เปิดวิธี ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ยื่นภาษีออนไลน์ 2567
ปิดวิธี ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เปิดวิธี ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

ยื่นภาษี

“ การยื่นภาษี ” คือ การยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อแจ้งรายละเอียดเงินได้และค่าลดหย่อนของเราให้กรมสรรพากรทราบ จากนั้นระบบจะคำนวณให้ว่าเงินได้สุทธิของเราเกินเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ถ้าเกินก็จะต้องเสียภาษีนั่นเอง

ในยุคปัจจุบันการ ยื่นภาษี มีความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีการทำในระบบออนไลน์ วันนี้ ข่าวสด จึงสรุปวิธี ยื่นภาษีออนไลน์ ปี 2567 เพื่อเป็นแนวทางในการ ยื่นภาษี 2566 อย่างเข้าใจง่าย ดังนี้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมา โดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่แบบ

สำหรับบุคคลธรรมดา มีแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 แบบ ได้แก่

  1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
  2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้ หากมีเงินได้สุทธิต่อปี ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นทางภาษีตามกฎหมาย ขณะรายได้มากกว่า 150,000 บาทต่อปี มีอัตราการเสียภาษีแตกต่างกันออกไป

เอกสารที่ต้องเตรียมในการ ยื่นภาษี

  1. หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากบริษัท ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าในปีนั้น ๆ เรามีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไหร่บ้าง
  2. รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
  3. เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ

วิธี ยื่นภาษีออนไลน์ 2567 ดังนี้

1.เริ่มแรกเข้าไปที่เว็บไซต์ของ กรมสรรพากร ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/

  • ทำการ “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน แต่หากใครที่ยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอนก่อน
  • ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
  • กดยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 โดย ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล ส่วน ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น

2.ดึงข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ

  • กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  • ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
  • เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการ ยื่นภาษี จากนั้นกด เริ่มยื่นแบบ

3.ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ

  • ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ สถานะตนเอง โสด, สมรส, หม้าย กรณีที่สมรสแล้วจะมีให้เลือกว่า อยู่ร่วมกันตลอดปี ระหว่างปี หย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างปี 2566

4.ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้

  • ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่าง ๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา

สำหรับขั้นตอนนี้ หากเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน ให้เลือกรายได้จากเงินเดือน คลิกที่ “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)” จากนั้นระบบจะให้กรอกข้อมูลดังนี้

  • รายได้ทั้งหมด ให้รวมรายได้จากทุกนายจ้าง จากทุกบริษัทที่เข้าทำงานตลอดปี 2566 แล้วกรอกเลขเดียว
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้รวมภาษีที่นายจ้างแต่ละที่หัก แล้วกรอกเลขเดียว
  • เลขผู้จ่ายเงินได้ คือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนายจ้าง หากรับเงินจากหลายนายจ้าง ให้กรอกเลขของนายจ้างที่จ่ายให้เรามากที่สุด
  • เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คลิก “บันทึก”

ทั้งนี้ หากมีรายได้อื่น ๆ ให้กรอกไล่ไปทีละข้อ โดยควรคำนวณตัวเลขให้พร้อม ก่อนเริ่ม ยื่นภาษีออนไลน์

เมื่อบันทึกรายได้แต่ละข้อเสร็จ ระบบของกรมสรรพากรจะพากลับไปที่หน้ารายได้เหมือนเดิม ขั้นตอนนี้แนะนำให้ตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

5.กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนภาษี ซึ่งค่าลดหย่อนภาษีของปี 2566 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร 30,000 บาท (เพิ่มอีก 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป)
กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน และการลงทุน
  • ลดหย่อนเงินประกันสังคมไม่เกิน 9,000 บาท
  • ลดหย่อนประกันสุขภาพบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
  • ลดหย่อนกองทุน RMF ไม่เกิน 500,000 บาท
  • ลดหย่อนกองทุน SSF ไม่เกิน 200,000 บาท

*ค่าลดหย่อนกองทุน RMF และ SSF รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
  • ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป ไม่เกิน 10% ของเงินได้
  • ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และการบริจาคสาธารณะ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้
  • ลดหย่อนเงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • ลดหย่อนโครงการช้อปดีมีคืน ไม่เกิน 40,000 บาท
  • ลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ระบบจะดำเนินการคำนวณค่าใช้จ่าย และลดหย่อนภาษี ออกมาเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะถูกนำไปคำนวณภาษี

6.ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด

7.กดยืนยันการยื่นแบบภาษีออนไลน์

เสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ต้องอัพโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี

วางแผน ‘ ลดหย่อนภาษี ’ ด้วย ประกันสุขภาพ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

ลดหย่อนภาษี

สิทธิลดหย่อนภาษี ซื้อประกันสุขภาพให้ตัวเอง

สำหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และมีการเสียภาษีหรือไม่ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิของตนเองทั้งปี มาหักค่าลดหย่อนภาษีที่มีทั้งหมด หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นเสียภาษี แต่ถ้ารายได้สุทธิเกิน 150,000 บาท ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนด

รายการลดหย่อนภาษี ถ้าคุณซื้อประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี 2565 ได้ไม่เกิน 25,000 บาท ( จากเดิมได้ 15,000 บาทต่อปี ) เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

ลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพ คือหนึ่งตัวช่วย ลดหย่อนภาษี

ว่าด้วยเรื่องของการ ยื่นภาษี อีกไม่กี่วันก็จะหมดเวลายื่นภาษีภ.ง.ด. 90 – 91 แล้ว เชื่อว่าหลายคนกำลังวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อจะให้ตัวเองเสียภาษีน้อยที่สุด หรือบางคนก็ขอคืนภาษีเนื่องจากมีอะไรมาลดหย่อนมากมาย สำหรับคนที่จะขอคืนภาษีถ้าได้ก็ถือว่าได้ค่าขนมไปเบาๆ นำเงินไปหมุนใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไป แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่กำลังหาตัวช่วยใน การลดหย่อนภาษี อยู่ หนึ่งในวิธีที่ฮอตฮิต คือ การซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษี แต่อย่างไรก็ตามประกันชีวิตแต่ละตัวก็จะมีเงื่อนไขต่างๆ มากมาย การคุ้มครอง และรายละเอียดการลดหย่อนภาษีต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ซื้อประกันจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดี

วันนี้  มาสิ จะพามารู้จักว่าการซื้อ ประกันสุขภาพ ประเภทไหนจะเข้าเงื่อนไขที่จะสามารถนำมา ลดหย่อนภาษี ได้โดย ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ได้จะต้องมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

ลดหย่อนภาษี

สิทธิลดหย่อนภาษี ซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่

นอกจากนี้ หากคุณต้องการซื้อประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงที่จ่ายไม่เกิน 15,000 บาท โดยพ่อแม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท / ปี  แต่ไม่จำเป็นต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป

หมายเหตุ: สิทธิลดหย่อนภาษี ประกันสุขภาพ ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ให้อ้างอิงจากกรมสรรพากรเป็นหลัก

ลดหย่อนภาษี

masii พาส่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ประกันลดหย่อนภาษี

– ต้องประกันเอาไว้กับผู้รับประกันที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย

– ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ ชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ

– ประกันภัยอุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ การแตกหักของกระดูก

– ประกันภัยโรคร้ายแรง

– ประกันภัยการดูแลระยะยาว

ข้างต้นนี้คือ สิทธิลดหย่อนภาษี 2565 ข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ให้อ้างอิงจากกรมสรรพากรเป็นหลัก ถ้าคุณศึกษาเรื่องการยื่นภาษี ลดหย่อนภาษี จะช่วยให้คุณจ่ายภาษีต่อปีน้อยลง หรือบางคนก็แทบไม่ได้จ่ายเลย 

สนใจ ซื้อประกันสุขภาพ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม