masii ชวนรู้! “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” หลังผ่านความเห็นชอบจากมติสภา…คู่รัก LGBTQIAN+ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

masii ชวนรู้! "พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" หลังผ่านความเห็นชอบจากมติสภา...คู่รัก LGBTQIAN+ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่ายินดีสำหรับเดือนแห่งความเท่าเทียม หรือ Pride Month กับมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่กฏหมายฉบับนี้จะเป็นสิ่งที่ทะลายกำแพงและเอื้ออำนวยให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและเพศอื่นๆได้รับเท่าเทียมกัน ซึ่งรายละเอียดความเห็นชอบ ขั้นตอนและกระบวนการทางกฏหมายขั้นถัดไป ตลอดจนรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ masii ได้เอามาอัพเดทให้ทุกคนได้อ่านกัน

ขอขอบคุณ : ไทยรัฐ ออนไลน์ และ Thai PBS

ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองครบ

masii ชวนรู้! “พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม” หลังผ่านความเห็นชอบจากมติสภา…คู่รัก LGBTQIAN+ ได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

รู้จัก “กม.สมรสเท่าเทียม” คืออะไร?

สมรสเท่าเทียม คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศ ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เคยเป็นร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี พ.ศ.2563 ก่อนที่จะผ่านวาระแรกพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในการสมรส จดทะเบียนสมรส และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายรองรับ โดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น ทำให้มีการร่างข้อกฎหมายที่แก้ไขถ้อยคำระบุรายละเอียดให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

กฏหมาย “สมรสเท่าเทียม” ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • บุคคล 2 ฝ่ายทุกเพศสามารถสมรสกันได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
  • สถานะเป็น “คู่สมรส” แทนคำว่า “สามีภริยา”
  • ส่วนสิทธิประโยชน์สมรสเท่าเทียม “คู่สมรส”
  • สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
  • สิทธิรับบุตรบุญธรรม
  • สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
  • สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม
  • สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น

ที่ประชุม สว.เห็นชอบ ร่างกม.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ปลายปีนี้

สมรสเท่าเทียม เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ใช้เวลาพูดคุย เสวนา และต่อสู้มากว่า 23 ปี โดยการเสนอร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่อสภา และได้รับการถูกบรรจุวาระแรกได้นั้นก็เป็นในปี 2565 หรือเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้น สภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) จำนวน 39 คน เพื่อพิจารณาศึกษารายละเอียดข้อกฎหมายทั้งหมด โดยวันที่ 27 มีนาคม มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมสรเท่าเทียม ที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมสภามีมติ เห็นด้วย 400 เสียง ไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง

สมรสเท่าเทียม
มติ สภาเห็นชอบ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

และล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.67 ที่ผ่านมา หลังจากที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง โดยไม่มีการแก้ไข ทำให้กลุ่ม LGBTQIAN+ ทั้งภาคประชาชนและรัฐบาลต่างจัดงานเฉลิมฉลอง รวมถึงนานาชาติที่ร่วมแสดงความยินดีกับประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้ใช้สิทธิของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ หลังที่ประชุม วุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าว โดยไม่มีการแก้ไข ให้ นายกฯ, สส. หรือ สว. ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างกฎหมายดังกล่าวว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ก็ให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย มีผลบังคับใช้ทันทีหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน

คู่รักหลากหลายทางเพศ จะได้สิทธิประโยชน์ อะไรจากกฎหมายนี้บ้าง ?

เมื่อ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในไทย “สมรสเท่าเทียม” จะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายยังยอมรับการสมรสเฉพาะแค่เพศชาย-หญิง เท่านั้น แต่หากมีการผ่าน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ไม่ว่าจะเพศสภาพใด ก็สามารถสมรส จดทะเบียนสมรส และเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ ยกตัวอย่าง ดังนี้

1. สิทธิการได้ดูแลชีวิตของคู่รักของตน
คู่รักสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ อาทิ การดูแลตัดสินใจเรื่องทางการแพทย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกรักษาพยาบาล การตัดสินใจสำคัญทางการแพทย์ในกรณีที่คน ๆ นั้นไม่สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ หรือกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายก็จะมีสิทธิในการจัดการศพได้ด้วยนั่นเอง

2. สิทธิในการแต่งงาน
ในอนาคตสามารถจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยได้ รวมถึงมีกฎหมายรองรับพิธีกรรมอื่น ๆ เช่น สิทธิการหมั้น การจดทะเบียนสมรส รวมถึงการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส รวมไปถึงการเป็นตัวแทนทางกฎหมาย สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม และสิทธิได้รับประโยชน์จากสวัสดิการจากรัฐ (อาทิ สวัสดิการข้าราชการ รับประโยชน์ทแทนตามสิทธิประกันสังคม) นอกจากนี้ยังได้สิทธิในการขอสัญชาติอีกด้วย

LGBQT couple

3. สิทธิการเป็นพ่อแม่ของลูก (ตามกฎหมาย)
พรบ.สมรสเท่าเทียม คู่รัก LGBTQIA+ สามารถเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผู้รับบุตรบุญธรรมยังคงจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี

4. สิทธิในการหย่าร้าง
สิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียม นำมาซึ่งสิทธิที่เท่าเทียมกันหากคู่รักใช้ชีวิตมาจนจุดแยกจากกันด้วย โดยจะมีสิทธิในการฟ้องหย่า สิทธิในการฟ้องร้องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น สิทธิการเลี้ยงดูบุตร การเรียกค่าเลี้ยงชีพตามแต่กรณีการหย่าร้างที่เกิดขึ้น และสิทธิในสินสมรส

และนี่ก็นับได้ว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ ถือเป็นของขวัญอันยิ่งใหญ่ในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ Pride Month ในปี 2567 ของคนกลุ่ม LGBTQIAN+ ในประเทศไทย ที่สามารถฟันฝ่า ต่อสู้ และช่วยกันผลักดันให้เกิดการยอมรับในสังคมไทยได้ในที่สุด

…………………………..

เตรียมความรับมือกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยกับ ประกันอุบัติเหตุ ที่ทำให้เราอุ่นใจทุกที่ ทุกเวลา กับทุนประกันภัยสูงสุด 2,000,000 บาทเงินชดเชยรายได้ กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไม่ต้องสำรองจ่ายกับโรงพยาบาลคู่สัญญากับบริษัทฯ กว่า 345 แห่งทั่วประเทศ

แผนประกันอุบัติเหตุ เมืองไทย PA Happy Family 

เมืองไทยประกันภัย 

เมืองไทยประกันภัย

ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับครอบครัว ให้คุณยิ้มได้ทุกที่…ทุกเวลา ใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ รับประกันพ่อแม่อายุ 16-65 ปี และบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี 2 คน, ทุนประกันภัยสูงสุด 2,000,000 บาท อุ่นใจทุกที่ ทุกเวลา อุ่นใจกับเงินชดเชยรายได้ กรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล ไม่ต้องสำรองจ่ายกับโรงพยาบาลคู่สัญญากับบริษัทฯ กว่า 345 แห่งทั่วประเทศ

ความคุ้มครอง ( Insurance Coverage ) : วงเงินความคุ้มครอง (บาท)
ผู้เอาประกันภัย คู่สมรส บุตรคนละ
1. กรณีเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อบ.1)
1.1 จากอุบัติเหตุทั่วไป
1,000,000 500,000 300,000
1.2 การถูกฆาตกรรม การทำร้ายร่างกาย 500,000 250,000 150,000
1.3 การขับขี่ โดยสารรถจักรยานยนต์ 500,000 250,000 150,000
1.4 อุบัติเหตุุสาธารณะ 2,000,000 1,000,000 600,000
2. ค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุ ต่อครั้ง 50,000 25,000 15,000
3.กระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และบาดเจ็บอวัยวะภายใน
(ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง จ่ายตามอัตราร้อยละ ที่ระบุไว้ในตารางผู้รับผลประโยชน์)
100,000 50,000 30,000
4. เงินชดเชยรายได้รายวันกรณีรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล อันเนื่องจากอุบัติเหตุ
(สูงสุด 365 วันต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง)
1,000 500 300
5. เงินชดเชยรายเดือน กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เหมาจ่าย 12 เดือน เดือนละ 10,000 8,000 5,000
6. ค่าปลงศพจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย (ระยะเวลารอคอยจากการเจ็บป่วย180วัน) 10,000 5,000 3,000
อายุที่รับประกันภัย 16-65 ปี อายุที่รับประกันภัย 66-70 ปี
เบี้้ยประกันภัยสุทธิ (บาท) 5,980 เบี้้ยประกันภัยสุทธิ (บาท) 12,980
เบี้้ยประกันภัยรวมอากรแสตมป์ 6,000 เบี้้ยประกันภัยรวมอากรแสตมป์ 13,000

 

เงื่อนไขการรับประกันภัย ( Insurance conditions ) :  

  1. ผู้เอาประกันอายุระหว่าง 16-65 ปีบริบูรณ์ (ต่ออายุสูงสุดไม่เกิน 70ปี) สำหรับบุตรต้องอายุไม่เกิน 20 ปี (ไม่เกิน2คน)

การคำนวณอายุ = ปีทำประกันภัย ลบด้วยปีเกิด

กรณีต่ออายุ เบี้ยประกันภัยจะคำนวณจากอายถสูงสุดของผู้เอาประกันภัยในแผนครอบครัว

  1. รับประกันภัยผู้มีสัญชาตไทย และชาวต่างชาติที่ผ่านขั้นตอน การตรวจคนเข้าเมืองอย่างถูกกฏหมาย โดยมีเอกสารประกอบการสมัครทำประกันภัย ดังนี้

ชาวไทย : สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สูติบัตร ,ชาวต่างชาติ  สำเนาPassport ,Work Permit ที่ยังมีผลบังคับ หรือเอกสารแสดงการมีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทยเป้นหลัก เช่นสัญญาเช่าบ้านระยะยาว สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

  1. ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดพิการ ทุพพลภาพ ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือโรคร้ายแรง หรือได้รับบาดเจ็บ ไม่เป็นผู้วิกลจริต และไม่เคยใช่สารเสพติดให้โทษใดๆ

4 อาชีพที่ไม่รับประกันภัย ได้แก่ อาชีพชั้น 3และชั้น 4 คือ อาชีพที่มีความเสี่ยงสูง  หรืออาชีพที่ต้องปฏิบัติงานนอกสถานที่เป็นประจำ ตัวอย่างเช่น  พนักงานส่งเอกสาร,พนักงานขับรถ,มอเตอร์ไซค์รับจ้าง,กรรมกร,คนงานในโรงงาน ,คนงานในเหมืองแร่,ยาม,เกษตรกร,ชาวประมง,พนักงานที่ต้องขึ้นที่สูง เช่น ติดตั้งเสาอากาศ,เช็ดกระจก,ช่างต่างๆ เช่น ช่างปูน ,ช่างไม้, พนักงานต้อนรับบนเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น

  1. ผู้เอาประกันภัย 1 คน สามารถทำสูงสุดได้ 1 กรมธรรม์เท่านั้น

สนใจสมัครประกันอุบัติเหตุ PA Happy Family 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุ


Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #สินเชื่อส่วนบุคคล

#ประกัน #สินเชื่อประกันการเดินทาง

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison