ปัญหาภัยธรรมชาติทุกวันนี้เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยจริง ๆ ว่าจะเกิดเหตุ หรือจะมีความรุนแรงได้มากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ แผ่นดินไหว หรือน้ำท่วม เรียกได้ว่า สร้างความเสียหาต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นวงกว้างกันเลยทีเดียว โดยอย่างยิ่งที่ต้องจับตามมองกันในช่วงนี้อย่าง ปัญหา น้ำท่วม ดังนั้น หากเรารู้ล่วงหน้าหรือได้รับการเตือนภัยว่าจะเกิด น้ำท่วม จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการรับมือน้ำที่กำลังจะมา เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้น้อยที่สุดรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น วันนี้ มาสิ ได้เอามาให้ทุกคนได้อ่านกัน ไม่เพียงเท่านั้นวันนี้ มาสิ ยังได้มาชวนทุกคนให้ทำการเสริมสร้างความคุ้มครองให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเรามั่นคงขึ้นไปอีกกับการทำ ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองครบ ทั้งเหตุไฟไหม้ น้ำท่วม และภัยธรรมชาติ รายละเอียดความคุ้มจะมีอย่างไรบ้างนั้น ต้องมาติดตามดูกัน
ว่าด้วยเรื่องของ น้ำท่วม
“น้ำท่วม” เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งฝนตกหนัก พายุเข้า ลมมรสุม การตัดไม้ทำลายป่า สิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ หรือแม้กระทั่งอ่างเก็บน้ำแตก ฉะนั้นจึงเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในประเทศไทย ที่สำคัญสร้างความเสียหายต่อบ้าน ชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างมาก ดังนั้น หากเรารู้ล่วงหน้าหรือได้รับการเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วม จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการรับมือน้ำที่กำลังจะมา เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ได้น้อยที่สุด
แล้วเราควรเตรียมความพร้อมก่อน น้ำท่วม อย่างไร ?
เตรียมพร้อมก่อนเกิด น้ำท่วม
- สอบถามหน่วยงานที่มีการจัดการด้านน้ำท่วม เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้เพื่อรับมือ เช่น น้ำจะมาเมื่อไหร่ เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดแค่ไหน ถนนเส้นใดบ้างที่จะถูกน้ำท่วม ฯลฯ
- วางแผนรับมือน้ำท่วม เช่น ต้องเตรียมอะไรบ้าง เมื่อน้ำมาแล้วจะทำอย่างไร สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ เบอร์โทรศัพท์สำคัญต่าง ๆ และวางแผนว่า หากคนในครอบครัวพลัดหลงกัน สถานที่ 2 แห่งที่จะไปพบกันได้คือที่ใด (สถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้าน และสถานที่ที่สองให้อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง)
- บอกเล่าแผนรับมือน้ำท่วมและให้ข้อมูลสำคัญกับคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็ก เช่น อย่าสัมผัสปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ห้ามเล่นน้ำ เป็นต้น
- ขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง หรือให้พ้นจากระดับน้ำท่วม โดยเฉพาะยานพาหนะให้ย้ายไปจอดไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
- อพยพผู้ป่วย ผู้สูงอายุ เด็ก และสัตว์เลี้ยง ไปอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
- ปิดแก๊ส ตัดกระแสไฟฟ้า และปิดปลั๊กไฟด้วยเทปกาว เพื่อป้องกันการรั่วไหล
- จัดเตรียมกระสอบทรายหรืออุปกรณ์กั้นน้ำ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงน้ำเข้าท่วมบ้าน
- ติดตามข้อมูลข่าวสารและคอยสังเกตความผิดปกติของธรรมชาติ เช่น ฝนตกหนัก ระดับน้ำและสีของแม่น้ำเปลี่ยนไป
ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม
การแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมแบ่งออกเป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้
- เฝ้าระวังอุทกภัย : ระดับที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างการสังเกตการณ์
- การเตือนภัย : การเตือนภัยว่าจะเกิดน้ำท่วมแน่นอน และให้รับมือเตรียมพร้อมป้องกันตัวเองและทรัพย์สิน
- อพยพทันที : แจ้งเตือนเมื่อเกิดน้ำท่วมรุนแรง
- การกลับเข้าสู่ภาวะปกติ : การแจ้งเตือนเมื่อเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ทั้งนี้ เราสามารถติดตามระดับน้ำจากสถานนีวัดน้ำในจังหวัดต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ www.thaiwater.net
วิธีรับมือเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม
- จัดเก็บเอกสารสำคัญไว้ในซองกันน้ำ เช่น บัตรประชาชน บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน เอกสารเกี่ยวกับรถ เอกสารทางการเงินและธนาคาร รวมถึงสมุดโน๊ต ดินสอ และช่องทางสำหรับขอความช่วยเหลือต่าง ๆ
- เตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ใช้ยามเกิดภัย เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ถุงนอน ผ้าห่ม เอกสารสำคัญ ไฟฉายและถ่าน ไม้ขีดและไฟแช็ก กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ยากันยุง ถุงดำ เชือก นกหวีด เทปกาว รองเท้าแตะ มีดพก และเสื้อชูชีพ (ถ้ามี)
- ตุนน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ให้ได้มากที่สุด
- ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้พร้อมไว้ตลอดเวลา
- ปิดช่องปลั๊กไฟเพื่อป้องกันน้ำเข้าและป้องกันไฟดูด
- ยกของใช้ในบ้านขึ้นที่จำเป็นและสำคัญขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย
- ปิดจุดที่น้ำจะเข้าบ้าน เช่น ใช้กระสอบทรายกันน้ำ ติดแผงกั้นน้ำ ก่ออิฐกันน้ำ และอุดช่องน้ำทิ้งหรือท่อน้ำบนพื้น เป็นต้น
- ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา และสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
- ย้ายยานพาหนะทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ไปไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
เมื่อน้ำมาแล้วต้องทำอย่างไร?
- พยายามตั้งสติและทำตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้เตรียมไว้
- ล็อกประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- คอยเฝ้าระวังสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์อันตราย ที่อาจมากับน้ำท่วม
- ระหว่างเกิดน้ำท่วมห้ามเข้าใกล้บริเวณปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
- หากจำเป็นต้องอพยพออกจากบ้าน ให้นำแต่ของจำเป็นติดตัวไป
- ใส่รองเท้าทุกครั้งที่ต้องเดินลุยน้ำ เพราะอาจโดนเศษแก้วหรือสิ่งของอันตรายบาดได้
- อย่าเดินทางหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก – ไหลเชี่ยว
- ติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการแจ้งเตือนน้ำท่วม จากโทรทัศน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ อยู่ตลอด เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย
ในกรณีที่น้ำท่วมฉับพลัน หรือต้องอพยพออกจากบ้านกะทันหัน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- ปิดระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อย พร้อมทั้งปิดแก๊สและเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
- สวมเสื้อผ้าที่กระฉับกระเฉงและมีโทนสีสว่างเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและสังเกตเห็น
- ฉีดสเปรย์หรือทายาป้องกันยุงและแมลง
- ห้ามเข้าใกล้สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
- กลับเข้าที่เดิม หากรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกถึงกระแสไฟในน้ำ แล้วแจ้งขอความช่วยเหลือ
หลังน้ำท่วมควรฟื้นฟูดูแลอย่างไร?
หลังจากที่เหตุน้ำท่วมจบลง ย่อมตามมาด้วยความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดการดูแลและฟื้นฟูความเสียหายเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยแบ่งการฟื้นฟูหลัก ๆ ได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1.ฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ หลังเหตุการณ์น้ำท่วม มักทำให้หลายคนเกิดภาวะซึมเศร้า เนื่องจากชีวิตและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย จนนำไปสู่ความเครียด นอนไม่หลับ หรืออาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วม
- พูดคุยและใช้เวลากับครอบครัว เพื่อเยียวยาจิตใจ แบ่งปันความกังวล และความเครียด โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรตำหนิหากเขาเหล่านั้นมีอาการผิดปกติ เช่น ฉี่รดที่นอน ฝันร้าย เกาะติดพ่อแม่ตลอดเวลา
- พักผ่อนให้เพียงพอ และกินอาหารให้ครบตามโภชนาการ เนื่องจากช่วงน้ำท่วมมีการอดอาหารหรือกินอาหารกระป๋องเป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้
- หากมีภาวะซึมเศร้าจนรับมือไม่ได้ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา
- เฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคน้ำกัดเท้า โรคตาแดง โรคฉี่หนู โรคท้วงร่วง ฯลฯ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที
- เมื่อร่างกายและจิตใจดีขึ้น ค่อยเริ่มวางแผนการจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
- การเตรียมรับมือน้ำท่วม
2.ฟื้นฟูดูแลบ้าน มีหลายคนที่เสียชีวิตเนื่องมาจากการจัดการดูแลบ้านหลังน้ำท่วม โดยเฉพาะเรื่องของการถูกไฟดูด เมื่อกลับบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัย ก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เดินสำรวจในบ้านอย่างระมัดระวัง ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน จากนั้นเช็กสายไฟ และถังแก๊ส หากได้กลิ่นแก๊สรั่ว ให้ออกมาจากบริเวณนั้นและรีบโทรแจ้งร้านจำหน่ายแก๊สหรือโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน 191/199
- ถ่ายรูปความเสียหายภายในบ้าน เพื่อเป็นหลักฐานในกรณีที่ต้องเรียกค่าชดเชยจากประกันภัย
- หากยังมีน้ำท่วมขัง ให้ระบายน้ำออกช้า ๆ เพราะแรงดันน้ำอาจทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องได้
- ตรวจสอบความเสียหายของตัวบ้านให้แน่ใจว่าทุกอย่างปลอดภัยหรือมีอะไรต้องซ่อมแซมหรือเปล่า
- เก็บกู้สิ่งของและทำความสะอาดบ้าน โดยเปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อระบายความชื้นและฝุ่น
- ตรวจสอบท่อน้ำว่ามีรอยแตกหรือรั่วไหม ถ้าพบให้ปิดวาล์วทันที และงดใช้น้ำในการประกอบอาหาร จนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาดและปลอดภัย
ทั้งนี้ เนื่องจาก น้ำท่วม เป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์ของเราได้ ด้วยการรับมือเตรียมความพร้อม โดยการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จัดเก็บข้าวของให้พร้อม และอพยพไปยังที่ปลอดภัย ดังนั้น เราสามารถทำการติดตามข่าวสาร และแจ้งเหตุหรือความช่วยเหลือได้ที่
ติดตามข้อมูลข่าวสารและการเตือนภัยพิบัติ
- กรมอุตุนิยมวิทยา (พยากรณ์อากาศ เส้นทางพายุ และปริมาณน้ำฝน)
- กรมทรัพยากรน้ำ (เตือนภัย เช็กสถานการณ์น้ำ และข้อมูลน้ำในแต่ละพื้นที่ลุ่มน้ำ)
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ข้อมูลภัยพิบัติ และการแจ้งเตือนพื้นที่ภัยพิบัติ)
- กรมทรัพยากรธรณี (เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม)
- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (ข้อมูลอากาศ และระบบน้ำในเขื่อนและน้ำทะเล)
- กรมชลประทาน (ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ลำน้ำ และการปล่อยน้ำ)
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ข้อมูลภัยพิบัติ แจ้งเตือนพื้นที่ภัยพิบัติ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย)
สายด่วนให้ข้อมูลและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร 1784
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โทร 192
- กรมอุตุนิยมวิทยา โทร 1182
- กรมชลประทาน โทร 1460
- ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ โทร 1199
- บริการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669
ขอขอบคุณ :: allwellhealthcare , Kaopoon
อย่างที่ มาสิ ได้บอกไปข้างต้นก่อนหน้านี้ แม้เรื่องของปัญหาธรรมชาติ จะเป็นเนเรื่องที่ยากจะคาดเดา และยากที่จะรับมือ แต่เราสามารถเตรียมตัวเราให้พร้อมเผชิญกับทุกปัญหาได้ ด้วยการเสริมความคุ้มครองครบไม่เพียงแต่เรื่องชีวิต ยังรวมปถึงทรัพย์สินด้วย ประกันภัยบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองครบ ทั้งเหตุไฟไหม้ แผ่นดินไหว และน้ำท่วม เบี้ยประกับก็แสนถูก แต่ความคุ้มครองได้ครอบคลุม ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกันเลย
บ้านทิพยยิ้มได้ ทิพยประกันภัย
ความคุ้มครองมาตรฐานประกันภัยบ้าน
- ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ( รวมความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า ) ภัยระเบิด ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยเนื่องจากน้ำ ( ไม่รวมน้ำท่วม ) ภัยจากอากาศยาน ชดใช้ตามความเสียหายจริง แต่ไม่เกินทุนประกัน
- คุ้มครองภัยธรรมชาติ 4 ภัย ( ภัยลมพายุ, ภัยน้ำท่วม, ภัยแผ่นดินไหว, หรือ ภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ, ภัยลูกเห็บ ) ทุกภัยรวมกัน ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี
- คุ้มครองค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราว ( ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย ) สูงสุดวันละไม่เกิน 1,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย
ความคุ้มครองเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ของประกันภัยบ้าน ทิพยยิ้มได้
ไม่ว่าจะเหตุ ไฟไหม้เยาวราช หรือเหตุอัคคีภัยที่ใด หากมีประกันภัยบ้าน “ บ้านทิพยยิ้มได้ ” ชดใช้ 30% ของทุนประกันภัย ต่อภัย ได้แก่
- ภัยน้ำท่วม ( คุ้มครองหลังวันเริ่ม 7 วัน )
- ภัยลมพายุ
- ภัยลูกเห็บ
- ภัยแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด หรือ สึนามิ
- ภัยจากการจลาจล และการกระทำด้วยเจตนาร้าย ( ยกเว้นการกระทำเพื่อผลทางการเมือง ศาสนา หรือ ลัทธินิยม )
สนใจสมัคร บ้านทิพยยิ้มได้ ทิพยประกันภัย
แผนประกันภัยบ้าน Happy Home เริ่มต้น 1,150 บาทต่อปี
ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย : สิ่งปลูกสร้าง(ไม่รวมรากฐาน) รวมส่วนต่อเติมปรับปรุงอาคาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่งติดตั้ง และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง
ความคุ้มครอง :
- ไฟไหม้,ฟ้าผ่า,ระเบิด
- ภัยจากการเฉี่ยวชน ของยานพาหนะ
- ภัยจากอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกลงมาจากอากาศยาน
- ภัยเนื่องจากน้ำ
- ภัยธรรมชาติ ภัยจากลมพายุ ภัยจากน้ำท่วม ภัยจากแผ่นดินไหว ภัยจากลูกเห็บ
ขยายความคุ้มครอง
- ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าวงเงิน 5% ของทุนประกันภัย สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาทต่อครั้ง/ ตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย
- ความเสียหายเนื่องจากควันไฟ วงเงิน 500,000 บาท
- ความเสียหายต่อโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ วงเงิน 10,000 บาท
- ความคุ้มครองค่าเช่า 1,000 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ระยะเวลาในการคุ้มครอง
- 5ปี
เงื่อนไขในการรับประกัน
- เฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก และใช้เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น
- จำนวนเงินเอาประกันภัยเท่ากับมูลค่าจริงของทรัพย์สิน หรือไม่ต่ำกว่า 70% ของมูลค่าเพิ่ม
- บริษัทขอสงวนสิทธิ์ไม่รับประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย
สนใจสมัคแผนประกันภัยบ้าน Happy Home
ขึ้นชื่อว่าธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ยากจะคาดเดาได้จริง ๆ ต่อให้แม้ว่าเราจะเก่งมากมายแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็ต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติกันทั้งนั้น อย่างที่ มาสิ ได้บอกไปครับ แม้เรื่องของธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่เรายากจะคาดเดาและรับมือได้ แต่เราสามารถที่จะทำตัวเราให้พร้อม เสริมสร้างความคุ้มครองในชีวิตให้เต็มที่ด้วย ประกันภัยบ้าน ดี ๆ จาก มาสิ ให้คุณใช้ชีวิตได้เต็ม มีความสุขได้ทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคุณ อย่างช้า สมัครเลย!
เปรียบเทียบเลย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรมาสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii ( มี @ ด้วยนะครับ ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันภัยบ้าน
- ประกันภัยบ้าน คุ้มครองครบทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม ที่ masii.co.th ….พร้อม เปิดทำเลแบบนี้ สร้างบ้านแบบไหนดี อยู่แล้วสบาย
- 7 ฮวงจุ้ยบ้านผิดๆ ที่ควรรีบแก้ เพื่อชีวิตที่ดี พร้อมเพิ่มความอุ่นใจ ด้วยประกันภัยบ้าน
- ว่าที่ เจ้าของร้านกาแฟ ห้ามพลาด! กับ 5 สูตรกาแฟโบราณ ฉบับเปิดร้านได้!! พร้อมดู สุดยอด ประกันภัยร้านกาแฟ ที่คุ้มครองครอบคลุม
- ทำนายฝัน ฝันว่าพายุพัดบ้านพัง หลังคาบ้านพัง หมายความอย่างไร ? … แล้วหากเกิดขึ้นจริง ประกันภัยบ้าน คุ้มครองความเสียหายอย่างไร ? ที่นี่มีคำตอบ
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#สินเชื่อ #ประกัน
#ประกันบ้าน #ประกันภัยบ้าน
#รถแลกเงิน #บ้านแลกเงิน #สินเชื่อส่วนบุคคล
#บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ #สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์
#กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน #เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ #masii
#มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison