ประกันภัยไซเบอร์ : ในโลกแห่งการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรประเภทใด หรือขนาดเท่าใด ก็อาจได้รับผลกระทบจากการถูก ลักลอบขโมยข้อมูลของลูกค้า หรือ พนักงาน และยิ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ยิ่งทวีความซับซ้อนก้าวไกลมากยิ่งขึ้น เรายิ่งเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางเทคโนโลยีดังกล่าวมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่องค์กรต่างๆ ควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยแผนประกันภัยความรับผิดทางไซเบอร์ หรือ ประกันภัยไซเบอร์ ซึ่งในวันนี้ masii ขอแนะนำกรมธรรม์การจัดการความเสี่ยงภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรที่ทำธุรกิจด้านไซเบอร์ ( Cyber Enterprise Risk Management Policy – ERM ) เพื่อช่วยปกป้องทรัพย์สินทางธุรกิจของท่านจาก การคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเป็นหลักป้องกันความเสียหายทางธุรกิจที่อาจร้ายแรงด้วยมูลค่าทางธุรกิจหลักล้านหรือหลักสิบล้านที่จะสูญเสียไป ไปดูกันเลยครับ …
” ประกันภัยไซเบอร์ “
ตามที่ภาครัฐได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำลังจะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจหรือองค์กรของท่านที่ได้ถือครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จากผลของกฎหมายดังกล่าวทำให้ผู้บริหารองค์กรมีความเสี่ยงที่จะต้องถูกฟ้องร้องให้รับผิดตามกฎหมายจาก ความเสี่ยงภัยทางด้านไซเบอร์ จากการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลไม่ดี (Poor Risk Management)
ข้อมูลอะไรที่สามารถรั่วไหลหรือถูกละเมิด ?
- ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า พนักงาน หรือ คู่แข่งทางการค้า
- ข้อมูลระบุตัวตน
- ข้อมูลประวัติสุขภาพ
- ข้อมูลบัตรเครดิต
- ข้อมูลความลับทางการค้า
- ข้อตกลง หรือ สัญญาต่างๆ
- ข้อมูลอื่นๆที่มีการจัดเก็บ ซึ่งสามารถถูกทำลาย นำมาใช้หาผลประโยชน์ ขายต่อ ฯลฯ
ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นต้องมีการทำ ประกันภัยไซเบอร์
- การโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- การฟ้องร้องแบบกลุ่ม
- ปิดช่องว่างความคุ้มครองของกรมธรรม์อื่นๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber Risk Insurance) จึงเข้ามามีบทบาทกับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม
สรุปแล้ว … ประกันภัยไซเบอร์ คืออะไร ?
ทำไมต้องมีประกันไซเบอร์ ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกนี้เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต และอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาคธุรกิจ องค์กรและบุคคลก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ดี เพราะสมัยนี้มิจฉาชีพมีอยู่มาก ในด้านขององค์กรอาจจะได้รับผลกระทบจากการถูกลักลอบขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าและพนักงาน รวมถึงในด้านของบุคคลเอง มักจะแทรกซึมอยู่กับชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น การหลอกให้ทำธุรกรรมการเงิน การช้อปปิงออนไลน์แล้วได้สินค้าไม่ตรงปกหรือไม่ได้รับสินค้าเลย ล้วนเป็นภัยอันตรายของโลกไซเบอร์ทั้งนั้น และยิ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนขึ้น ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็ยิ่งมากขึ้น และนี่คือสาเหตุที่ทุกท่านควรเตรียมพร้อมรับมือด้วย ประกันไซเบอร์
ประกันไซเบอร์ คืออะไร
ประกันภัยไซเบอร์ ( Cyber insurance ) คือ แผนประกันที่จะช่วยปกป้องจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์ โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูลหรือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย รวมถึงความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับข้อมูล โดยความคุ้มครองจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายการกู้คืนข้อมูลและการพิสูจน์หลักฐานในกระบวนการสืบสวนและไกล่เกลี่ย
ทำไมถึงควรมี ประกันไซเบอร์
ความเสียหายจากภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นภัยใกล้ตัว เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว ครั้นจะให้ไปตามเรื่องเองคงทำได้ยาก เพราะระบบหรือเครือข่ายค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้นการทำประกันไซเบอร์จะช่วยบรรเทาค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ และภัยไซเบอร์ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุดมีดังนี้
1. มิจฉาชีพบน Social Media
มิจฉาชีพถือโอกาสใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยอาศัยข้อมูลจากแชทหรือโพสต์เพื่อสวมรอยหรือปลอมแปลงข้อมูลเพื่อหลอกลวง เช่น หลอกให้โอนเงิน ปลอมแปลงหลักฐานการโอนเงิน เป็นต้น
2. อีเมลหลอกลวง (Phishing)
โดยส่วนใหญ่การหลอกลวงในรูปแบบนี้จะเป็นการส่งอีเมลโดยแอบอ้างเป็นธนาคารต่างๆ เพื่อหลอกให้ทำธุรกรรมหรือโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต
3. การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)
ในปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของคนไทยมีการรั่วไหลมาเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลสำคัญๆ เช่น ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน รหัสผ่าน เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตทำให้คนไทยถูกหลอกให้ทำธุรกรรมกับมิจฉาชีพ
ประกันไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?
ในด้านความคุ้มครองของประกันไซเบอร์ จะมีการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการโจมตีหรือการโจรกรรมข้อมูล โดยแบ่งความคุ้มครองได้ 2 แบบ ได้แก่
1. ความคุ้มครองของผู้เอาประกันภัย
เช่น คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล, คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากธุรกิจหยุดชะงัก (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) หรือคุ้มครองความเสียหายจากการรีดเอาทรัพย์ เป็นต้น
2. ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
เช่น คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบความปลอดภัยถูกล่วงละเมิด, ค่าใช้จ่ายในการกู้คืนข้อมูล, ชดใช้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อ, คุ้มครองความเสียหายจากการใช้สื่อออนไลน์ หรือคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่สามอันเกิดจากการละเลยหรือขาดความระวังขององค์กร (สำหรับแผนประกันไซเบอร์แบบองค์กร) เป็นต้น
ความคุ้มครอง ของประกันภัยไซเบอร์
- ความเสียหายจากการหยุดชะงักของธุรกิจ อันเนื่องมาจากระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายล่มหรือถูกโจมตี รวมถึงความผิดพลาดซึ่งเกิดจากบุคลากรหรือตัวโปรแกรม
- การสูญเสียข้อมูลและการกู้ข้อมูล ซึ่งรวมถึงการล้างเครื่องและกู้ข้อมูลกลับคืน
- ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการรับแจ้งเหตุและการสืบสวน พร้อมด้วยสายด่วนรับแจ้งเหตุที่ให้บริการหลายภาษาตลอด 24 ชม. ทุกวันไม่มีวันหยุด และตัวแทนที่พร้อมให้บริการตลอดเวลาอีกด้วย
- ค่าใช้จ่ายจากความล่าช้า การติดขัด และการเร่งทำงาน ซึ่งเป็นผลมาจากการหยุดชะงักของธุรกิจ
- ค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาการเสียชื่อเสียงและการสื่อสารในภาวะวิกฤติ
- ความรับผิดอันเกิดจากความล้มเหลวในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ
- ความรับผิดอันเกิดจากการใช้งานเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
- การขู่กรรโชกที่เกี่ยวกับระบบหรือข้อมูล/การถูกข่มขู่ว่าจะถูกเปิดเผยความลับ การแบล็คเมล (ในส่วนที่ได้รับการประกัน)
- ความรับผิดทางสื่อออนไลน์
- ค่าใช้จ่ายจากการตรวจสอบโดยภาครัฐ
ประกันภัยไซเบอร์-หลักประกันยุคใหม่ เพื่อความปลอดภัยขององค์ธุรกิจ
ดำเนินธุรกิจอย่างอุ่นใจภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ด้วยประกันภัยไซเบอร์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ประกันภัยไซเบอร์ เหมาะสำหรับทุกองค์กรที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล อุ่นใจด้วยวงเงินคุ้มครองตั้งแต่ 5-30 ล้านบาท ช่วยบรรเทาความเสียหายจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attacks) ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกธุรกิจ
ตารางความคุ้มครอง หน่วย : บาท
ความคุ้มครอง | |||||||
ไม่เกิน 75 ล้านบาท | ไม่เกิน 75 ล้านบาท | ไม่เกิน 75 ล้านบาท | ไม่เกิน 100 ล้านบาท | ไม่เกิน 100 ล้านบาท | 100-200 ล้านบาท | 100-200 ล้านบาท | |
แผน1 | แผน2 | แผน3 | แผน4 | แผน5 | แผน6 | แผน 7 | |
จำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัย | 5 ล้าน | 10 ล้าน | 20 ล้าน | 5 ล้าน | 10 ล้าน | 20 ล้าน | 30 ล้าน |
ความคุ้มครองสำหรับผู้เอาประกันภัย | |||||||
1.การตรวจสอบการจัดการข้อมูล | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
2.ค่าปรับจากการจัดการข้อมูล | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
3.ค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ชื่อเสียง | – | – | – | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” |
4.ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเตือนและเฝ้าระวัง | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
5.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ | – | – | – | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” |
6.ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบหรือนิติวิทยาศาสตร์เชิงรุก | – | – | – | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” |
7.ค่าไถ่และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการขู่ทำลายทางไซเบอร์ | – | – | – | 5 ล้าน | 10 ล้าน | 10 ล้าน | 10 ล้าน |
8.รายได้ที่สูญเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของเครือข่าย | – | – | – | 5 ล้าน | 10 ล้าน | 10 ล้าน | 10 ล้าน |
ความรับผิดตามกฎหมายสำหรับบุคคลภายนอก | |||||||
9.ความรับผิดตามกฎหมายต่อข้อมูลส่วนบุคคล | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
10.ความรับผิดตามกฎหมายต่อข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
11.ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” | “” | “” | “” |
12.ความรับผิดตามกฎหมายต่อสื่อต่างๆ | – | – | – | จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด | “” | “” | “” |
ความรับผิดส่วนแรก | |||||||
-ความรับผิดชอลบส่วนแรกต่อเหตุการณ์แต่ละครั้ง | 25,000 | 25,000 | 25,000 | 25,000 | |||
-การประกันภัยการหยุดชะงักของเครือข่าย | 12 ชั่วโมงแรก | 12 ชั่วโมงแรก | 12 ชั่วโมงแรก | 12 ชั่วโมงแรก | |||
เบี้ยประกันภัย | 15,000 | 25,000 | 35,000 | 45,000 | 55,000 | 120,000 | 220,000 |
“” : จ่ายตามจริงไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิด
เงื่อนไขการรับประกันภัยไซเบอร์
- แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี
- อาณาเขตความคุ้มครองและขอบเขตอำนาจศาลประเทศไทย
- ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้บริษัทละ 1 ฉบับ
- ไม่รับประกันภัยธุรกิจ ดังนี้
- ธุรกิจที่ให้บริการเครือข่ายสังคม เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น
- ธุรกิจที่ให้บริการด้านเครือข่ายวัยผู้ใหญ่ เช่น Tinder เป็นต้น
- ความบันเทิงที่เกี่ยวกับผู้ใหญ่
- ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มด้านเทรดออนไลน์ หรือธุรกิจที่รายได้มาจากการขายออนไลน์ 100%
- ผู้รวบรวมข้อมูล เช่น ธุรกิจ Cloud Service เป็นต้น
- ธุรกิจพนันออนไลน์
- ธุรกิจซื้อขายสินทรัยพ์ดิจิทัล
- ธุรกิจที่ให้บริการด้ารการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต
- ธนาคารหรือบริษัทผู้ให้สินเชื่อ
- ระบบรักษาความปลอดภัย ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูกต้องมีระบบการควบคุมและรักษความปลอดภัยดังนี้
- มีระบบปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย เช่น Firewall โปรแกรมป้องกันไวรัส หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่เทียบเท่าเพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบ
- มีระเบียบปฎิบัติในการเข้าถึงข้อมูลหรือระบบต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัย เช่น มีการกำหนดรหัสความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานแต่ละคน
- การสำรองข้อมูล (Back Up) และการกู้ข้อมูล (Recovery) ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูกต้องมีมาตราการและระเบียบปฏิบัติในการสำรองข้อมูล และการกู้ข้อมูล
- ผู้เอาประกันต้องมีภูมิลำเนา และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในประเทศไทย และไม่มีรายได้หรือธุรกรรม หรือมีการดำเนินงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และทวีปยุโรป
- การเชื่อมต่อระบบหลักของบริษัทจะต้องไม่เชื่อมต่อกับบริษัทแม่ หรือบริษัทลูกหรือเชื่อมต่อกับหน้าร้านแฟรนไซส์
- ประวัติความเสียหายและเหตุการณ์เรียกร้อง
- ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่เคยได้รับความเสียหายหรือไม่เคยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนใดๆ รวมถึงค่าปรับจากการจัดการข้อมูลตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ก่อนการเอาประกันภัย
- ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูก ไม่ได้รับเรื่องราวหรือการกระทำใดๆที่อาจนำไปสู่ความเสียหายหรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ความคุ้มครองกรมธรรม์นี้
ข้อยกเว้นที่สำคัญประกันไซเบอร์
- ไม่คุ้มครองการกระทำการทุจริตของบุคคลหรือเจ้าหน้าที่
- ไม่คุ้มครองความล้มเหลวของระบบพื้นฐาน หรือระบบรักษาความปลอดภัย
- ไม่คุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งไม่สามารถประเมินค่าได้
- ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ในกรมธรรม์
- ความรับผิดส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดเอง ตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
หมายเหตุ
- บริษัทฯชดเชยความรับผิดของทุกกรณีตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดชอบ ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัย
- บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น
- เพื่อประโยชน์สูงสุด กรุณาตรวจสอบจำนวนเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดต่อปีกรมธรรม์ประกันภัยและเบี้ยประกันภัยกับเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนของบริษัท
- ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- เบี้ยประกันภัยดังกล่าว ไม่รวมอากรและภาษี
ข้อมูลอ้างอิง :
- การประกันภัยเบ็ดเตล็ด https://www.oic.or.th/th/education/insurance/miscellaneous
- พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER033/GENERAL/DATA0001/00001711.PDF
- บทความเพิ่มเติม https://thailandwealth.com/blog/
ต้องการความคุ้มครองที่มากกว่า 30 ล้านบาทแจ้งในแบบฟอร์มสมัคร แล้วทีมงานจะประสานกลับโดยเร็ว
ประกันภัยไซเบอร์ กับ การคุ้มครองผู้บริโภค ในยุคออนไลน์
การถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต ( Theft of Funds )
คือ การคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายของผู้เอาประกันภัยอันเกิดจากการ ถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต โดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
1. การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) ทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก
2. การโจมตีแบบฟิชชิ่ง (Phishing) ทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก
บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหาย ดังนี้
1. ความสูญเสียต่อเงิน
2. ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี
การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ( Online Shopping )
คือ การคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยถูกหลอกลวงให้ซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ตามรายการสั่งซื้อ และได้มีการชำระเงินค่าสินค้าให้กับผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์แล้วแต่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ไม่ดำเนินการจัดส่งสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้เอาประกันภัยภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์แจ้งว่าจะดำเนินการจัดส่งสินค้า บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินที่ได้ชำระให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์เพื่อซื้อสินค้าดังกล่าว
การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ( Online Sales )
คือ การคุ้มครองกรณีผู้เอาประกันภัยถูกหลอกลวงให้ขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและได้มีการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว แต่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าวภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้เอาประกันภัยดำเนินการจัดส่ง บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าว
เงื่อนไขการรับประกันภัย
1. รับประกันภัยสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 100 ปี
2. รับประกันภัยบุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
3. ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันภัยได้คนละ 1 ฉบับ
4. แผนประกันภัยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี
หมายเหตุ
1. ไม่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่ไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย
2. บริษัทฯ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น
3. ควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
4. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
5. เบี้ยประกันภัยดังกล่าวรวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
ภัยไซเบอร์ ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความเสียหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังยากต่อการที่จะจัดการตามทรัพย์สินคืนด้วยตนเอง การมี ประกันไซเบอร์ ถือว่าเป็นหลักประกันที่จะช่วยปกป้องจากอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งแผนประกันที่น่าสนใจของประกันไซเบอร์ ที่จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวบุคคล ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ต่างๆ โดยความคุ้มครองที่ได้รับจะเป็นในด้านของ การโจรกรรมเงินออนไลน์ ซื้อสินค้าออนไลน์ และ ขายสินค้าออนไลน์ นั้น ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถพบเจอได้ง่าย โดยราคาเริ่มต้นก็เบาๆ เพียง 200 บาท/ปี* สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถเข้า เว็บไซต์ masii เพื่อเปรียบเทียบแผนประกันภัยที่ต้องการและสั่งซื้อได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และคุ้มครองทันทีที่ทำประกัน หรือโทรสอบถามผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่ 02 710 3100
ที่ masii มีบริการที่ปรึกษาในการ ทำประกันภัยไซเบอร์
1. ร่วมประเมินความเสี่ยงเพื่อประเมินทุนประกันที่เหมาะสมกับองค์กร
2. เป็นที่ปรึกษาเพื่อประสานงานกับบริษัทนายหน้าประกันภัยในการออกกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงขององค์กร
โดยทั่วไปประกันภัยไซเบอร์จะให้ความคุ้มครองหลัก 2 ส่วน ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายของผู้เอาประกันภัยหรือองค์กรที่ทำประกันภัยไซเบอร์
-
ความเสียหายจากเครือข่ายหยุดชะงัก (Business Interruption)
-
ค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบ (IT Forensic)
-
ค่าไถ่จากการขู่ทำลายข้อมูลทางไซเบอร์ (Ransomware)
-
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถูกสืบสวนสอบสวนจากหน่วยงานภาครัฐ
-
ค่าปรับจากหน่วยงานภาครัฐ
-
ค่าใช้จ่ายในการกอบกู้ชื่อเสียง
-
ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเตือนผู้ได้รับผลกระทบ
-
ค่าใช้จ่ายในการกู้ข้อมูลทางอิเล็คทรอนิคส์
2. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือลูกค้าขององค์กรที่ทำประกันภัยไซเบอร์
-
ความเสียหายต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการกระทำ ความผิดพลาด การแสดงข้อความผิดพลาด ข้อความที่ชักนำให้เกิดการเข้าใจผิด ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่โดยหรือในนามผู้เอาประกันภัย
-
ความรับผิดต่อข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ต่อความปลอดภัยของข้อมูล
-
ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี
หากเปรียบเทียบกับความรับผิดใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 แล้ว ประกันภัยไซเบอร์จะคุ้มครองความรับผิดดังต่อไปนี้
-
คุ้มครองความรับผิดทางแพ่ง ครอบคลุมทั้งค่าเสียหายที่แท้จริงและค่าเสียหายเชิงลงโทษ รวมถึงค่าจ้างทนาย/ที่ปรึกษากฎหมาย ในการต่อสู้คดี ค่าเสียหายจากการละเมิดข้อมูลของเจ้าของข้อมูล
-
ไม่คุ้มครองความรับผิดทางอาญา
-
คุ้มครองค่าปรับจากความรับผิดทางปกครอง
-
การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งเป็นรูปแบบ/ วิธีการดำเนินคดีแบบหนึ่ง เช่น ฟ้องคดีแพ่ง โดยวิธีดำเนินคดีแบบกลุ่ม – คุ้มครองตามความรับผิดทางแพ่งได้
องค์กรโดนแฮกเกอร์ปล่อยไวรัสเจาะระบบขององค์กร และเรียกค่าไถ่ (Ransomware) ซึ่งถ้าองค์กรไม่ยินยอมจ่ายค่าไถ่ ก็จะไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ หรือเข้าถึงระบบข้อมูลของตนเองได้
- องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย
- องค์กรสูญเสียกำไรจากการถูกปิดระบบ
- ค่าไถ่ที่ทางองค์กรตกลงจ่ายให้กับแฮกเกอร์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัยก่อน
- หน่วยงานภาครัฐสั่งปรับ
- องค์กรถูกฟ้องร้องจากการที่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล
แฮกเกอร์โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กร หรือระบบขององค์กรบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ระบบขององค์กรปฎิเสธหรือหยุดการให้บริการ (DDoS)
- องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย
- องค์กรสูญเสียกำไรจากการที่ระบบองค์กรไม่สามารถใช้งานได้
- องค์กรถูกฟ้องร้องจากการที่ลูกค้าเกิดความเสียหายเนื่องจากระบบองค์กรไม่สามารถใช้งานได้
แฮกเกอร์เจาะเข้าระบบเว็บไซต์ขององค์กร และเผยแพร่ข้อความ ภาพ และหรือ เสียง ซึ่งต่อต้านรัฐบาลหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
- องค์กรต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT มาตรวจสอบ และจำกัดความเสียหาย
- หน่วยงานภาครัฐสั่งปรับ
- องค์กรถูกฟ้องร้องจากการละเมิดข้อมูลข่าวสารโดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมรับคำปรึกษา
และเปรียบเทียบความคุ้มครองจากประกันภัยไซเบอร์ กับ masii
เพราะบนโลกออนไลน์ที่ถูกเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์ถือว่ามีความรวดเร็ว สะดวกสบาย จะทำธุรกรรมอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ในทุกวันนี้ มิจฉาชีพ มีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการระแวดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าจะระวังแค่ไหน มิจฉาชีพก็สรรหากลโกงมาหลอกลวงได้เสมอ การ ทำประกันไซเบอร์ ถือว่าเป็นตัวช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะถูกหลอก หากเกิดความเสียหายแล้ว ก็ยังมีประกันช่วยชดเชยค่าเสียหายและดำเนินการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างไร้กังวล ไม่เพียงแต่ระดับองค์กรทางธุรกิจใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ระดับตัวบุคคลก็ควรมีหลักประกันจาก การประกันภัยไซเบอร์ ไว้นะครับ
หากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือ แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดรน ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และ บัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม
- สุดยอด ประกันภัยร้านกาแฟ 2024
- ประกันภัยธุรกิจ และโรงงานขนาดย่อม เบี้ยเริ่มต้นวันละ 5 บาท คุ้มครองสูงสุด 50 ล้านบาท
- เทคนิคเลือกซื้อประกันให้คุ้มค่า
- โรคติดกาแฟ โรคยอดฮิตยิ่งกว่าออฟฟิศซินโดรม
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison