สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ยิ่งกลุ่มลูกค้าที่สมัครสินเชื่อ หรือ กู้เงินด่วน ดอกเบี้ยต่ำ ต้องประสบปัญหาการเงินขาดสภาพคล่อง ซึ่งล่าสุด! ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมจากผลกระทบโควิด-19 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อน ซึ่งจะมี มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ อย่างไรบ้าง Masii มีรายละเอียดมาอัปเดตกัน
เช็ก! มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จากธนาคารแห่งประเทศไทย
รักษาสภาพคล่อง เติมเงินใหม่ให้ ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย
1.ปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูสำหรับลูกหนี้ SMEs
ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 92,316 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายร่วมระหว่าง ธปท. กับสถาบันการเงินที่ 1 แสนล้านบาทได้ก่อนเดือน ตุลาคม 2564 โดยสินเชื่อกระจายตัวได้ดีและครอบคลุมลูกหนี้จำนวน 30,194 ราย เฉลี่ยรายละ 3.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นลูกหนี้ธุรกิจขนาดเล็ก (ร้อยละ 42.6) ประกอบธุรกิจการพาณิชย์และบริการ (ร้อยละ 67.5) และเป็นลูกหนี้ที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด นอกเขตกรุงเทพและปริมณฑล (ร้อยละ 68.5) อย่างไรก็ดี ธปท. ประเมินว่าภาคธุรกิจยังมีความต้องการสินเชื่อฟื้นฟูเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
2.ผ่อนปรนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสินเชื่อลูกหนี้รายย่อย ในส่วนของบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
บรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้ ตลอดจนเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ขยายเพดานวงเงินสำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท
- คงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตที่เคยผ่อนคลายไว้ก่อนหน้า
- ขยายเพดานวงเงินและระยะเวลาชำระหนี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
แก้ไขหนี้เดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยเหลือลูกหนี้ได้จริง
1.จัดชั้นสำหรับลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ได้จนถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินและลูกหนี้มีเวลาเพียงพอในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผลในระยะยาว
2.ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยวิธีที่นอกเหนือไปจากการขยายเวลาการชำระหนี้เพียงอย่างเดียว เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างสินเชื่อจากระยะสั้นเป็นระยะยาวร่วมกับการปรับโครงสร้างหนี้วิธีอื่น ๆ การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีการให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ รวมถึงการลดภาระการผ่อนชำระให้ลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยจูงใจให้เกิดการส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
3.ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือร้อยละ 0.23 จากร้อยละ 0.46 ต่อปี ที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 2564 นี้ ออกไปจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปในการบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ที่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง
สนใจสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล
นอกจาก มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ช่วงนี้ใครที่การเงินขาดสภาพคล่องจากผลกระทบโควิด-19 แนะนำสามารถเลือก สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล หรือ สินเชื่อประเภทอื่น ๆ เช่น สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อรีไฟแนนซ์ สินเชื่อบ้านแลกเงิน เพื่อรับเงินก้อนไปใช้จ่าย โดยสมัครออนไลน์ได้ง่าย ๆ ที่ Masii คลิกที่นี่ หรือสอบถามเกี่ยวกับการสมัครสินเชื่อเพิ่มเติ่ม ได้ที่ 02 710 3100 หรือไลน์ @masii
ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย