masii tips I 4 เรื่อง การเงิน ต้องรู้ ก่อนคิด ย้ายงาน

ย้ายงาน
masii tips I 4 เรื่อง การเงิน ต้องรู้ ก่อนคิด ย้ายงาน
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

หลังฤดูกาลรับ เงินโบนัส กิจกรรมยอดฮิตหนึ่งของ พนักงานประจำ คือ การย้ายงาน เพื่อเพิ่มค่าตัวให้กับตนเองหรือมองหา ประสบการณ์ทำงาน ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นกว่างานเดิมที่ทำอยู่ โดย เงิน ถือเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการตัดสินใจว่าจะ ย้ายงาน หรือไม่ ย้ายไปที่ไหน ซึ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ หรือ เรื่อง การเงิน ที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจย้ายงาน มีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน …

4 เรื่อง การเงิน ต้องรู้ ก่อนคิด ย้ายงาน

ลูกจ้างควรรู้! รักษาสิทธิประโยชน์อย่างไรเมื่อถูกกดดันให้เขียนใบลาออก

1. เงินเดือนขึ้น vs ค่าใช้จ่ายที่เพิ่ม

โดยปกติการย้ายงาน คนส่วนใหญ่มักคาดหวังการขึ้นเงินเดือน เช่น อย่างน้อย 20%-30% เพื่อจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายหรือเหลือเก็บมากขึ้น แต่เมื่อย้ายหรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ก็อาจมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เปลี่ยนไปหรือเพิ่มสูงขึ้นได้ เช่น

  • ค่าเดินทาง : ที่อาจไกลบ้านมากขึ้น หรืออยู่ในตัวเมือง ที่ทำให้ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถ ค่าเรียก Taxi / Car หรือค่าตั๋วรถไฟฟ้า ในแต่ละวันสูงขึ้น
  • ค่าครองชีพ : สำหรับที่ทำงานในตัวเมือง ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม / กาแฟ ค่าขนมยามบ่าย มักสูงกว่าที่ทำงานนอกเมือง หรือในนิคมอุตสาหกรรม
  • ภาษีสังคม : เมื่อต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานใหม่ หรือเมื่อ ตำแหน่งงาน สูงขึ้น ก็อาจต้องซื้อของแจกหรือเลี้ยงอาหารน้องในทีมบ้าง รวมถึงเงินใส่ซองงานต่างๆ ก็ย่อมสูงขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาของโลกการทำงาน

2. รายได้ ที่ขึ้นเป็นส่วนของ เงินเดือน เท่าไร

หลายครั้งที่การเจรจาต่อรองรายได้กับที่ทำงานใหม่ ฝ่าย HR มักนำเสนอ package รายได้ ที่ทำให้ดูสูง อย่างการบอกยอดรายได้รวมจาก เงินเดือน ค่าน้ำมัน / โทรศัพท์เหมาจ่าย ค่าคุณวุฒิ / ใบอนุญาต เงินโบนัสเฉลี่ย เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จากนายจ้าง เป็นต้น แต่ในแง่ความแน่นอนของรายได้แล้ว เงินเดือน ถือเป็นรายได้ตามสัญญาจ้างที่ไม่สามารถถูกปรับลดได้ง่าย หากไม่ได้กระทำความผิดต่อนายจ้างหรือทำผิดข้อบังคับบริษัท

ส่วนรายได้อื่น เช่น ค่าน้ำมันเหมาจ่าย ค่าคุณวุฒิ/ใบอนุญาต ฯลฯ อาจถูกลดหรือตัดออกได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานหรือปรับโครงสร้างที่ทำงาน ส่วนเงินโบนัส ถือเป็นรายได้ผันแปร ที่ไม่แน่นอนขึ้นกับผลประกอบการบริษัทและการประเมินผลงานประจำปี เป็นต้น ส่วนเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากนายจ้าง แม้เป็นเงินส่วนเพิ่มจากรายได้อื่นแต่ก็ถูกในไปเก็บไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที

อีกทั้งเงินเดือน มักถูกใช้เป็นฐานในการคำนวณสวัสดิการหรือรายได้อื่น เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ฯลฯ รวมไปถึงเงินชดเชยตาม กฎหมายแรงงาน ที่จะได้รับเมื่อ ถูกเลิกจ้าง หรือ เกษียณอายุ ก็คำนวนจากฐานเงินเดือน 30-400 วันสุดท้าย ก่อนสิ้นสภาพลูกจ้างเช่นกัน

3. เกณฑ์และสวัสดิการ เมื่อเกษียณอายุ

    • เกณฑ์อายุที่เกษียณ : เช็กว่าอยู่ที่อายุเท่าไร หากเกณฑ์เกษียณเร็วกว่าที่ทำงานเดิม สะท้อนถึงโอกาสการหารายได้ที่สั้นลง รวมถึงระยะเวลาใช้จ่ายและเงินหลังเกษียณที่ต้องเตรียมมากขึ้น
    • เงินก้อนที่ได้รับเมื่อเกษียณอายุ : เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่ได้รับอาจน้อยลงเนื่องจากอายุงานของบริษัทล่าสุดน้อยลงเมื่อเทียบกับการทำงานที่บริษัทเดิม จึงควรเช็กกับที่ทำงานใหม่ว่า มีเงินก้อนส่วนอื่นอีกไหม และมีเกณฑ์การได้รับเงินก้อนนั้นอย่างไร
เรื่องเงิน ย้ายงาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ :

  • เช็กว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบที่อัตราเท่าไร สูงกว่าที่ทำงานเดิมหรือไม่ เพราะเงินสมทบส่วนนี้จะถูกเก็บไว้ในกองทุนฯ เพื่อนำออกมาใช้เมื่อเราเกษียณอายุหรือออกจากงาน
  • เช็กว่าหากออกจากงานก่อนเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนแค่ไหน ได้รับส่วนของนายจ้างทั้งหมดหรือแค่บางส่วน หากยังไม่ได้ตั้งใจทำงานที่ใหม่นี้ไปจนเกษียณอายุ
  • เช็กนโยบายการลงทุนว่า มีนโยบายให้เลือกที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้หรือช่วงอายุตน เพื่อให้เงินได้งอกเงยอย่างเหมาะสมหรือไม่

4. สิ่งที่หายหรือลดไป จากการย้ายงาน

  • เงินเดือนขึ้น และ เงินโบนัสสิ้นปี นี้ : ปีแรกที่ทำงาน กับ บริษัทแห่งใหม่ หากจำนวนวันในการทำงานต่ำกว่าเกณฑ์ที่ HR กำหนด โดยเฉพาะกรณีช่วงการประเมินผลงานสิ้นปียังไม่พ้นช่วงทดลองงาน อาจส่งผลให้

    -การขึ้นเงินเดือน ไม่ได้รับการพิจารณาหรือได้น้อยกว่าคนอื่นที่มีผลการประเมินผลงานที่เท่ากัน

    – เงินโบนัส แม้จะได้รับตามจำนวนเท่าของเงินเดือนเหมือนคนอื่น แต่อาจได้รับตามสัดส่วนจำนวนวันทำงาน เช่น เข้างานช่วงกลางปี อาจได้รับเงินโบนัสเพียง 50% ของเงินโบนัสที่ควรได้หากทำงานเต็มปี เป็นต้น

  • สวัสดิการช่วงทดลองงาน : เช่น 3-6 เดือนแรกที่เข้างาน อาจยังไม่สามารถเบิกสวัสดิการใดๆ ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเจ็บป่วยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคม และไม่เคยซื้อประกันสุขภาพไว้ ก็อาจต้องควักเงินเก็บมาจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลเอง
  • วันลาพักร้อน : ตามกฎหมายแรงงานแล้ว พนักงานต้องได้รับสิทธิลาพักร้อนหลังทำงานครบ 1 ปีเต็ม แต่บางบริษัทก็อาจเริ่มให้สิทธิลาพักร้อนหลังพ้นช่วงทดลองงาน ดังนั้นในช่วง 1 ปีแรกของการทำงาน อาจต้องปรับลดแผนการท่องเที่ยวประจำปีลง เป็นต้น

เปลี่ยนงาน ไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนเพื่อน เปลี่ยนสังคม เท่านั้น แต่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเงินหรือการวางแผนการเงินของตนเองอีกด้วย จากปัจจัยรายได้ ค่าใช้จ่าย และสวัสดิการต่างๆ ที่เปลี่ยนไป

……………………………………….

ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคืองทั่วโลกเช่นนี้ ในบางครั้งบางวัน หากคุณเงินขาดมือ ขาดสภาพคล่อง มาสิ ก็ขอแนะนำ https://masii.co.th/thai/loan เว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญด้านการเงินและเทคโนโลยี ที่ให้บริการข้อมูลในด้านของการ เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และ  ประกันภัย ต่างๆ ให้กับคนไทย โดยมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคนจากทั่วประเทศ ซึ่งเว็บไซต์ของเรามีความเชื่อถือได้ และช่วยให้คุณและครอบครัวตัดสินใจทางการเงินได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงสร้างทางเลือกสู่อิสรภาพทางด้านการเงินให้กับคุณ

สนใจสมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล

เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติม โทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือ แอดไลน์มาเป็นเพื่อนกับเราที่ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันรถยนต์ ประกันมอเตอร์ไซค์ ประกันภัยโดร ประกันเดินทาง ประกันสุขภาพ รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด และ บัตรเครดิต จากสถาบันการเงินชั้นนำ

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison

banner-blog-masii PL