” กู้ร่วม ” 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อน ซื้อบ้าน ด้วยกัน!

กู้ร่วม
" กู้ร่วม " 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อน ซื้อบ้าน ด้วยกัน!
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

เพราะการ กู้ร่วม มีอะไรที่มากกว่าการใช้ชื่อของคนสองคน จะดีกว่าไหมถ้าเราได้ศึกษาข้อมูลก่อนเริ่มกู้มาดูข้อมูลดีๆ เพื่อการซื้อขายในราคาที่ดีที่สุด เวลาเราจะ ซื้อบ้าน หรือ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ สักชิ้น สิ่งที่หลายๆ คนมองไว้ก็คือ ” การกู้ ” และการกู้เองก็มีหลายแบบมากๆ ทั้งกู้คนเดียวและ กู้ร่วม ซึ่งคู่รักหลายๆ คนมองว่า อยู่ด้วยกันทั้งที ก็กู้ร่วมไปเลยสิ เพราะอสังหาริมทรัพย์ที่เราจะซื้อนั้นก็ต้องเป็นของเราสองคน แต่ การกู้ร่วมมันจะดีจริงไหม? วันนี้ masii เลยอยากพาทุกคนมารู้จักสิ่งที่ควรรู้ก่อนการกู้ร่วมซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย!

” กู้ร่วม ” 6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อน ซื้อบ้าน ด้วยกัน!

กู้ร่วม คืออะไร?

กู้ร่วม คือ การกู้เงินร่วมกัน ของทั้งสองฝ่าย ด้วยความสมัครใจ โดยที่มีคนมาช่วยรับผิดชอบในเรื่องของการกู้ อีกทั้งการกู้ร่วมยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่มากขึ้นเพราะไม่ได้มีคนเดียวที่ต้องจัดการ หากเกิดอะไรขึ้นยังมีอีกคนที่สามารถเข้ามาจัดการปัญหาตรงนี้ได้ อีกทั้งพอกู้ร่วม ยังทำให้อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นหรือว่าสามารถขอวงเงินที่สูงขึ้นได้ เพราะมีการนับรวมรายได้ของทั้งสองฝ่ายนั่นเอง

โดยปกติแล้วการกู้ร่วมจะมีการกู้ร่วมกันอยู่ที่ 2 คนขึ้นไป แต่จะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมที่จะให้กู้ได้ไม่เกิน 3 คน เพราะหากกู้มากกว่า 3 คนขึ้นไปอาจจะเกิดปัญหาเรื่องการจัดการหนี้สินได้

รู้หรือไม่!? กู้ร่วม = รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

การร่วมกู้นั้น เมื่อสำเร็จทุกขั้นตอนแล้ว ผู้ที่ลงนามในฐานะ กู้ร่วม จะกลายเป็น ผู้ที่รับผิดชอบหนี้ หรือ ลูกหนี้ ทันที ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ให้ใช้เพียงชื่อหรือจะร่วมจ่ายเงินชำระหนี้ด้วยก็ตาม

ประโยชน์ของการกู้ร่วม

1.ได้วงเงินที่สูงขึ้น

2.ไม่ต้องแบกภาระคนเดียว

3.ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

คุณสมบัติของคนที่สามารถ กู้ร่วม ได้

คุณสมบัติอย่างแรกที่ต้องมีคือ ผู้กู้ร่วมและผู้กู้ต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ต้องมีรายได้มากกว่าที่กำหนด หรือหากเทียบกับเรทเงินเดือนมาตรฐานก็จะอยู่ที่ราวๆ 15,000 บาท นอกจากนั้น ยังต้องมีประวัติที่ใสสะอาด ไม่เคยเบี้ยว ไม่เคยผิดชำระหนี้

จริงๆ แล้วนั้น การอนุมัติสินเชื่อบ้านของการกู้ร่วม จะเน้นไปที่การพิจารณารายได้ของทุกคนที่ลงชื่อกู้ โดยมีเกณฑ์ในการคำนวณอยู่ที่ 40% ของรายได้ของทุกคน จากนั้นก็นำมารวมกันเพื่อหาวงเงินสูงสุดที่จะใช้ได้นั่นเอง

ใครสามารถ กู้ร่วม ได้บ้าง

คนที่สามารถใช้สิทธิ์การกู้ร่วมนั้น จะต้องเป็นคนที่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือดหรือความสัมพันธ์เท่านั้น ดังนี้

คนในครอบครัวเป็นคนในครอบครัวที่เน้นว่า จะต้องเป็น คนในสายเลือดเดียวกัน มีความผูกพันธ์กันในเครือญาติ หรือผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเป็นพี่น้องที่มีสายเลือดเดียวกัน แต่ใช้คนละนามสกุลก็สามารถทำได้เช่นกันกรณีคนละนามสกุลแต่สายเลือดเดียวกัน ต้องแนบหลักฐานเพื่อยืนยัน เช่น ทะเบียนบ้าน, สูติบัตร หรือหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าทั้งสองคนนั้นมีพ่อแม่เป็นคนเดียวกัน

คู่รัก LGBTOIA2+ความต้องการอยากมีบ้าน ไม่สามารถถูกจำกัดได้เพียงแค่เพศ คู่รัก LGBTQ+ นั้นถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับความยุติธรรม และ ความเท่าเทียม การได้รับรากฐานชีวิต และ การมีบ้านของตัวเองที่เท่าเทียมกับคนอื่น ปัจจุบันสังคมไทยเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น มีหลายธนาคารที่เห็นความต้องการชีวิตคู่ของกลุ่ม LGBTQ+ ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้กู้ซื้อบ้านร่วมกัน โดยมีสิทธิเหมือนคู่รักชาย-หญิงทั่วไป ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส

สามี-ภรรยาคู่รักส่วนใหญ่นั้นสามารถกู้ร่วมกันได้ โดยที่จะต้องมีหลักฐานมาประกอบเป็น ทะเบียนสมรส เพื่อแสดงให้เห็นว่า ทั้งคู่นั้นเป็นคู่สมรสจริงๆ ไม่ใช่คนที่แฝงตัวมาเพื่อหาผลประโยชน์ในการกู้ อีกทั้งปกติแล้วนั้น การกู้ร่วมจะค่อนข้างเอื้อให้กับคู่รักที่จดทะเบียนสมรสกันอย่างเป็นทางการด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือแล้วนั่นเอง

กรณีที่ไม่มีทะเบียนสมรสนั้น จะต้องนำหลักฐานอื่นๆ มาแสดงต่อธนาคารเพื่อเป็นการยืนยัน เช่น ภาพถ่ายวันแต่งงาน หรือถ้าอยากได้มั่นใจมากกว่านั้น ให้นำบันทึกประจำวันที่ไปแจ้งที่สถานีตำรวจมายื่นต่อธนาคารก็ได้เช่นกัน

ข้อควรรู้

มาค่ะ! ต่อไปนี้เราจะมาดูเรื่องข้อควรรู้ที่ต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มการ กู้ร่วม ว่าจริงๆ แล้ว การกู้ร่วมมีอะไรมากกว่าการที่เราจะใช้ชื่อสองคนในการกู้ จะมีอะไรบ้าง มาอ่านกันเลย!

1. กู้ร่วมกัน ไม่เท่ากับ จ่ายเท่ากัน

อย่างที่รู้กันว่า การกู้ร่วมกันนั้นไม่ได้แปลว่าเราจะต้องแชร์กันจ่ายหนี้ให้เท่าเทียมกัน แต่คือการ รับผิดชอบร่วมกัน เพราะบางคนก็แค่ยืมชื่อของอีกฝ่ายมาใช้โดยรับผิดชอบคนเดียว หรือกรณีที่จ่ายร่วมกัน บางคู่จะมีการแบ่งสัดส่วนการจ่ายไม่เท่ากัน โดยทั้งหมดนั้น จะขึ้นอยู่กับความยินยอมทั้งสองฝ่ายก่อนการเซ็นสัญญาเงินกู้นั่นเอง

2. สิทธิในการลดหย่อนภาษี

รู้หรือไม่ว่า สิทธิ์กู้ร่วมนั้น สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ซึ่งการกู้ร่วมนั้นจะต้องหารเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ ไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 คน เมื่อหารเสร็จต้องแบ่งให้เท่าๆ กัน ไม่สามารถแบ่งให้ใครมากกว่าได้นั่นเอง

3. กรรมสิทธิ์เป็นของใคร?

กรณีของการกู้ร่วม จะสามารถทำได้ 2 แบบ

1.    ใส่ชื่อคนเดียว เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ใช้ชื่ออกคนมากู้ร่วมด้วย

2.    ใส่ชื่อผู้กู้ร่วมทุกคน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

โดยปกติแล้วส่วนใหญ่ ผู้กู้จะเลือกแบบที่สอง เพราะผู้กู้ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ทั้งขาย เช่า ซื้อ รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง 2 คนที่มีนามอยู่ในสัญญา ไม่ว่าเขาจะช่วยจ่ายหรือไม่ก็ตาม เพราะว่าสัญญาบังคับให้ต้องถามความสมัครใจของทั้งคู่นั่นเองแต่ทว่าเมื่อกู้เสร็จแล้วนั้น สัญญาจะเป็นชื่อใคร หรืออยากจะโอนให้ใครก็สามารถตกลงกันได้ตามสะดวกเลยนั่นเอง

4. จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ผู้ร่วมกู้ เสียชีวิต

สิ่งแรกที่ต้องทำหากมีปัญหานี้ รีบติดต่อและแจ้งธนาคาร เพื่อเปลี่ยนแปลงสัญญา ไม่อย่างนั้น สัญญาต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกๆ อย่างจะยังคงเดิม และจะทำให้การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในอนาคตอาจจะได้รับความลำบากไม่น้อยเลย

เมื่อทำการแจ้งธนาคารแล้ว ธนาคารจะเริ่มหาผู้ที่มารับผิดชอบภาระหนี้แทน ไม่ว่าจะเป็นทายาท หรือผู้จัดการมรดกก็ตาม

หากมีปัญหา “ใคร” รับผิดชอบ?

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อคุณเริ่มกู้ร่วมเมื่อไหร่ คุณทั้งสองคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้น หากเกิดการเบี้ยว ไม่จ่าย หรือมีปัญหาใดๆ ธนาคารจะสามารถเรียกใครคนใดคนนึงหรือจะเรียกทั้งสองคนก็ได้เช่นกัน และการจัดการนั้นก็สุดจะแล้วแต่การตกลงของผู้กู้ทั้งสองฝ่ายนั่นเอง

ยกเลิกได้ไหม?

การขอถอนชื่อออกจากเงินกู้ร่วมนั้นอาจจะมาจากหลายๆ กรณี เช่น มีปัญหากัน เลิกรากัน หรือกระทั่งมีปัญหาเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยไหนก็ตาม แต่ทั้งหมดต้องได้รับการพิจารณาจากธนาคารเท่านั้น

โดยจะมีแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

สามารถถอนชื่อได้

•    กรณีที่สามารถถอนชื่อได้มีไม่กี่กรณี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่ ธนาคารพิจารณาแล้วว่า ผู้กู้อีกคนยังสามารถผ่อนและชำระหนี้ได้อยู่ โดยไม่มีปัญหาตามมาทีหลังนั่นเอง

ไม่สามารถถอนชื่อได้

•    กรณีที่ไม่สามารถถอนชื่อได้นั้น ส่วนใหญ่จะมาจากการพิจารณาจากธนาคารแล้วว่า ผู้ร่วมกู้อีกคนนั้นไม่มีความสามารถ หรืออาจจะไม่สามารถที่จะชำระหนี้ส่วนที่เหลือได้ ทำให้อาจจะต้องร่วมกันชำระหนี้ให้หมดก่อน หรือถ้าอยากหยุดแล้วจริงๆ ต้องหาคนที่สามารถชำระหนี้ได้มาแทน

ตอนนี้หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ สินเชื่อ บ้านแลกเงิน แต่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าสินเชื่อบ้านแลกเงินคืออะไร มีความแตกต่างจากสินเชื่อบ้านตามปกติอย่างไร และเหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้เงินของเราหรือไม่ แล้วเราควรจะ เลือกขอสินเชื่อแบบไหนดี ตาม masii มาไขความข้อใจนี้กันครับ …

สินเชื่อ บ้านแลกเงิน คืออะไร แตกต่างจาก สินเชื่อบ้าน หรือไม่

สินเชื่อบ้านแลกเงิน UOB Cash to Home เปลี่ยนบ้านเป็นเงินสด | UOB

สินเชื่อ บ้านแลกเงิน คืออะไร

สินเชื่อบ้านแลกเงิน คือ สินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งบ้านที่นำไปขอสินเชื่อจะต้องเป็นบ้านที่ปลอดภาระ พูดง่าย ๆ คือ ต้องเป็นบ้านที่ไม่ได้กำลังผ่อนอยู่นั่นเอง จึงเหมาะกับผู้ที่มีบ้านปลอดภาระเป็นของตนเอง และต้องการเงินก้อนใหญ่ หรือต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการทำการค้าหรือประกอบกิจการ รวมถึงผู้ที่ต้องการรวมหนี้ หรือเคลียร์หนี้จากหลายแหล่งมารวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยและลดภาระการชำระหนี้ของตนเอง

สำหรับผู้ที่เคยกู้เงินซื้อบ้าน อาจจะคุ้นเคยกับสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพราะหากว่าเราต้องการวงเงินที่สูงขึ้น หรือสูงกว่าราคาบ้าน ทางธนาคารอาจจะแบ่งสินเชื่อบ้านของเราเป็น 2 ก้อน คือ สินเชื่อสำหรับกู้ซื้อบ้าน และสินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ซึ่งจะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน และตามปกติแล้วไม่สามารถขอ Retention ได้ ซึ่งสินเชื่อบ้านแลกเงินก็จะคล้ายกับสินเชื่อประเภทนี้ แต่แตกต่างตรงที่วัตถุประสงค์การใช้เงิน โดยสินเชื่ออเนกประสงค์จะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อซื้อของตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน แต่สินเชื่อบ้านแลกเงินจะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป

ข้อดีของ สินเชื่อ บ้านแลกเงิน คืออะไร

สินเชื่อบ้านแลกเงิน คือ สินเชื่อที่ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ และสามารถเลือกผ่อนต่อเดือนน้อย และผ่อนระยะยาวได้ โดยวงเงินกู้จะสูงถึง 80% ของราคาประเมิน ตัวอย่างเช่น หากว่าทางธนาคารประเมินว่าบ้านของเราราคา 1 ล้านบาท เราจะสามารถขอสินเชื่อได้สูงสุดถึง 8 แสนบาท และส่วนใหญ่จะไม่ตรวจสอบประวัติการชำระหนี้

อย่างไรก็ตาม สินเชื่อบ้านแลกเงินมีข้อจำกัด คือ ผู้ที่ขอสินเชื่อจะต้องมีบ้านที่ปลอดภาระที่เป็นชื่อของตนเองเท่านั้น และหากผิดนัดชำระหนี้อาจจะโดนยึดบ้านได้ จึงควรจะชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้อย่างเคร่งครัด

ขั้นตอนการขอสินเชื่อ

  1. เตรียมเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดบ้านหรือที่ดินที่ปลอดภาระแล้ว สมุดบัญชีธนาคาร ส่วนเอกสารอื่น ๆ ถ้าสามารถเตรียมได้ให้เตรียมใบประเมินราคา และใบระวาง เพื่อความรวดเร็วในการขอสินเชื่อ
  2. ยื่นเอกสาร ทางเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เพื่อประกอบการพิจารณา
  3. ประเมินราคาหลักประกัน โดยธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินราคาบ้านและที่ดิน
  4. เซ็นสัญญาสินเชื่อ และรับเงิน

การขอสินเชื่อบ้านแลกเงิน หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่าเป็นการเอาบ้านเข้าธนาคาร แม้ว่าจะมีดอกเบี้ยที่แพงกว่าดอกเบี้ยเพื่อกู้ซื้อบ้าน แต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อื่น ๆ

ตอนนี้หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านแลกเงิน แต่หลายคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าสินเชื่อบ้านแลกเงินคืออะไร มีความแตกต่างจากสินเชื่อบ้านตามปกติอย่างไร และเหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้เงินของเราหรือไม่ แล้วเราควรจะเลือกขอสินเชื่อแบบไหนดี

สินเชื่อบ้าน คืออะไร

เมื่อรู้จักว่าสินเชื่อบ้านแลกเงินคืออะไรกันไปแล้ว ตอนนี้เรามาดูกันบ้างว่า สินเชื่อบ้านคืออะไร เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน คือสินเชื่อที่เป็นการกู้ยืมเงินซื้อบ้าน แล้วผ่อนจ่ายในระยะยาว กล่าวคือ หากว่าเราไปเจอบ้านหลังหนึ่ง ไม่ว่าจะมือหนึ่งหรือมือสองก็ตาม ที่ประกาศขายแล้วชอบ อยากซื้อแต่มีเงินสดไม่เพียงพอ หรือต้องการเก็บเงินสดเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เราสามารถขอสินเชื่อบ้านได้ ซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการขอสินเชื่อทั่ว ๆ ไป และสามารถผ่อนชำระได้ในระยะยาว จึงเป็นสินเชื่อที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการขอกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้าน

ข้อดีของสินเชื่อบ้านอะไร

เราสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้สูงสุดถึง 100% ของราคาประเมิน ซึ่งการปรับมาตรการ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อบ้านเพื่ออยู่อาศัยสามารถขอวงเงินกู้ได้เต็ม 100% และยังสามารถขอกู้เพิ่มได้อีก 10% สำหรับค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยอย่างการซื้อเฟอร์นิเจอร์ และการตกแต่งบ้าน

อย่างไรก็ตาม แม้สินเชื่อบ้านจะมีข้อดีมากมาย แต่ข้อจำกัดก็คือ ต้องเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้าน และมีค่าธรรมเนียมอย่างค่าจดจำนอง ค่าโอนกรรมสิทธิ์ และอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องคำนวณเอาไว้ให้ดี

ขั้นตอนการขอสินเชื่อ

  1. เตรียมเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เอกสารแสดงรายได้หรือทรัพย์สินต่าง ๆ
  2. ยื่นเอกสารกับทางธนาคาร จากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ว่าตรงกับเงื่อนไขหรือไม่
  3. ประเมินราคาบ้าน โดยธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่ไปประเมินราคาบ้าน เพื่อกำหนดวงเงินกู้
  4. เซ็นสัญญาและรับเงินกู้ โดยจะมีขั้นตอนการจดจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน ซึ่งเราสามารถไปด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่โครงการบ้านไปดำเนินการแทนได้

รถแลกเงิน สินเชื่อทะเบียนรถ พี่เบิ้ม วงเงิน 1 ล้านบาท | KTC

KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ตัวช่วยเรื่องการเงินของคนมีรถปลอดภาระ

หลังจากพูดถึงประเด็นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถหรือสินเชื่อส่วนบุคคลแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในหลายแง่มุม รวมถึงความสำคัญของการมีรถปลอดภาระไปแล้ว จึงต้องขอแวะมาแนะนำทางเลือกเงินด่วนที่ไม่ควรมองข้ามอย่าง KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับคนที่มองหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน โดย KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มีคุณสมบัติดี ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

  • มีความน่าเชื่อถือสูง

KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เป็นแหล่งเงินกู้ที่เป็นสถาบันทางการเงิน ได้รับการรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือสูง สัญญาเป็นธรรม สอบถามได้เมื่อมีข้อสงสัย

  • สะดวกด้วยบริการพี่เบิ้ม เดลิเวอรี่

พี่เบิ้ม เดลิเวอรี่ เป็นบริการไปหาถึงที่สำหรับผู้ที่สนใจขอสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เพิ่มความสะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารด้วยตนเอง

  • สมัครได้ทุกอาชีพ

KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เปิดกว้างในการขอสินเชื่อเกี่ยวกับรถยนต์โดยการจำนำทะเบียน ไม่มีการกำหนดอาชีพ แต่กำหนดรายรับ และการแสดงหลักฐานรายรับตามเงื่อนไขที่กำหนด ทุกอาชีพที่รายรับเข้าเกณฑ์สามารถขอสินเชื่อได้

  • มี บัตรกดเงินสด ให้ใช้ยามฉุกเฉิน

นอกจากเงินก้อนที่จะได้รับเมื่อผ่านการอนุมัติแล้ว KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินยังใจดีให้บัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้มไปใช้ต่อเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน กดได้ที่ตู้ ATM ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีค่าธรรมเนียมในการกด

  • ให้วงเงินสูง

สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินให้วงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท คนที่กำลังมองหาเงินก้อนฉุกเฉิน อย่าลืมเก็บ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ไว้พิจารณาเวลาต้องการเงินก้อนใหญ่โดยมีเล่มทะเบียนรถเป็นประกันนะครับ

  • อนุมัติเร็วทันใจ

KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน อนุมัติรวดเร็วทันใจ รู้ผลอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมงหลังส่งเอกสารครบ พร้อมรับเงินก้อนโอนเข้าบัญชีทันทีที่รู้ผล รวดเร็วถูกใจคนมองหาเงินด่วนจี๋จริง ๆ

การมีรถปลอดภาระเป็นหลักประกันเงินด่วนในอนาคตได้ เพราะสามารถนำรถนั้นมาขอสินเชื่อรถแลกเงิน ซึ่ง KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ก็เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนมองหา เงินก้อน เพราะได้ทั้งเงินก้อนและบัตรกดเงินสด พร้อมการบริการที่รวดเร็วทันใจ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่สุด ๆ

อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบกธนาคารแห่งประเทศไทย

สนใจสมัครสินเชื่อรถแลกเงิน 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สมัครสินเชื่อรถแลกเงินกับ ​Masii ไม่ต้องกังวลเรื่องความยุ่งยากในการยื่นเอกสาร  เพราะเรามีทีมงานคอยให้คำปรึกษา พร้อมแนะนำสินเชื่อรถแลกเงินที่เหมาะกับคุณ จากหลากหลายธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งช่วยให้การอนุมัติสินเชื่อรถแลกเงินเร็วยิ่งขึ้น พร้อมรับเงินทันใช้ เพียง คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครสินเชื่อรถแลกเงินได้ที่ 02 710 3100 รวมถึง LINE: @masii

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

_________________________
Please become Masii Fan

Facebook: www.facebook.com/MasiiThailand
Website: www.masii.co.th
Blog: https://blog.masii.co.th/
Line : @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCV-5rpO5ZqAGfgLdKqzKGFw
Instagram: www.instagram.com/masii_thailand
Twitter: twitter.com/MasiiGroup 
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ #ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน
#ประกันภัยโดรน #ประกันโดรน #ลงทะเบียนโดรน #ขึ้นทะเบียนโดรน #Dronethailand
#ประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์ชั้น1 #สมัครประกันรถยนต์ #ประกันรถที่คุ้มที่สุด
#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก #เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า #SimplifiedComparison

banner-blog-car-for-cash-900x141