมีขนาดและรูปทรงที่เพิ่มน้ำหนักไม่เกิน 10% เช่น ประตู หน้าต่าง ฝ้าเพดาน
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช่การลดหรือเพิ่มเสา หรือคาน เช่น การเพิ่มพื้นเฉลียงชั้นล่าง
- การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา โดยมีขนาดมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร และต้องไม่ใช้การลดหรือเพิ่มเสา คาน
การต่อเติม บ้าน ที่ไม่ได้ขออนุญาต มีโทษหรือไม่ ?
- การต่อเติมบ้านในเรื่องที่เป็นข้อบังคับแต่ไม่มีการขออนุญาต เจ้าของบ้านจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- หากเจ้าของบ้านถูกร้องเรียน และสืบพบว่ามีการต่อเติมบ้านผิดกฎหมาย จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
ดังนั้น เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต และส่งผลกระทบต่อทั้งผู้อยู่อาศัยในบ้าน เพื่อนบ้าน และสังคม เจ้าของบ้านควรดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย โดยสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้องมีมาตรฐาน ลดภาระการดำเนินการแก่เจ้าของบ้าน และสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย
ขอขอบคุณ : arttechhome และ Kapook
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาระดี ๆ ที่ มาสิ ได้เอามาฝากกัน สำหรับผู้ที่พอจะมีกำลังมีแพลนที่จะต่อเติมบ้านก็อย่าลืมที่จะมองข้ามในส่วนของกฎหมายไป และนี้ก็เป็นอีกเพียงหนึ่งข่าวสารที่ มาสิ ได้นำมาอัพเดทให้ทุกคนได้ทราบกัน แต่ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านั้น อย่างที่ได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น เกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครบ ทั้งน้ำท่วม ไฟไหม้ จะเป็นประกันภัยแผนไหน น่าสนใจอย่างไรไปดูกัน
แผนประกันภัยบ้าน Happy Home เริ่มต้น 1,150 บาทต่อปี
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย : สิ่งปลูกสร้าง(ไม่รวมรากฐาน) รวมส่วนต่อเติมปรับปรุงอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้ง และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง
ความคุ้มครอง :
- ไฟไหม้,ฟ้าผ่า,ระเบิด
- ภัยจากการเฉี่ยวชน ของยานพาหนะ
- ภัยจากอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกลงมาจากอากาศยาน
- ภัยเนื่องจากน้ำ
- ภัยธรรมชาติ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว ภัยจากลูกเห็บ
ขยายความคุ้มครอง
- ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าวงเงิน 5% ของทุนประกันภัย สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาทต่อครั้ง/ ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย
- ความเสียหายเนื่องจากควันไฟ วงเงิน 500,000 บาท
- ความเสียหายต่อโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ วงเงิน 10,000 บาท
- ความคุ้มครองค่าเช่า 1,000 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ระยะเวลาในการคุ้มครอง
- 5ปี
เงื่อนไขในการรับประกัน
- เฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และใช้เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น
- จำนวนเงินเอาประกันภัยเท่ากับมูลค่าจริงของทรัพย์สิน หรือไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าเพิ่ม
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย
สนใจสมัคแผนประกันภัยบ้าน Happy Home
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison