การปฏิบัติตามกฎหมาย ในการใช้งาน โดรน

การปฏิบัติตามกฎหมาย ในการใช้งาน โดรน
สมัครรถแลกเงินโปรโมชั่น แจกฟรี Voucher Lazada

สำหรับคนที่ใช้โดรน เป็นประจำนั้น จำเป็นต้องศึกษาการดูแลรักษาโดรน บังคับโดรนอย่างถูกวิธีตามข้อบังคับ และการปฏิบัติตามกฎหมายทุกครั้งที่เราใช้โดรน ซึ่งหากพูดถึงบทบาทของโดรนในปัจจุบันนั้นเราจะพบว่าโดรนมีความสำคัญอย่างมากมาย ซึ่งผู้บังคับโดรนนั้นต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ หรีอกฏการบินโดรนอย่างเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นแล้ว ผู้ควบคุมโดรน หรือเจ้าของโดรนลำนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมายได้

กฏข้อบังคับการบิน โดรน และเขตห้ามบิน โดรน ในกรุงเทพ

กฏข้อบังคับการบินโดรน มีความสำคัญมาก เพราะไม่ใช่กฏข้อห้ามหรือข้อบังคับธรรมดา แต่คือกฏหมายและหากไม่ทำตาม จะถูกดำเนินคดี และนั่นคือสาเหตุหนึ่งที่ ผู้ควบคุมโดรนทุกลำจะต้องขึ้นทะเบียนโดรน เพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าของโดรนลำนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฏที่ว่าด้วยเขตห้ามบินโดรน No Fly Zone

วันนี้ทาง masii จะนำเกร็ดความรู้เรื่องกฎการใช้โดรนและเขตห้ามบินมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัด เรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

  1. ห้ามทำการบินโดรนในสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล ยกเว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
  2. ผู้ที่ปล่อยโดรน ห้ามทำการบินสูงเกิน 90 เมตร หรือ 300 ฟุต เหนือพื้นดิน
  3. ผู้ที่ปล่อยโดรน ต้องบินในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และต้องมองเห็นโดรนของเราตลอดเวลา ห้ามบินเข้าใกล้เมฆหรือบินเข้าไปในเมฆ
  4. ผู้ที่บังคับโดรน ห้ามบินเหนือหมู่บ้าน ชุมชน เมือง หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
  5. ผู้ที่บังคับโดรน ห้ามละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความรำคาญ ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.caat.or.th

 

No Fly Zone คืออะไร

ต้องบอกว่าผู้บังคับโดรนนั้น ต้องศึกษา ข้อห้าม และข้อบังคับต่างๆ ซึ่งรวมไปถึง  No Fly Zone โซนในพื้นที่นั้นๆ ด้วย ซึ่งสำหรับ No Fly Zone นั้น เรียกได้ว่าเป็นเขตพื้นที่ห้ามบิน ซึ่งสำหรับพื้นที่ห้ามบิน คือพื้นที่ที่ตั้งอยู่และห้ามโดรนเข้ามาในพื้นที่  เพื่อความปลอดภัยของบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การป้องกันการโจมตีทางอากาศ การป้องกันการเผยแพร่ของสารเคมีหรือป้องกันการกระจายเชื้อโรคทางอากาศ หรืออาจเป็นการป้องกันการใช้งานอากาศยานของบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่นั้นๆ การกำหนด No Fly Zone จะเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและนโยบายด้านการปกครองและการรักษาความมั่นคงของประเทศหรือพื้นที่นั้นๆ

1.ห้ามทำการบินโดรนบริเวณพื้นที่หวงห้ามเด็ดขาด พื้นที่หวงห้ามเฉพาะ และพื้นที่อันตราย ตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้งบริเวณพื้นที่ 9 กิโลเมตร (5 ไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

2.ห้ามทำการบินในบริเวณสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

3.ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร (300 ฟุต) เหนือพื้นดิน

4.ต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก โดยสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน และห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ

5.ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่

6.ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญผู้อื่น

พื้นที่ห้ามบินโดรน สำหรับมือใหม่ บินโดรน สามารถเช็กได้อย่างไร

วิธีตรวจสอบพื้นที่ห้ามบินโดรน 

สะดวกมากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่ต้องการบินโดรน สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Fly Here-Thailand ซึ่งช่วยให้สามารถบินโดรนได้อย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย โดยแอปพลิเคชันจะแสดงข้อมูลว่าพื้นที่ตรงจุดที่อยู่สามารถบินโดรนได้หรือไม่ และรวมถึงบอกได้ว่าจุดไหนเขตไหนที่เป็นเขตห้ามบิน No Fly Zone(NFZ)
 พื้นที่ห้ามบินโดรน สำหรับมือใหม่ บินโดรน สามารถเช็กได้อย่างไร

สำหรับเขตพื้นที่ ห้ามบินโดรน ในกรุงเทพมหานคร มีดังนี้

ดูภาพตัวอย่างด้านล่าง

  1. ท่าอากาศยานดอนเมือง
  2. กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์
  3. สวนรถไฟ
  4. สนามราชมังคลากีฬาสถาน
  5. สวนหลวงร.9
  6. ป่าในกรุง
  7. สนามบินสุวรรณภูมิ
  8. ตลาดนัดรถไฟรัชดา
  9. เอสพลานาด รัชดาภิเษก
  10. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  11. พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
  12. สะพานพระราม8
  13. ท่ามหาราช
  14. วันพระแก้วและเขตวังฯ
  15. วันอรุณราชวราราม
  16. สวนลุมพินี
  17. สวนเบญจกิตติ
  18. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

    ข้อมูลอ้างอิงจาก https://magiapp.me
ภาพสำหรับเขตพื้นที่ห้ามบินในกรุงเทพมหานคร
เขตพื้นที่ห้ามบินในกรุงเทพมหานคร

สนใจสมัครประกันภัยโดรน

button-orange
สนใจสมัคร

การกำหนดเขตห้ามบินโดรนที่กำหนดไว้ดังกล่าวเป็นการป้องกันการชนกับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่กว่า และอุปสรรค อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการบินของโดรน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยกระแสลม การถูกคลื่นสัญญาณแทรกแซง และใช้สิทธิ์ในการควบคุมและจำกัดการบินของโดรนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ และหากใครที่ ซื้อโดรนลำใหม่มา่ อย่าลืมวางแผนที่จะขึ้นทะเบียนโดรนและซื้อประกันภัยโดรน หรือสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

 ใครที่สนใจหรืออยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับประกันโดรนเพิ่มเติม สามารถโทรมาสอบถามข้อมูลได้ที่ 02 710 3100 หรือแอด LINE: @masii (มี @ ด้วยนะ)

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อนาคต ‘ โดรน ’ เทคโนโลยีที่กำลังปฏิวัติโลก

10 คำถามยอดฮิต ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ ประกันโดรน