อุบัติเหตุ ทางรถยนต์มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ต่อให้เราระวังแค่ไหนก็ตาม โดยปกติแล้วคงไม่มีใครอยากให้ตัวเองประสบอุบัติเหตุใช่ไหมล่ะครับ ซึ่งส่วนใหญ่รถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุมักจะมีสาเหตุจากความประมาท เช่น หลับใน ขับรถฝ่าไฟแดง ขับเร็วจนไม่สามารถเบรคได้ทัน เป็นต้น และพอหลังจากประสบอุบัติเหตุประเด็นที่มักจะตามมาคือ “ทำประกันไว้ไหม?” “ทำประกันอะไรไว้?” “ประกันคุ้มครองแค่ไหน?” ซึ่งวันนี้มาสิมีตัวอย่างอุบัติเหตุที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพครับ
กรณีตัวอย่างคือ รถยนต์เสียหลักลงข้างทาง, รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ, รถยนต์แหกโค้ง รวมๆคืออุบัติเหตุรถเสียหลักครับ ตัวอย่างนี้ใกล้ตัวมาก เพราะหนึ่งในทีมงานของ”มาสิ” พึ่งประสบเหตุมาครับ เรื่องมีอยู่ว่า วันเกิดเหตุนั้นมีฝนตก ขณะทีมมาสิขับรถมาทำงานตามปกติ แต่ด้วยความที่ถนนลื่นจากฝนตก ขณะเข้าโค้งรถที่ขับมาได้เกิดเสียหลักและหลุดออกไปจากถนนลงไปยังข้างทาง ซึ่งหลังจากประสบเหตุก็ทำการโทรเรียกประกันมา ผลสรุปว่าสามารถเคลมได้เพราะเป็นประกันชั้น 1 ครอบคลุมถึงการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี ก็ทำการซ่อมรถและรักษาตัวกันไปโดยทางประกันดูแลค่าเสียหายทั้งหมด
จากกรณีตัวอย่างประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ทำไมจึงให้ความคุ้มครอง?
ประกันรถยนต์ชั้น 1 นั้นคุ้มครองรถเราและตัวเรารวมถึงผู้โดยสารในรถเรา ในกรณีที่ชนหรือประสบอุบัติแบบไม่มีคู่กรณีด้วยนั้นเอง แต่รายละเอียดปลีกย่อยต้องดูจากกรมธรรม์ที่ทำนะครับ
ทำไมประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ ไม่ให้ความคุ้มครอง?
– ประกันรถยนต์ชั้น 2 , 3 ไม่ให้ความคุ้มครองในส่วนของค่าซ่อมรถเราครับ เพราะจะคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินภายนอกหรือคู่กรณีเราเท่านั้นครับ
– ประกันรถยนต์ชั้น 2+ , 3+ ไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีตัวอย่างนี้นะครับ เพราะ “คุ้มครองเฉพาะการชนกับคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น” หรือเข้าใจง่ายๆว่า ครอบคลุมแค่กรณีรถชนรถเท่านั้น ตามคำอธิบายจากเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์
– ตัวอย่างคำอธิบายแนบท้ายเอกสารแนบท้ายความคุ้มครองความเสียหายจากการชนกับยานพาหนะทางบก ร.ย.ภ.10
“ข้อ 1. ข้อตกลงคุ้มครอง
ความเสียหายต่อรถยนต์ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัย ต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ อันมีสาเหตุมาจากการชนกับยานพาหนะทางบก ทั้งนี้ความเสียหายดังกล่าว ให้รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ อันมีสาเหตุโดยตรงกับการชนยานพาหนะทางบก ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทของรถยนต์คันที่เอาประกันภัย หรือคู่กรณี และผู้เอาประกันภัยสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
ยานพาหนะทางบกตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ให้หมายถึงรถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่นน้ำมัน ก๊าซ หรือกำลังไฟฟ้า และรวมถึงรถพ่วง รถไฟ รถราง”
คู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกคืออะไรบ้าง?
– ตามที่ระบุไว้ในตอนท้ายของเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ว่าไว้คือ “ยานพาหนะทางบกตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ให้หมายถึงรถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่นน้ำมัน ก๊าซ หรือกำลังไฟฟ้า และรวมถึงรถพ่วง รถไฟ รถราง” นั้นคือจะนับเฉพาะ รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรือ ยานพาหนะใดๆ ที่ใช้เครื่องยนต์ ไม่ว่าจะไฟฟ้า น้ำมัน หรือก๊าซ ขับเคลื่อน ไม่ว่าจะจดทะเบียน หรือยังไม่มีทะเบียน นับเป็นยานพาหนะทางบกทั้งหมด หากชนกับที่พูดถึงประกันจะคุ้มครองเราด้วยนั้นเอง
– แต่ในกรณีถ้าเกิดชนกับจักรยานจะไม่นับรวมว่าเป็นยานพาหนะทางบกด้วย ประกันชั้น 2, 2+,3,3+ จะให้ความคุ้มครอง จ่ายให้เฉพาะจักรยานและรักษาพยาบาลคนขี่จักรยานคนเท่านั้น ไม่ซ่อมรถให้กับเรา แต่ยังจ่ายค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่เราบาดเจ็บ ซึ่งกรณีรถชนรถจะนับเฉพาะรถที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งเท่านั้น
มีอุบัติเหตุรถตกข้างทางแบบไหนมั้งที่ประกันภัยรถชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ จะคุ้มครอง?
– มีในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากรถชนรถจนส่งผลให้รถตกข้างทางครับ ตัวอย่างเช่น เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ และเสียหลักรถตกลงข้างทาง ซึ่งแบบนี้จะได้รับความคุ้มครองและบริษัทประกันต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด เนื่องจากสาเหตุเกิดจากรถชนรถ จนส่งผลให้รถเราเสียหลักตกข้างทางนั้นเอง
– แต่ถ้ากรณีหลับในแล้วรถตกข้างทาง แบบนี้ประชั้น 2+ , 3+ ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเรา เพราะไม่ได้มีสาเหตุมาจากรถชนรถครับ ส่วนประชั้น 2 , 3 ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเราเช่นกันครับ
แบบนี้จะเลือกประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนดี?
– ส่วนนี้มาสิแนะนำว่าให้ดูจากหลายๆ ปัจจัยของตัวเราเป็นหลัก โดยนึกถึงเช่น อายุของรถเรา สภาพรถเรา การใช้งาน การใช้ความเร็วในการขับขี่ เกิดอุบัติเหตุบ่อยไหม ใช้รถกี่คน เป็นต้น และเลือกดูประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในส่วนที่ตรงกับการใช้งานรถของเราครับ
– ตัวอย่าง รถเรามีอายุ 2 ปี หรือรถใหม่นั้นเอง การใช้งานรถมีทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ส่วนนี้แนะนำว่าทำประกันชั้น 1 ครับ เพราะด้วยความที่รถอายุไม่เกิน 7 ปี การที่มีประกันคุ้มครองหมดในทุกกรณีย่อมคุ้มค่ากับการจ่ายค่าประกันของเรา แต่หากรถเราอายุเกิน 7 ปี การเลือกประกันชั้น 2+ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 นั้นเอง
masii tips : ทำไมประกันภัยรถชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ ถึงถูกกว่าประกันภัยรถชั้น 1?
– สาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้ประกันชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ ถูกกว่าประกันชั้น 1 ก็เพราะมีเงื่อนไขบังคับ และให้ความคุ้มครองความเสี่ยงภัยน้อยกว่าประกันชั้น 1 ดังเช่นตัวอย่างที่มาสิยกมาพูดในวันนี้ จึงเป็นสาเหตุที่เบี้ยประกันมันถูกกว่า
– โดยทั่วไปประกันภัยชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ จะมีค่าความเสียหายส่วนแรกที่ต้องจ่าย เมื่อเราเป็นฝ่ายผิดประมาณ 2000 บาท แต่บางประกันภัย ก็มีประกันภัยชั้น 2 , 2+ , 3 , 3+ แบบไม่มีค่าเสียหายส่วนแรกไว้เป็นทางเลือกเหมือนกัน
ข้อดี-ข้อเสีย ของประกันภัยที่คุ้มครองเหตุรถตกข้างทาง
ข้อดี
1. หากเกิดเหตุขึ้น มีความคุ้มครองในส่วนนี้ทำให้เราได้รับการดูแลค่าเสียหายรถและค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกัน
2. ไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลเอง ถ้าอยู่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ ทำให้เราประหยัดเงินในส่วนนี้ไปได้
3. ทำประกันภัยรถชั้น 1 ทีเดียวครอบคลุมถึงจุดนี้ไปด้วยเลย
4. ประกันชั้น 2+ (บางกรมธรรม์) , 3+ ก็คุ้มครองในกรณีนี้ ให้ดูตามที่ระบุในกรมธรรม์ที่เราทำหรือจะทำ
ข้อเสีย
1. ประกันชั้น 2+(บางpackage) , 3+ จะคุ้มครองในส่วนนี้ เฉพาะในกรณีที่รถตกถนนมีสาเหตุมาจากรถชนรถ หากกรณีอื่นๆจะไม่คุ้มครอง
2. ประกันชั้น 2 ,3 จะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถเราครับ จะคุ้มครองในส่วนของทรัพย์สินภายนอกหรือคู่กรณีเราเท่านั้นครับ
3. ประกันชั้น 1 ถึงจะคุ้มครองส่วนนี้ แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องให้ดีตอนทำกรมธรรม์อีกที เพราะบริษัทประกันแต่ละเจ้าข้อจำกัดไม่เหมือนกัน
4. ประกันชั้น 1 มีราคาที่สูงกว่าประชั้น 2, 2+ ,3 , 3+ พอสมควรและมีข้อจำกัดในการทำ
สรุป มีความคุ้มครองส่วนนี้ไว้ก็ดีครับ ยิ่งเราทำงานที่ต้องใช้ถนนเป็นประจำยิ่งควรมองถึงจุดนี้ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตจะประสบเหตุนี้หรือไม่ แต่หากเราเลือกความคุ้มครองนี้ไว้เวลาเกิดเหตุจะได้เบาใจว่า ค่าซ่อมรถและค่ารักษาพยาบาลของเราจะมีคนดูแลครับ ซึ่งถือเป็นการลงทุนเพื่อความประหยัดได้นะครับ ประหยัดค่าหมอกับค่าซ่อมรถไงครับ^^
หากเพื่อนๆ ต้องการหาข้อมูลหรือเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ในส่วนรายละเอียดอื่นๆ สามารถลองใช้บริการที่ www.masii.com ได้ครับ
เปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนการตัดสินใจ ได้ที่ https://masii.co.th/thai/car-insurance