เสพข่าวหดหู่มากเกินไป จิตแพทย์เตือนให้ระวัง Headline Stress Disorder – ความเครียด สะสมจากการเสพข่าวหดหู่มากเกินไป

สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เรียกได้ว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายคนคงได้รับรู้รับทราบข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้กับผู้ที่รับรู้รับทราบกันเป็นอย่างมาก ด้วยความที่เห็นการก่อเหตุความรุนแรงครั้งใหญ่ประกอบกับผู้เคราะห์ร้าย ผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่เป็นเด็กน้อยผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ควรต้องประสบพบเจอกันเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ สถานที่เกิดเหตุก็เป็นสถานที่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของราชการ และประกอบกับตัวผู้ก่อเหตุเองก็เป็นถึงอดีตค่าราชการตำรวจ จึงทำให้เหตุการณ์ความรุนแรงนี้ยิ่งทวีคูณความรุนแรงขึ้นเป็นเท่าตัว ทั้งนี้ ด้วยความรวดเร็วและด้วยความเข้าถึงง่ายของข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น จึงทำให้แม้ไม่ได้เป็นผู้ประสบเหตุโดยตรงก็สามารถทำให้ผู้ที่รับรู้รับทราบและเสพข่าวสามารถเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ประสบเหตุได้ ดังนั้น สำหรับผู้ที่เสพข่าวหดหู่มากเกินไป จิตแพทย์ เตือนให้ระวัง Headline Stress Disorder

Headline Stress Disorder – ความเครียด สะสมจากการเสพข่าวหดหู่มากเกินไป

Headline Stress Disorder คือ ภาวะความเครียดหรือภาวะวิตกกังวลที่เกิดจากการเสพข่าวสารข้อมูล หรือสื่อต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียร์มากเกินไป โดย Headline Stress Disorder ไม่ได้จัดเป็น “โรค” แต่จัดเป็น “ภาวะ” ซึ่งควรได้รับการบำบัดแก้ไขโดยเร็ว เพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการรับชมสื่อบนโลกออนไลน์มากเกินไป จนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน

ใครที่เสี่ยงเป็น Headline Stress Disorder

Headline Stress Disorder เกิดได้กับทุกคน แต่บางคนอาจเกิดความเครียดจากการเสพข่าวได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เช่น

  • คนที่มีความเครียดในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เช่น ปัญหาสุขภาพ ครอบครัว การเรียน และการทำงาน
  • คนที่เป็นโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า การได้รับข่าวสารมากเกินไปอาจกระตุ้นให้อาการของโรคแย่ลง
  • คนที่ขาดวิจารณญาณในการรับข่าวสาร เช่น เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีนิสัยเชื่อข้อมูลที่ได้รับมาง่าย ๆ หรือไม่สามารถคัดกรองข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการได้รับข่าวเท็จจนเกิดความเครียด
  • คนที่ติดมือถือและใช้เวลาส่วนใหญ่กับโลกออนไลน์ ซึ่งมีโอกาสรับข่าวสารจำนวนมากได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นข่าวจริงหรือเท็จ

อาการและผลกระทบต่อสุขภาพจาก Headline Stress Disorder

หลายคนอาจไม่รู้ว่าการอ่านแค่หัวข้อข่าวก็อาจกระตุ้นให้เราเกิดความเครียดได้ หากพาดหัวข่าวใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์เพื่อดึงดูดความสนใจ ข่าวมีเนื้อหาที่น่าหดหู่ใจ หรือใช้เวลาอ่านข่าวที่มีเนื้อหาชวนให้เครียดนานเกินไป  เมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียดจะกระตุ้นให้ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ปล่อยฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วขึ้น และกล้ามเนื้อตึงตัว

เมื่อความเครียดเริ่มสะสม อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แน่นหน้าอก ปวดหัว นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ตื่นตระหนก และซึมเศร้า หากปล่อยไว้นานเกินไป อาจนำไปสู่โรคบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ ความเครียดอาจกระตุ้นได้เกิดพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุภาพ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์และการสูบบุหรี่ รวมทั้งอาจกระทบต่อการเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ทั้งนี้ ภาวะ Headline Stress Disorder ส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ผู้ที่เผชิญอาการนี้จะมีความหนักเบาและรูปแบบของอาการไม่เหมือนกัน โดยอาการที่มักพบได้บ่อย ได้แก่

1.อาการทางกาย

  • แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  • ใจสั่น
  • จังหวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนหลับไม่สนิท
  • รู้สึกไม่ค่อยสดชื่นระหว่างวัน ง่วงซึม
  • อยากอาหารน้อยลง หรืออาจกินมากเกินกว่าปกติ
  • ท้องเสียหรือท้องผูก

2.อาหารทางจิตใจ

  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำได้ อาจสร้างแนวโน้มที่จะทำงานผิดพลาดได้มากขึ้น
  • ความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลง
  • รู้สึกวิตกกังวล ไม่สบายใจกับอนาคตที่กำลังจะเข้ามา
  • ซึมเศร้า รู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอหรือไม่มีค่า
  • อารมณ์แปรปรวน โกรธหรือหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
  • เก็บเนื้อเก็บตัว

วิธีแก้อาการ Headline Stress Disorder

ในเบื้องต้นคุณสามารถบรรเทาอาการจากภาวะ Headline Stress Disorder ได้ ผ่านการปรับเปลี่ยนกิจวัตรการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เช่น

  • งดอ่าน งดรับชมข่าว หรือข้อมูลที่มีหัวข้อสร้างความอ่อนไหวทางจิตใจ เช่น ข่าวเกี่ยวกับความตาย การสูญเสีย การฆ่าตัวตาย หรือหัวข้ออื่นๆ ที่ทำให้สภาวะจิตใจของคุณไม่มั่นคงกว่าเดิมได้
  • จำกัดเวลาในการรับชมสื่อ คุณอาจลองนึกย้อนไปว่า ในแต่ละวันคุณใช้เวลานานแค่ไหนในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต แล้วลองปรับช่วงเวลาเหล่านั้นให้น้อยลง เพื่อลดโอกาสรับรู้สื่อที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจในระยะยาว
  • เลือกช่องทางการรับรู้ข้อมูล ที่ผ่านมาคุณอาจเปิดรับทุกช่องทางการสื่อสารเท่าที่มีโอกาส เพื่อจะได้รับรู้ข้อมูลที่น่าสนใจให้มากที่สุด แต่เมื่อคุณเริ่มเห็นผลกระทบของการเปิดกว้างมากเกินไป คุณก็ควรลองจำกัดบางช่องทาง บางเพจ หรือบางแพล็ตฟอร์มดูบ้าง เพื่อลดโอกาสที่สื่อเหล่านั้นจะรบกวนจิตใจคุณได้
  • หากิจกรรมใหม่ๆ ทำบ้าง อาจเป็นการออกพบปะเพื่อน ช็อปปิ้ง ดูหนัง อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เพื่อให้คุณได้ออกห่างจากข่าวสารและข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องรับชมอยู่ตลอดเวลาบ้าง และเพื่อให้ตนเองได้รับประสบการณ์กิจกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม นอกเหนือจากการเสพข่าวบนอินเทอร์เน็ต
  • หันไปพูดคุยบ้าง หลังจากที่คุณใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเพ่ง มอง อ่าน และฟังมาตลอด คราวนี้ลองเปลี่ยนจากการเป็นผู้รับสารมาเป็นผู้ส่งสารดูสักครั้ง เช่น ชวนคนใกล้ตัวคุย แลกเปลียนความคิดเห็น สอบถามสิ่งที่สงสัย เพราะสิ่งที่คุณรู้มาจากอินเทอร์เน็ตอาจมีด้านอื่นๆ อีกก็ได้

หากแนวทางการแก้ไขภาวะ Headline Stress Disorder เหล่านี้ใช้ไม่ได้ผล คุณควรปรึกษากับจิตแพทย์ เพื่อหาทางปรับสภาพจิตใจใหม่ให้กลับมามั่นคงอีกครั้ง อย่าเก็บอาการหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นไว้ตามลำพัง

เพราะอาการจากภาวะ Headline Stress Disorder ที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคแพนิก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

สพข่าวอย่างไร ไม่เสี่ยง Headline Stress Disorder

  • สำรวจความรู้สึกตัวเองก่อนเสพข่าว ใครที่มีเรื่องเครียดอยู่แล้ว ไม่ควรอ่านข่าวที่อาจเพิ่มความเครียดมากขึ้นอีก และหากอ่านข่าวแล้วรู้สึกไม่ดี ควรตั้งสติ งดเสพข่าวหรือใช้โซเชียลมีเดียจนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น
  • กำหนดเวลาในการเสพข่าวในแต่ละวัน และเคร่งครัดกับเวลาที่กำหนดไว้ เช่น อ่านข่าวเฉพาะช่วงเช้าหรือเที่ยงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และงดเสพข่าวช่วงก่อนนอน เพราะความเครียดจากการเสพข่าวอาจทำให้นอนหลับยาก
  • รับข่าวสารจากสื่อที่น่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงการอ่านข่าวออนไลน์จากแหล่งข่าวที่ไม่มีที่มาชัดเจน เพราะอาจเป็นข้อมูลเท็จหรือถูกแต่งเติมข้อมูลจนผิดเพี้ยนจากความจริง
  • หากเป็นข่าวด่วนควรรอให้มีข้อมูลที่ชัดเจนเพิ่มเติม แล้วค่อยอ่านในรายละเอียดข่าว
  • หลีกเลี่ยงการเสพข่าวเรื่องเดียวกับที่อ่านหรือรับรู้มาแล้ว ควรเปลี่ยนช่องโทรทัศน์หรือเลื่อนผ่านไป การรับข้อมูลซ้ำอาจทำให้เกิดความสับสนและเครียดได้ง่าย
  • พยายามมองหาสิ่งที่ดีในข่าวที่อ่าน เพราะทุกเหตุการณ์มีแง่มุมที่ดีและไม่ดีเสมอ และคิดเสมอว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ การรู้สึกแย่กับข่าวมากไปจะมีแต่บั่นทอนตัวเราเอง
  • ควรหาเวลาพักจากการเสพข่าวระหว่างวัน เช่น เดินไปสูดอากาศนอกบ้าน เล่นกับสัตว์เลี้ยง เพื่อไม่ให้ความเครียดสะสม
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลงสบาย ๆ ฝึกลมหายใจ และนั่งสมาธิ หรือพูดคุยกับคนรอบข้าง คนในครอบครัวและเพื่อน ที่สามารถรับฟังความเครียดของเราได้

หากทำตามวิธีข้างต้นแล้วไม่สามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ หรือรู้สึกว่า Headline Stress Disorder ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น โมโหร้าย หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบทำ พฤติกรรมเปลี่ยนไปจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต เบอร์ 1323 หรือไปพบนักจิตวิทยาหรือ จิตแพทย์ ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการรับมือกับความเครียดอย่างเหมาะสม

และอย่างได้ที่กล่าวไปข้างต้น เรื่องของความสูญเสียเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จริง แต่เรื่องของการรับมือให้ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่ยากขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลยากที่ใครจะเข้าใจกันได้อย่างครบถ้วนในทุกมิติ ดังนั้น เมื่อไม่มีใครที่เข้าใจเราได้ เราก็ต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพจิตสุขภาพใจของเราให้แข็งแรงได้เต็มที่ แม้จะไม่ใช่สุขภาพแต่ความเจ็บป่วยทางใจก็นำมาซึ่งโรคทางกายได้ ดังนั้น เราต้องรักษาให้ดี นอกจากนี้ แม้ว่าโรคทางใจแม้ว่าเราจะดูแแลรักษษได้ครบถ้วนเต็มที่แล้วก็ตาม แต่โรคทางเราก็ต้องดูแลรักษากันอย่างเต็มที่ด้วย ดังนั้นแล้ว เรามาเสริมสร้างความคุ้มครองที่ดีให้กับความเจ็บป่วยทางกายด้วย ประสุขภาพ จากเอ็ทน่าประกันภัย จะมีความน่าสนใจ หรือรายละเอียดความคุ้มครองอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกัน

ประกันสุขภาพ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

เอ็ทน่า ประกันภัย
ประกันสุขภาพ แผนบียอนด์ เพอร์ซันนัลแคร์ ( Beyond Personal Care )

สำหรับ ประกันสุขภาพ เอ็ทน่า เอ็กซ์ตร้าแคร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีประกันสุขภาพ ประกันสังคม หรือสวัสดิการจากบริษัทอยู่แล้ว แต่อาจมีวงเงินความคุ้มครองไม่เพียงพอ แผนประกันนี้จึงช่วยเติมเต็มวงเงินความคุ้มครองจากสวัสดิการที่มีอยู่ ช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินอีก 80% โดยไม่เกินผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนที่กำหนดไว้ต่อการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในแต่ละครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน( ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง ) 20,000 บาท
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติมอีก 80% ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจากความรับผิดส่วนแรก ครอบคลุมในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัดและวิสัญญีแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสูงสุด 600,000 บาท
  • ค่าห้องผู้ป่วยปกติ สูงสุดต่อวัน 4,000 บาท
  • ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล( อบ.2* ) กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะสายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง รายละ 1,000 บาท
  • เบี้ยประกันเริ่มต้น 3,172 บาท
    * อบ.2 คือ ประเภทความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยที่มีรายละเอียดความคุ้มครองคือ (1) การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, (2) การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง, (3) การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน, (4) การรักษาพยาบาล และ (5) การสูญเสียนิ้ว การสูญเสียการรับฟังเสียง/การพูดออกเสียงและการทุพพลภาพถาวรบางส่วน

สนใจสมัคร ประกันสุขภาพแผนเอ็กซ์ตร้าแคร์ ( Extra Care )

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันวินาศภัย ประกันรถยนต์ ประกันรถมอเตอร์ไซด์ ประกันสุขภาพ ประกันโดรน ประกันการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันภาคธุรกิจ และพ.ร.บ. รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison