จากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ Covid -19 แพร่ระบาดทั้งโลกนั้น ในประเทศไทยเองก็มีหลายหน่วยงานออกมาเยียวยาหรือออกมาตรการช่วยเหลือกันอยู่ ไม่เว้นแม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยเอง ก็ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ชั่วคราว และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ออกมาประกาศถึงมาตรการช่วยเหลือในระยะที่ 2 ว่า หลังสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ลูกหนี้ไม่สามารถพักชำระหนี้ต่อได้แล้ว แต่ได้แนะ 8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ จะมีอะไรบ้างนั้น เรามาดูกัน
8 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ จากแบงก์ชาติ มีอะไรบ้าง
สำหรับ 8 ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้นั้น นั่นคือ “ยืด-พัก-ลด-ยก-เพิ่ม-เปลี่ยน-ปิด-รี” ซึ่งวิธีดังกล่าวนั้นเหมาะกับผู้ที่คิดว่าจะเริ่มผ่อนไม่ไหว ก็ให้รีบติดต่อกับทางสถาบันทางการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมนั่นเอง
ยืด-พัก-ลด-ยก-เพิ่ม-เปลี่ยน-ปิด-รี
- ยืด : ยืดเวลาชำระหนี้ หรือขยายเวลาชำระหนี้ เช่นสินเชื่อที่มีระยะเวลา 10 ปี แต่เราผ่อนมาแล้วครึ่หงนึ่ง เหลือเวลาอีกครึ่งหนึ่ง เราก็ขอติดต่อกับทางสถาบันทางการเงินเรื่องขอยืดเวลาขยายสัญญาออกไปอีกเพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้
- พัก : พักชำระเงินต้น เปนการลดภาระการผ่อนชั่วคราว ซึ่งปกติค่างวดในการผ่อนชำระจะมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งทางสถาบันการเงินอาจพิจารณาพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 3-6 เดือนและเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ก็ให้นำเงินก้อนมา โปะ เพื่อลดหนี้ก่อนถึงกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลง และหนี้หมดเร็วขึ้นครับ
- ลด : ลดอัตราดอกเบี้ย เพราะเมื่อใดที่ยอดดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง ภาระในการผ่อนเราก็จะสบายขึ้น และทำให้เราสามารถผ่อนจ่ายต่อได้ไหว เมื่อรเานำเงินต้นไปชำระ ดอกเบี้ยค่างวดก็จะลดลงเช่นเดียวกันครับ
- ยก : ยกหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ทางสถาบันการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยปรับได้ แต่ต้องไม่เป็นภาระแก่ลูกหนี้จนเกินไป หรือเป็นเหตุที่ทำให้ภาระหนี้สูงขึ้นมากจนชำระไม่ได้ กลายเป็นหนี้เสียในเวลาต่อมา
- เพิ่ม : เพิ่มเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนจะเป็นหนึ่งหนทางที่จะช่วยในยามธุรกิจลำบาก สำหรับผู้กู้หรือเจ้าของกิจการนั้นควรเตรียมเหตุผลและประมาณการรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 6-12 เดือนข้างหน้าเพื่อให้ทางสถาบันทางการเงินหรือธาคารพิจารณาวงเงิน
- เปลี่ยน : เปลี่ยนนประเภทหนี้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เราควรขอทางสถาบันทางการเงินพิจารณาจากสินเชื่อที่เรากู้เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยสูง ไปเป็นสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่านั่นเอง
- ปิด : ปิดจบด้วยเงินก้อน หากเรามีเงินเก็บเหลือสักก้อนหนึ่ง เราอาจจะสามารถเจรจาขอส่วนลดให้เพียงพอต่อการปิดหนี้จบทั้งบัญชีจากทางธนาคารได้
- รี : รีไฟแนนซ์ การยกเลิกสินเชื่อจากเจ้าหนี้เจ้าเดิมไปยังเจ้าหนี้ใหม่หรือธนาคารใหม่ ที่มีเงื่อนไขดีกว่านั่นเอง
ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าหลายๆหน่วยงาน หลายๆภาคส่วนได้ออกมาตรการออกมาเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาเยียวยาทุกคนจากภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ และเมื่อไหร่ที่ต้องการเงินฉุกเฉิน หรือเงินสำรองนั้นการมีบัตรกดเงินสดสักใบก็อาจจะช่วยเราได้ครับ เพราะอย่างนั้นหากใครต้องการเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรกดเงินสด
เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล
สามารถเข้ามาเปรียบเทียบด้วยตัวเองเลยครับ แค่คลิกที่นี่ คลิกเดียวก็ทำให้เราได้บัตรกดเงินสดหรือสินเชื่อส่วนบุคคลในแบบที่ตรงกับใจเราครับ หรือแอดไลน์มาสอบถามได้ครับ ทาง Line@ : @masii