โดรน คืออะไร กับภัยของการใช้โดรนที่ผิดวิธี

โดรน
โดรน คืออะไร กับภัยของการใช้โดรนที่ผิดวิธี
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

ในความเข้าใจหลาย ๆ คน หมายถึงเครื่องบินอัตโนมัติหรือที่ถูก บังคับโดยบุคคลที่อยู่ภาคพื้น ซึ่งปัจจุบันกลับเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างรวดเร็ว และแพร่หลายในประเทศไทย โดรน ถือว่าเป็นอากาศยานชนิดหนึ่ง และได้รับคำจำกัดความตามประกาศกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2558 เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกว่า “ อากาศยานที่ควบคุมโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ” โดยไม่รวมเครื่องบินเล็กที่ใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกำหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ.2558 สำหรับใครที่กำลังเป็นเจ้าของโดรนอยู่ นี่คือเรื่องที่คุณไม่ควรพลาด จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ตาม masii ไปดูกันได้เลยครับ ..

โดรนโดรน คืออะไร ?

การมาของโดรน ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และไม่ใช่ของเล่น?

เพราะโดรนในยุคแรกๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการด้านการทหารเป็นหลัก ซึ่งสามารถสั่งโจมตี ปล่อยอาวุธ และด้วยคุณสมบัติโดดเด่นที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ด้วยต้นทุนที่ต่ำในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการบินสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้โดรนกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

และไม่ได้จำกัดแค่ด้านความมั่นคงเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบัน “โดรน” มีบทบาทต่อทุกภาคส่วนมากขึ้น และมีการนำโดรนไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย เช่น การถ่ายภาพ การสำรวจ การขนส่ง การเกษตร ด้านโปรดักชั่น และสนับสนุนภารกิจด้านการบรรเทาสาธารณภัย เป็นต้น และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างรวดเร็วในอนาคต ด้วยเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น และราคาที่ถูกลง ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าในอนาคตทุกคนจะมีโดรนไว้ใช้งานในชีวิตประจำวัน

แต่หากใช้โดรนในทางที่ผิด ก็อาจส่งผลเสียตั้งแต่ระดับเล็กจนถึงระดับมหาศาลได้เช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากอุบัติเหตุโดรนชนเครื่องบิน ซึ่งตอนนี้พบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นแล้ว ทำให้ตัวเครื่องบินได้รับความเสียหายจากการชนโดรน และทำให้การบินต้องล่าช้าออกไป เสียค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงราคาแพง และที่สำคัญ หากชนแล้วได้รับความเสียหาย อาจเป็นอันตรายต่อนักบิน ผู้โดยสารบนเครื่องบินหลายสิบหลายร้อยชีวิต และผู้ที่อยู่บริเวณด้านล่างด้วย

อีกส่วนหนึ่งโดรนที่ใช้การเกษตรซึ่งใช้สารเคมีมาโรยตามพื้นที่เกษตร มันก็สามารถเปลี่ยนเป็นอาวุธฉีดสารอันตรายใส่ผู้อื่นได้เช่นกันและอาจอันตรายถึงชีวิตได้ ทำให้ในไทยตอนนี้ยังไม่เปิดลงทะเบียนโดรนสำหรับการเกษตร หากจะใช้โดรนเพื่อใช้ทำเกษตร ก็ต้องส่งข้อมูลโดรน พร้อมแจ้งความประสงการใช้งานเกษตรที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย แล้วรอคำตอบว่าจะได้ใช้โดรนทำเกษตรได้หรือไม่
ดังนั้นการใช้โดรนในการบินต่างๆนี้ไม่ใช่การบินเล่นๆอีกต่อไป ขณะเดียวกันผู้บังคับโดรน ก็จะไม่ถูกเรียกว่านักเล่นโดรนอีก แต่ถือว่าเป็นนักบินโดรน ซึ่งต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับกฎการบินด้วย เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อนักบินบนเครื่องบิน และไม่ให้บินล้ำเป็นภัยต่อความมั่นคงทางอากาศ ที่ทางกองทัพฯ จะจัดการโดรนด้วยการใช้อุปกรณ์ Anti Drone

โดรน

” สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ กสทช. จึงบังคับให้ผู้มีโดรน และ ผู้บังคับโดรนต้องขึ้นทะเบียนโดรนไว้ “

เพื่อเป็นการป้องกันการใช้โดรนในทางที่ผิด คอยกำกับดูแลการบินต่างๆในประเทศ และสามารถค้นหาโดรนได้ว่าใครเป็นเจ้าของ ทาง สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และ กสทช. จึงบังคับให้ผู้มีโดรน และ ผู้บังคับโดรนต้องขึ้นทะเบียนโดรนไว้ หลังมีประกาศที่เกี่ยวข้องกับโดรน ถึง 7 ฉบับด้วยกัน คือ
๑. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกพ.ศ. ๒๕๕๘
๒. ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่องแนวทางในการพิจารณาอนุญาตให้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอกทำการบินในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราว พ.ศ.๒๕๖๑
๓. คำสั่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การขึ้นทะเบียนเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone)
๔. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับใช้งานเป็นการทั่วไป (พ.ศ.2561)
๕. พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติต่ออากาศยานที่กระทำผิดกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓
๖. พระราชบัญญัติคุ้มครองความลับในราชการ พ.ศ. ๒๔๘๓
๗. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.๒๔๙๙ มาตรา ๑๓๕/๑, ๒๒๙, ๒๓๒, ๓๖๒

โดยผู้ที่จะใช้โดรนในการทำการบิน ต้องขึ้นทะเบียนโดรนเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ ที่สำนักงาน กสทช.
และขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรน (นักบินโดรน) ที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย CAAT ซึ่งตอนนี้ได้เปิดเว็บไซต์ลงทะเบียนทางออนไลน์ได้แล้ว อย่างไรก็ตามก็ต้องมีหลักฐานสำคัญให้ครบและต้องมีประกันโดรนด้วย

และนอกเหนือจากกฎหมายแล้ว สิ่งสำคัญพื้นฐานที่ผู้ใช้โดรนควรศึกษาก่อนก็คือ ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน เพราะหากเราถือว่าโดรนคืออากาศยานประเภทหนึ่ง นั่นก็หมายความได้ว่าผู้ใช้โดรน ก็คือ “ นักบิน ” โดรน นั่นเอง ไม่ใช่นักเล่นโดรน และโดรนก็ไม่ใช่ของเล่นอีกต่อไป

10 คำถามยอดฮิต ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การทำประกันภัยโดรน

1.โดรนแบบไหน ควรทำประกันโดรน 

ไม่ว่าคุณจะใช้ โดรนมินิ โดรนขนาดเล็ก โดรนถ่ายภาพ หรือโดรนขนาดใหญ่ เช่น โดรนการเกษตร โดรนพ่นยา Masii แนะนำว่าควรทำประกันโดรน เพื่อเพิ่มความอุ่นใจ ที่สำคัญช่วยคุณประหยัดเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดระหว่างบินโดรน จนทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย

โดรน

2.ไม่ทำประกันโดรน ผิดกฎหมาย ไหม 

จริงแล้ว ๆ กฎหมายไม่ระบุชัดเจนว่า หากไม่ทำประกันโดรน จะมีความผิด แต่จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับ ซื้อโดรนใหม่ก่อนจะทำการบินโดรนได้ เจ้าของโดรนจะต้องดำเนินการยื่นขึ้นทะเบียนโดรนให้เรียบร้อย โดยต้องใช้กรมธรรม์ประกันโดรน ที่ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกวงเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท เป็นเอกสารประกอบการยื่นขึ้นทะเบียนโดรน

ซึ่งหากเจ้าของโดรนฝ่าฝืนไม่ขึ้นทะเบียนโดรน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีโดรนไว้ในครอบครอง จะมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโดรนที่มีอายุการใช้งาน ก็ยังคงจำเป็นต้องทำประกันภัยโดรนไว้ เพื่อคุ้มครองกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รวมถึงใช้ต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือน ทุก ๆ  2 ปี

บินโดรน DJI

3.ประกันโดรน ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง 

ประกันโดรนส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครอง การเสียชีวิต การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยทางร่างกายรวมถึงอนามัยโดยอุบัติเหตุของบุคคลภายนอกวงเงินไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าประกันตัวจากคดีอาญา และคุ้มครองความเสียหายของตัวโดรน ซึ่งวงเงินและความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือกสมัคร นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มความอุ่นใจระหว่างบินโดรนให้แก่ผู้บังคับโดรน หรือ ทีมงาน สามารถซื้อความคุ้มครอง ประกันอุบัติเหตุ เพิ่มเติมจากกรมธรรม์หลักได้

ประกันโดรน

4.ทำประกันโดรน ที่ไหนดี 

เดี๋ยวนี้มีประกันโดรนให้สมัครกันมากมายจากหลากหลายบริษัทประกัน ซึ่งสามารถเลือกได้ตามงบประมาณและความคุ้มครองที่ต้องการ แต่หากใครไม่อยากเสียเวลา เปรียบเทียบประกันโดรน ด้วยตัวเอง ก็สามารถเลือกสมัครประกันโดรนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Masii ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ที่รวบรวมแพ็กเกจ ประกันภัยโดรนที่น่าสนใจ ราคาถูก มาเลือก

ทำประกันโดรน ที่ไหนดี 

5.ซื้อประกันโดรน กับ มาสิ ราคาเท่าไร

จ่ายค่าเบี้ยประกันราคาแพง ๆ ไปทำไม เมื่อคุณสามารถเลือกทำประกันโดรน ราคาถูก กับ Masii ได้ง่าย ๆ โดยมีแผนประกันโดรนให้เลือกสมัครมากถึง 8 แพ็กเกจ ดังนี้

1. Mini ราคา 599 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น ***ถูกที่สุด ถูกกว่าใคร***
2. Mini+ ราคา 699 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น
3. Save ราคา 799 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูป
4. Fin ราคา 888 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูป
5. SME ราคา 1,080 บาท สำหรับโดรนการเกษตร
6. SME+ ราคา 1,180 บาท สำหรับโดรนการเกษตร
7. Mini Plus ราคา 2,420 บาท สำหรับ DJI รุ่น Mini เท่านั้น
8. Plus ราคา 3,500 บาท สำหรับโดรนถ่ายรูปที่ซื้อใหม่เท่านั้น

6.สมัครประกันโดรน กับ มาสิ ดียังไง 

สมัครประกันโดรน กับ มาสิ นอกจากมีแพ็กเกจที่ครอบคลุมการใช้งานโดรนแล้ว เรายังมีบริการขึ้นทะเบียนโดรนกับกรมการบินพลเรือน โดยไม่มีค่าธรรมเนียม ส่วนการขึ้นทะเบียนโดรนกับ กสทช. จะมีค่าธรรมเนียมราคา 214 บาท พร้อมกับแจ้งผลการพิจารณาขึ้นทะเบียนโดรนให้ทราบภายใน 15 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่เอกสารครบถ้วน (เฉพาะโดรนใหม่เท่านั้น)

สมัครประกันโดรน กับ มาสิ ดียังไง

7.ทำประกันโดรน กับ Masii กี่วันจะได้รับกรมธรรม์

สะดวก รวดเร็ว เมื่อทำประกันโดรน กับ มาสิ เพราะได้รับกรมธรรม์ ประกันโดรน ผ่านทางอีเมล์ได้ภายใน 1 วัน  เมื่อส่งเอกสารและชำระค่าเบี้ยประกันครบถ้วนเรียบร้อย ก่อนเวลา 16.00 น. ส่วนกรมธรรม์ฉบับจริงจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ กรณีลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล หรือ ต่ออายุประกันโดรน จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ

ทำประกันโดรน กับ Masii กี่วันจะได้รับกรมธรรม์

8.ทำประกันภัยโดรน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง 

  • ใบคำขอเอา ประกันโดรน พร้อมเซ็นรับรอง
  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นรับรอง (กรณีมีผู้บังคับหลายคนให้ส่งมา 1คน ต่อ 1 ชุด)
  • รูปถ่ายโดรนแบบเต็มตัว 1 รูป
  • รูปถ่าย Serial Number โดรนอย่างชัดเจน 1 รูป

ทำประกันภัยโดรน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง 

9.ซื้อประกันโดรน ออนไลน์ กับ Masii ต้องทำอย่างไร 

เจ้าของโดรนที่ต้องการซื้อประกันโดรนออนไลน์ กับ มาสิ สามารถคลิก ที่นี่ ได้เลย โดยกรอกข้อมูล ชื่อ-นามสกุล  เบอร์ติดต่อ และ อีเมล หลังจากนั้นทีมงานมาสิจะติดต่อกลับ เพื่อแนะนำประกันโดรนที่เหมาะกับโดรนของคุณ

ประกันโดรน

10. โดรนมือสอง ประกันโดรน ให้ความคุ้มครองไหม 

อุ่นใจไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของโดรนซื้อใหม่ แกะกล่อง หรือ โดรนมือสอง ที่ซื้อมาอีกที ก็สามารถเลือกทำประกันโดรน พร้อมรับความคุ้มครอง ได้เช่นกัน

โดรนมือสอง ประกันโดรน ให้ความคุ้มครองไหม 

สนใจสมัครประกันโดรน 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

สมัคร ประกันโดรน ต่อประกันโดรน รวมถึง ซื้อประกันอุบัติเหตุ สำหรับผู้บังคับโดรน ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิด สามารถซื้อออนไลน์ได้ง่ายที่ มาสิ คลิกเลย ที่นี่ หรือหากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันโดรน การขึ้นทะเบียนโดรน สามารถสอบถามได้ที่ 02 710 3100 หรือ 06 3323 1640 รวมถึง Line @masii 

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดรน 

_________________________
Please become Masii Fan

Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand
Twitter: twitter.com/MasiiGroup 
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ #ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison