masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!
masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยโรคหัวใจมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย ซึ่งการตรวจโรคหัวใจจะมีหลายรูปแบบ นอกจากนี้การตรวจโรคหัวใจอาจจะแบ่งได้จากผู้ที่เข้ามาตรวจเพราะมีอาการทางหัวใจ ไม่ว่าจะเป็น เหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก , เหนื่อยง่าย, มีอาการใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หรือบางคนไม่มีอาการอะไรที่แสดงว่าเป็นโรคหัวใจ แต่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ประวัติเสียชีวิตฉับพลันในครอบครัว ตั้งแต่อายุน้อยๆ โปรแกรมการตรวจคัดกรองก็จะแตกต่างกัน เราไปดูความน่าสนใจในวันนี้กันครับ พร้อมดูว่า ประกันสุขภาพ ที่ไหนบ้าง ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม โรคหัวใจ …

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ แพทย์มักเริ่มด้วยการตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วย รวมถึงบุคคลในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นโรคหัวใจ จากนั้นจึงพิจารณาความเป็นไปได้แล้วเลือกวิธีวินิจฉัยขั้นต่อไป ซึ่งการตรวจอาจจะแบ่งออกเป็น การตรวจพื้นฐาน และการตรวจพิเศษ

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

การตรวจพื้นฐาน หรือการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเบื้องต้น

  1. การตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะอ้วนเกินมาตรฐานหรือไม่ จับชีพจร เพื่อดูอัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นหัวใจ เช็คความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ รวมถึงการตรวจร่างกายทั้งระบบ เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ รวมถึงดูโรคอื่น ๆ ที่อาจะพบร่วมด้วย โดยจะมีการสอบถามประวัติด้านสุขภาพ เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และนิสัยการออกกำลังกาย ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเองและของบุคคลภายในครอบครัวก็เป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นเดียวกัน
  2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG หรือ ECG)เป็นการตรวจกระแสไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจบีบตัว เป็นวิธีการตรวจหาโรคหัวใจที่ง่าย ได้ผลดี ไม่เจ็บ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที

วิธีการตรวจ : แผ่นนำไฟฟ้าจะถูกวางบนหน้าอกเพื่อจับสัญญาณกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะพิมพ์ออกมาบนกระดาษกราฟ รูปแบบของสัญญาณที่สม่ำเสมอแสดงว่าหัวใจทำงานปกติ แต่ถ้ามีความแตกต่างในบางจุดของรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าก็อาจแสดงว่ามีบริเวณหนึ่งบริเวณใดของหัวใจได้รับบาดเจ็บหรือถูกทำลาย การตรวจนี้อาจให้ผลปกติ ในภาวะที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในระยะเริ่มต้น หากสงสัยแนะนำให้ตรวจซ้ำ

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

  1. เอกซ์เรย์ทรวงอก หรือ เอกซ์เรย์ปอดจะสามารถมองเห็นความผิดปกติของปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือภาวะหัวใจล้มเหลวได้
  2. การตรวจเลือดประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจhs-CRP High-Sensitivity C-reactive protein คือ การตรวจเพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เป็นการตรวจหาระดับโปรตีนที่มีชื่อว่า C-reactive Protein (ซี-รีแอคทีฟโปรตีน) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของ หากเซลล์อักเสบอย่างต่อเนื่องระดับ CRP ก็จะสูงตาม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและพัฒนาไปสู่โรคร้ายหลายๆ ชนิดได้ เช่น มะเร็ง การเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ การตรวจลักษณะนี้เป็นการตรวจที่สพดวกและง่ายที่สุด ใช้เลือดจำนวนน้อย ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก็รู้ผล
  3. การตรวจหาการอุดตันของหลอดเลือดแดง (ABI) เป็นการตรวจสมรรถภาพหลอดเลือดแดง ด้วยเทคโนโลยี ABI (Ankle-Brachial Index) เพื่อตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ที่สามารถนำไปสู่การค้นหาโรคอื่น ๆ อาทิ หลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ เป็นการตรวจที่ง่าย ปลอดภัย ไม่เจ็บ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ ทราบผลเร็ว มีความแม่นยำสูง ไม่เสี่ยง
  4. การตรวจหาความหนาของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ2 ด้าน (Carotid Intima Thickness) เพื่อประเมินสภาวะของหลอดเลือด ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดตีบในอนาคต เป็นการตรวจแบบอัลตราซาวน์ ไม่ต้องสอดใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียง ไม่เสี่ยงต่อการสัมผัสรังสีในการตรวจวัด มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ไม่ต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ทำซ้ำได้โดยไม่อันตราย
  5. การตรวจคราบหินปูนในหลอดลือดหัวใจ (Calcium Score) เป็น

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

การตรวจที่ชัดเจน ให้ความแม่นยำสูง ด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 128 Slice ใช้เวลาตรวจรวดเร็วเพียง 10-20  นาที ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ไม่ต้องฉีดสีสวนหัวใจ ภาพที่ได้จากการตรวจจะมีความคมชัด เนื่องจากเครื่องมือมีความเร็วในการจับภาพสูงมาก สามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต็นได้ดีและจะบอกถึงปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ แม้ในปริมาณที่น้อย จึงเป็นการตรวจหาภาวะเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเริ่มต้นในคนปกติได้ดี

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

 การตรวจพิเศษ 

  1. การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย รูปแบบจะคล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือ จะมีแผ่นตะกั่วชุดหนึ่งแปะติดกับหน้าอก มีการบันทึกในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ เร็วขึ้นเรื่อย ๆ หรือการขี่จักรยานอยู่กับที่ เมื่อออกกำลังกายจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มเร็วขึ้น และความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้

กลุ่มที่คุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจ คือคนที่มีอาการเหนื่อย เหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก แล้วสงสัยว่ามีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบหรือเปล่า

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

  1. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงระบบดิจิตอลผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ ด้วยหัวตรวจชนิดพิเศษทำให้เห็นภาพของห้องหัวใจ การบีบตัวเพื่อดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ การไหลเวียนของเลือด ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรค ตรวจหาความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษาโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยสูง ไม่เจ็บ ไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร สามารถทำได้ตลอดเวลา

กลุ่มที่คุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจ คือคนที่มีอาการเหนื่อย หอบ และมีอาการบวม หรือมีปัญหาเรื่องของลิ้นหัวใจตีบ หัวใจโต

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

  1. การตรวจหัวใจด้วยเครื่องบันทึกไฟฟ้าแบบพกพา (Holter Monitor) เป็นการติดเครื่องมือบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ชม. มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา กะทัดรัด สามารถพกพาไปได้ทุกที่ สามารถทำกิจกรรมทั่วไป หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เครื่องจะทำการอัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา หากมีอาการเครื่องจะบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทำให้แพทย์ทราบถึงปัญหาได้

กลุ่มที่คุณหมออาจจะแนะนำให้ตรวจ คือ คนที่มีปัญหาใจสั่น หน้ามืด เป็นลม แต่อาจจะเป็นไม่กี่นาทีก็หาย มาโรงพยาบาลตรวจไม่พบสาเหตุ หรือผู้ที่มีอาการหัวใจเต็นผิดจังหวะ

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

  1. การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography) เป็นการตรวจโรคหัวใจแบบเจาะลึก เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดของหัวใจ ที่มีความละเอียดที่สุด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ควบคู่กับการฉีดสี ไม่มีการสอดใส่อุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในร่างกาย ใช้เวลาไม่นาน การตรวจต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

สำหรับบางคนที่ไม่มีอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่มีครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตฉับพลันด้วยโรคหัวใจ ตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคไหลตาย กลุ่มเหล่านี้คุณหมอก็จะแนะนำให้ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ โดยการตรวจเบาหวาน ไขมัน ความดันโลหิต พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถประเมินความเสี่ยงได้

การประเมินความเสี่ยงจะเป็นการคำนวน ในรายที่ความเสี่ยงสูงเกิน 10% จะเกิดปัญหาโรคหัวใจในอนาคต ภายใน 10 ปี คุณหมอจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม

  1. ดูค่าหินปูนในเส้นเลือดหัวใจ โดยการทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ถ้าค่าหินปูนมากผิดปกติ แสดงว่าโรคเริ่มมาที่หัวใจ
  2. ตรวจดูว่าเส้นเลือดที่คอ ที่แขนขาตีบไหม เส้นเลือดที่คอตีบไหม เพราะถ้าหลอดเลือดที่แขน ขา หรือคอตีบ เส้นเลือดหัวใจก็อาจจะตีบด้วย เนื่องจากเป็นอวัยวะเดียวกัน
  3. ตรวจดูฮอร์โมนในเส้นเลือด ที่บ่งถึงการอักเสบของเส้นเลือด ถ้าตรวจเจอการอักเสบเกิดขึ้นเยอะอาจจะบ่งชี้ว่ามีปัญหาที่เส้นเลือดแล้ว คุณหมอก็จะได้ให้คำแนะนำในการดูแลที่เพิ่มขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจวิชัยเวช รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม

โรคหัวใจ ประกันสุขภาพ คุ้มครองไหม 

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง คุ้มครองโรคหัวใจ 

ปัจจุบันมีแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์และครอบคลุมการเจ็บป่วยมากยิ่งขึ้น เช่น ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง ที่ให้ความคุ้มครองการเจ็บป่วยจากกลุ่มโรคร้ายแรง ซึ่งในบางแผนประกันสุขภาพ โรคหัวใจถูกจัดให้เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคร้ายแรงอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ประกันโรคร้ายแรง AIA, ประกันโรคร้ายแรง อลิอันซ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมี ประกันสุขภาพ อื่น ๆ ที่น่าสนใจ พร้อมให้ความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยจากโรคหัวใจ เช่น ประกัน SMK Health Care  หรือ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ของสินมั่นคงประกันภัย , ทิพยจัดเต็ม 15,000 ของ ทิพยประกันภัย เป็นต้น ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกสมัครได้ตามความต้องการและงบประมาณ ที่สำคัญบางแผนประกันสุขภาพ เบี้ยประกันสุขภาพ ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ตามเงื่อนไขของสรรพากร

masii สรุปครบ! การตรวจโรคหัวใจ ตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง ? “ โรคหัวใจ ” ประกันสุขภาพ คุ้มครองหรือไม่ ? คลิก!

ประกันสุขภาพ ไม่คุ้มครองโรค หรือ การเจ็บป่วย ก่อนทำประกันสุขภาพ 

อย่างไรก็ตามการทำประกันสุขภาพ จะมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันควรทำความเข้าใจทุกครั้ง เช่น ไม่คุ้มครองโรค หรือ การเจ็บป่วย ก่อนทำประกันสุขภาพ รวมถึงมีระยะเวลารอคอยที่แตกต่างกัน เช่น หากผู้เอาประกันเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ มาก่อนทำประกันสุขภาพ หรือ เกิดเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจภายในช่วงระยะเวลารอคอย ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองนั่นเอง

สนใจสมัครประกันสุขภาพ

ใครที่ต้องการทำประกันสุขภาพ ไม่ว่าเป็น ประกันโรคหัวใจ ประกันโรคร้ายแรง ประกันโรคมะเร็ง ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ประกันสุขภาพเด็ก ประกันสุขภาพผู้สูงอายุ ประกันไข้เลือดออก หรือ ประกันสุขภาพในความคุ้มครองอื่น ๆ สามารถเลือกสมัครประกันสุขภาพออนไลน์ผ่านมาสิได้ง่าย ๆ เพียงแค่ คลิกที่นี่ หรือโทร 02 710 3100  รวมถึงทัก LINE @masii มาปรึกษากับพนักงานของเราได้เลยครับ

 อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ ประกันโควิด ”

_____________________________________________

Please become Masii Fan

Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison