อย่างที่ใครหลายคนจับตากันกับพายุฤดูร้อนลูกใหม่นี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่จะถึง ด้วยความที่เราห่างหายจากสภาพอากศฝนฟ้าคะนองมาสักระยะ ประกอบกับอุณหภูมิความร้อนที่สูงขึ้นในทุก ๆ วันอย่างนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใดที่ใคร ๆ ก็ต่างแสวงหาสายฝนที่ฉุ่มฉ่ำมาช่วยคลายร้อนกัน แต่ทั้งนี้ ด้วยความที่เมื่อมีฝนมาก็กลับมาให้รูปแบบของพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งอาจที่จะส่งผลกระทบให้กับหลายพื้นที่ที่ประสบภัยได้ ไม่แต่ทรัพย์สินที่อาจจะได้รับความเสียหาย แต่สวัสดิภาพร่างกายของเราก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังให้มากขึ้นในช่วงนี้ด้วย และก็อย่างที่ใครหลายคนเคยได้ยินกันมา ด้วยความแปรปรวนของสภาพอากาศเช่นนี้อาจที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการใช้งานเครื่องมือสื่อสาร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ดังนั้น วันนี้เรามาดูกันดีกว่า เราควรที่จะให้ไฟฟ้าอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัยในช่วงที่มีพายุอย่างนี้ พร้อมกันนี้ ก่อนจากกันมาเสริมการป้องกันในการใช้ชีวิตกับ ประกันอุบัติเหตุ เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท รายละเอียดจะมีอย่างไรบ้าง ต้องมาติดตามกัน
เคล็ดไม่ลับ! วิธีใช้ “ไฟฟ้า” อย่างไรใ ห้ถูกต้องและปลอดภัยช่วง พายุฤดูร้อนถล่ม…พร้อมเสริมการป้องกันในการใช้ชีวิตกับ ประกันอุบัติเหตุ เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท
หลังจากในวันนี้ ( 8 พ.ค.66) กรมอุตุฯ ได้ประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง อันเนื่องมาจากพายุฤดูร้อน ประกอบกับในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมากรมอุตุฯก็ได้ประกาศออกมาว่าประเทศไทยของเรานั้นจะก้าวเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการในช่วงประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งช้ากว่าปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2566 โดยปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศ ในช่วงฤดูฝนปีนี้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5
ซึ่งในช่วงฝนครึ่งแรก ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ซึ่งจะท้าให้เกิดการขาดแคลนน้้าในด้านการเกษตรในหลายพื้นที่ได้ ส่วนในช่วงฝนครึ่งหลังช่วงเดือนสิงหาคม กันยายนและตุลาคม เป็นช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูง ที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้้าท่วมฉับพลัน น้้าป่าไหลหลาก รวมทั้งน้้าล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ด้วยสภาพวะที่ไม่เอื้อำนวยบ่อยครั้ง ย่อมที่เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าขึ้น ทำให้หลายพื้นที่มีไฟฟ้าดับ จากเหตุเสาไฟล้ม หรือ จากกระแสไฟช็อต ไฟรั่ว หรือ ลัดวงจร ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) แนะนำวิธีใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องในพายุ และฤดูฝน
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าฤดูฝน และรับมือกับพายุฤดูฝนที่เกิดขึ้น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีคำแนะนำวิธีการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องและปลอดภัยในช่วงฤดูฝน ดังนี้
- เมื่อเกิดฟ้าคะนอง ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำ เมื่อจะนำไปใช้งานควรเช็ดหรือผึ่งให้แห้งก่อน เพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า
- เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าเพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว เพราะความต้านทานของผิวหนังที่เปียกชื้นจะลดลงมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก เกิดกระแสไฟฟ้าดูดอาจถึงแก่ชีวิตได้
- ควรติดตั้งสายดินป้องกันไฟฟ้ารั่ว และหากจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่น นอกจากติดตั้งสายดินแล้ว ยังต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้ารั่ว เพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย
- ตรวจสอบต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า หากมีกิ่งไม้อยู่ใกล้เกินไปหรือคาดว่าเมื่อมีลมพัดแรง อาจทำให้กิ่งไม้เอนไปแตะสายไฟฟ้า หรือต้นไม้หักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้แจ้ง PEA ในพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
- ให้ความร่วมมือในการตัดต้นไม้หรือตัดกิ่งไม้ที่กีดขวางแนวเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและจุดปักเสาไฟฟ้า ไม่ควรตัดต้นไม้เอง เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้
- หากพบกิ่งไม้ที่หักโค่นทับหรือพาดสายไฟฟ้าแรงสูง อย่าเข้าใกล้เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ควรรีบแจ้ง PEA ในพื้นที่ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข
ขอขอบคุณ : TNN Online และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)
ทั้งนี้ เรื่องของอุบัติเหตุ เป็นเรื่องที่ใครก็ต่างไม่อย่างที่จะให้เกิดขึ้นกับเรากันทั้งนั้น แต่แม้อุบัติเหตุจะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่หากเรามีการเตรียมความรับมือกับทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยกับ ประกันอุบัติเหตุ เริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท คุ้มครองครบทั้ง กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การฟัง การพูดออกเสีย หรือทุพพลภาพ สูงสุด 800,000 บาท พร้อมรับชดเชยรายได้ ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล สูงสุด1,000 บาทต่อวัน
ประกันอุบัติเหตุ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ทิพยประกันภัย
แบบพิเศษ แผน PA PLUS
ประกันอุบัติเหตุ เบี้ยประกัน เริ่มต้นเพียงวันละ 3 บาท คุ้มครองครบทั้ง กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การฟัง การพูดออกเสีย หรือทุพพลภาพ สูงสุด 800,000 บาท พร้อมรับชดเชยรายได้ ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล สูงสุด1,000 บาทต่อวัน รายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้
ข้อตกลงความคุ้มครอง | แผนประกันภัยผู้เอาประกันภัย | |||
แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | แผน 4 | |
1. การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ (อบ.2) – ขยายความคุ้มครองการฆาตกรรมลอบทำร้าย และอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | 200,000 | 400,000 | 600,000 | 800,000 |
2. การรักษาพยาบาล (ค่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง) ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ | 10,000 | 20,000 | 30,000 | 40,000 |
3.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล – ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสาร รถจักรยานยนต์ (สูงสุด 365 วัน ต่ออุบัติเหตุ) | 500 ต่อวัน | 500 ต่อวัน | 1,000 ต่อวัน | 1,000 ต่อวัน |
4.ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพ กรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วย (ระยะเวลารอคอย 180 วัน สำหรับกรณีเสียชีวิตเนื่องมาจากการเจ็บป่วย) | 10,000 | 10,000 | 20,000 | 20,000 |
เบี้ยประกันภัยรายปี (บาท) | 870 | 1,310 | 2,030 | 2,460 |
ความคุ้มครอง
- การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟัง การพูดออกเสียง หรือทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ (อบ.2) (ขยายความคุ้มครอง ฆาตรกรรมลอบทำร้ายและอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- การรักษาพยาบาล (ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง) ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ขยายความคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ (สูงสุด 365 วันต่ออุบัติเหตุ)
- ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย (ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยระยะเวลา 180 วันแรก)
เงื่อนไขการรับประกัน
- สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 15 – 60 ปีบริบูรณ์ ขณะขอเอาประกันภัย
- ผู้ขอเอาประกันภัยทุกรายต้องกรอกใบคำขอและผ่านการพิจารณาตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
- อาชีพที่ไม่รับประกันภัย : จักรยานยนต์รับจ้าง, คนงานก่อสร้าง, ช่างยนต์, กรรมกร, พนักงานเหมือง, ชาวประมง, พนักงานทำความสะอาดกระจกรวมถึงอาคารสูง, ช่างไฟฟ้า, ยาม, พนักงานดับเพลิง, พนักงานสตั๊นท์แมน, พนักงานขับรถโดยสาร, คนขับรถแท็กซี่ หรือรถขนส่งประจำทาง, นักแข่งรถ, นักมวย, นักประดาน้ำ, นักปีนเขา, พนักงานขุดเจาะ, คนขับเรือ, อาสาสมัครกู้ภัย, พนักงานติดตั้งเสาอากาศหรือป้ายโฆษณา, นักศึกษาแผนกช่าง, พนักงานส่งเอกสาร, คนงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือผลิตแก๊ส หรืออาชีพอื่นที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน
สนใจสมัครประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุ
-
ความคุ้มครองจาก ประกันอุบัติเหตุ ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้เต็มที่อย่างไร ?
-
masii facts I 10 เรื่องจริงเกี่ยวกับ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่คุณควรรู้!
-
masii รีวิว I รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า กับช่วงเปลี่ยนผ่านพลังขับเคลื่อนพาหนะยอดนิยมของไทย
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #สินเชื่อส่วนบุคคล
#ประกัน #สินเชื่อประกันการเดินทาง
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison