รู้หรือไม่!? ก่อน เกษียณ วัย ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอ

เกษียณ
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ว่ากันว่าเรื่องของการเวลาและเรื่องของสุขภาพเป็นสนิ่งที่เสียไปแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือทำให้มันกลับมาเหมือนเดิมได้ สุขภาพร่างกายก็ย่อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ที่สอดคล้องกันไปกับอายุไขต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องทำการใส่ใจและดูแลกันมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้  จากการพัฒนาในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โภชนาการ การศึกษา เศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ปัจจุบันประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น ซึ่งผู้สูงอายุในประเทศไทยมีประมาณ 11.8 ล้านคน จากประชากรกว่า 66 ล้านคน หรือร้อยละ 17.9 ดังนั้นแล้ว เราเคยคิดกันหรือไม่ว่าจะเรา เกษียณ อายุเมื่อใด และจะมีชีวิตอยู่หลัง เกษียณ ไปอีกนานแค่ไหน วันนี้ มาสิ ก็เลยได้หยิบยกอีกเหล่าเทคนิคดี ๆ ที่ว่าด้วยเรื่องว่า เราต้องเตรียมตัวอย่างไร ให้พร้อมสำหรับการใช้จ่ายในช่วงชีวิตหลังเกษียณ เพื่อที่เราที่เราจะได้เอาไปใช้วางแผนในอนาคตกัน ว่าแล้วก็อย่าเสียเวลากันดีกว่า พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย

ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เกษียณ วัย

การสูงวัยของประชากรที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หลายประเทศได้เตรียมพร้อมและดำเนินมาตรการต่าง ๆ รองรับกับสถานการณ์

เกษียณ
สังคมผู้สูงอายุ

ผลจากการเปลี่ยนผ่านทางประชากรทั้งอัตราการเกิด หรือภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ภาวะการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กและวัยแรงงานลดลงอันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาในระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โภชนาการ การศึกษา เศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้นและเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลประกาศให้ “สังคมผู้สูงอายุเป็นวาระแห่งชาติ” และขับเคลื่อนตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค.2561 มีแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุแห่งชาติครอบคลุมทั้งกลุ่มก่อนวัยสูงอายุ (25–59 ปี) เน้นเตรียมการสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ การให้ความสำคัญกับการออม การปรับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพผู้สูงอายุ รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติไม่มองผู้สูงอายุเป็นภาระ ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวครอบคลุมผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีมากขึ้น เน้นการเสริมทักษะใหม่แก่แรงงานผู้สูงอายุ ออกแบบการทำงานให้ยืดหยุ่น และสร้างแรงจูงใจให้นายจ้างจ้างงานผู้สูงอายุ จัดทำแผนบูรณาการด้านสุขภาพ และดูแลสุขภาพระยะยาวที่บ้านและในชุมชนตามระดับความจำเป็น

หลังเกษียณควรมีเงินใช้เท่าไรกัน?

หากถามว่ากันตามจริงว่าหลัง เกษียณ เราความที่จะเงินใช้เท่ากัน ต้องบอกเลยว่าไม่สามารถระบุตัวเลขตายตัวได้ เพราะแต่ละคนมีไลฟ์สไตล์และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น การใช้เงินในวัยเกษียณย่อมแตกต่างกันไปด้วย โดยยกตัวอย่างการคำนวณ 2 แบบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ

1.50-70% ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย

2.วิธีคิดแบบ Minimum Lump Sum (มินิมัมล่ำซำ) จำนวนเงินจากการคิดว่าหลังเกษียณ อยากใช้เงินต่อเดือนเท่าไร แล้วคูณระยะเวลาที่ต้องใช้หลังเกษียณ

เกษียณ

หากตั้งต้นแบบนี้ ภาพรวมจำนวนเงินที่เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณที่มีคุณภาพจึงเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ล้าน 9 ล้าน และ 12 ล้าน ความสะดวกสบายย่อมแปรผันตามจำนวนเงิน ซึ่งตัวเลขนี้ขยับจากตัวเลขเดิมที่ 4 ล้าน 7 ล้าน และ 9 ล้าน ที่เคยเป็นค่าเฉลี่ยในอดีตด้วยสภาวะเงินเฟ้อ สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป และอายุที่ยืนยาวขึ้นของคนไทย

การวางแผนสู่การเกษียณอย่างมีความสุข

การวางแผนสู่การเกษียณอย่างมีความสุข เริ่มต้นจากประเมินสถานการณ์หลังเกษียณของตนเอง ดังนี้

1.รู้รายรับต่อเดือน แหล่งที่มา และความมั่นคงของรายรับ เช่น​​

  • ข้าราชการ จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ และเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ​
  • พนักงานบริษัทเอกชนจะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนประกันสังคม
  • เงินออมที่ได้เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตการทำงาน บวกกับผลประโยชน์จากการนำเงินไปลงทุน ​

2.รู้รายจ่ายต่อเดือน เทียบกับรายรับที่คาดว่าจะได้รับ​

ส่วนใหญ่แล้ว ค่าใช้จ่ายประจำหลังเกษียณมักจะลดลง ซึ่งประเมินกันว่า ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะประมาณ 70% – 80% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนก่อนเกษียณ เช่น หากก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะประมาณ 21,000 – 24,000 บาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมเงินเฟ้อ และค่ารักษาพยาบาลที่อาจเพิ่มขึ้นตามวัย

ดังนั้น การเริ่มต้นบันทึกรายรับ-รายจ่ายเสียตั้งแต่วันนี้ จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ในปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ และค่าใช้จ่ายรายการใดจะลดลงหรือหมดไป เมื่อเกษียณแล้ว​

เกษียณ

3.รู้หลักประกันความมั่นคงทางการเงิน

เช่น สวัสดิการที่เบิกได้ และความคุ้มครองของประกันสุขภาพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันจะไม่กระทบกับจำนวนเงินที่จำเป็นสำหรับใช้จ่ายประจำ หากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ครอบคลุมเพียงพอ ควรพิจารณาออมหรือซื้อประกันเพิ่มเติม​

4.รู้ปัจจัยที่อาจมีผลต่อรายรับ-รายจ่าย 

อาทิ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ลูกหลานที่อาจนำพาความเดือดเนื้อร้อนใจมาให้ เป็นต้น​

การบริหารเงินหลังเกษียณ

  • ควรคงเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ประมาณ 2 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพื่อให้มีสภาพคล่องสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
  • นำเงินบางส่วนไปแบ่งฝากประจำในระยะต่าง ๆ เช่น 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี  โดยเลือกให้มีระยะเวลาครบกำหนดเหลื่อมกัน จะเป็นการบริหารสภาพคล่องและเพิ่มผลตอบแทนให้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์
  • ควรนำเงินส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ในระยะสั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนในระยะปานกลาง-ยาว
  • ​​ทางเลือกอื่น ๆ ในการลงทุน
  • คว​รติดตามข่าวสารและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินออมและเงินลงทุนของคุณอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเงิน รวมถึงภัยทางการเงิน ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อปกป้องเงินทองของตนเองที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาตลอดให้พ้นจากมิจฉาชีพด้วย
  • ควรมีวินัยในการใช้จ่ายเพื่อให้มีเงินเพียงพอจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5 ปีแรกของการเกษียณ ยังไม่ควรใช้จ่ายเกินกว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับ

เกษียณ

ที่สำคัญ ต้องวางแผนมรดกด้วย เพื่อให้การส่งต่อทรัพย์สินสู่คนรุ่นถัดไปเป็นไปอย่างเรียบร้อยและตรงตามเจตนารมณ์ของเรา  อย่าให้ทรัพย์สินกลายเป็นสาเหตุให้ลูกหลานต้องหมางใจกัน  โดยคุณต้องสำรวจและรวบรวมว่าเรามีทรัพย์สินอะไรบ้าง แต่ละอย่างมูลค่าเท่าใด  คุณต้องการให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาทอย่างไร ต้องการยกทรัพย์สินใดให้ผู้ใด  นอกจากนี้  ต้องพยายามสะสางหนี้สิน เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อ​กองมรดกที่ตั้งใจจะเก็บไว้ให้ลูกหลานด้วย​​

ดังนั้นแล้ว การวางแผนที่ดีมีชัยไปกว่า หากเรามีการเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิน ๆ  บอกได้เลยว่าบั่นปลายชีวิตมีความสุข เกษียณสำราญกันอย่างแน่นอน แต่สำหรับใคร ที่ปัจจัยหรือต้นทุนต่าง ๆ ในชีวิตยังไม่เอื้ออำนวยหรือสะดวกเพียงพอก็มาเสริมความสุขด้วยตัวช่วยทางการเงินอย่าง  บัตรกดเงินสด KTC PROUD รายได้เริ่มต้นตั้งแต่ 12,000 บาท ก็สามารถสมัคร แถมให้วงเงินกู้สูงถึง 5 เท่าของรายได้ ซึ่งจะมีเงื่อนไขการให้บริการอย่างไรบ้างนั้นไปดูกัน

บัตรกดเงินสด KTC PROUD

บัตรกดเงินสด KTC
บัตรกดเงินสด KTC

นอกจากนี้ยังมี บัตรกดเงินสด ที่น่าสนใจ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินเดือนหรือมีรายได้ประจำตั้งแต่ 12,000 บาท ก็สามารถสมัคร บัตรกดเงินสด KTC PROUD ได้แล้ว ให้วงเงินกู้สูงถึง 5 เท่าของรายได้ โดยสามารถนำบัตรกดเงินสดไปกดถอนเงินสดได้ที่ตู้ ATM ทุกตู้ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง

คุณสมบัติผู้สมัคร บัตรกดเงินสด KTC Proud

  • สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • มีรายได้อย่างน้อย 12,000 บาทขึ้นไป (สามารถรวมกับรายได้อื่นได้ด้วย)
  • ต้องมีหนังสือรับรองเงินเดือน / สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด
  • อายุการทำงาน 4 เดือน

สนใจสมัคบัตรกดเงินสด KTC PROUD

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สินเชื่อส่วนบุคคล

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh

Website: www.masii.co.th

Blog: https://masii.co.th/blog

Line: @masii

Tel: 02 710 3100 

Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh

Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri

Twitter: twitter.com/MasiiGroup

#สินเชื่อ #ประกัน

#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล

#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์

#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii

#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า

#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison