แม้ว่าทุกวันนี้ ร้อยละ 70 ของคนไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันแล้วอย่างน้อย 2 เข็ม และแม้ว่าข่าวการแพร่ระบาดจะไม่ได้ถูกอัพเดตทุกชั่วโมงเหมือนช่วงแรกของการระบาด แต่ยอดการติดเชื้อโควิดในแต่ละวันยังคงมีอยู่ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโควิดยังคงอยู่กับเราต่อไป และเราทุกคนยังคงต้องป้องกันการติดเชื้อด้วยการดำเนินชีวิตตามวิถี New Normal เพราะหากเลือกได้คงไม่มีมีใครอยากติดโควิด แต่เมื่อติดแล้วคงดีไม่น้อยหากเราได้รับเงินชดเชยรายได้ ซึ่งนอกจากการทำ ประกันโควิด แล้ว ล่าสุด ” สำนักงานประกันสังคม ” ก็พร้อมช่วยเหลือ ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ที่ติดเชื้อ ” โควิด-19 ” พร้อมเปิดรายละเอียด ” ค่าทดแทน ” เมื่อขาดรายได้ วันนี้ มาสิ จึงได้หยิบยกสิทธิประโยชน์สำคัญที่ผู้ประกันตน ประกันสังคม มาตราต่างๆ มาบอกต่อกัน ถ้าพร้อมแล้ว ไปเช็กกันเลยครับ …
เช็กค่าชดเชยรายได้ หาก ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดเชื้อโควิด พร้อมทำ ประกันโควิด คุ้มครองคูณสอง ที่นี่!
นอกจากการทำ ประกันโควิด ที่เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะได้รับเงินชดเชยรายได้ และค่ารักษาพยาบาลแล้วนั้น เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้โพสต์ข้อความเรื่อง หากผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19 สำนักงานประกันสังคมพร้อมช่วยเหลือผู้ประกันตนทุกมาตรา โดยครอบคลุมการรักษาของผู้ประกันตน ทั้ง มาตรา 33 และ 39 รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ผู้ประกันตนทุกมาตรา
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39
จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน ( ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา )
- ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ , เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
- ค่ายาที่ใช้รักษา
- ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพาบาลสนาม และสถานพยาบาล
- ค่าบริการ X-ray
- ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์
ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ สำหรับค่าทดแทนเมื่อขาดรายได้ มีดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33
- กรณีลาป่วย 30 วันแรกจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน
( หากต้องการทำ ประกันโควิด หรือ ประกันการแพ้วัคซีนโควิด-19 สามารถ คลิกที่นี่! เพื่อดูรายละเอียดกรมธรรม์ รวมถึงรายละเอียดความคุ้มครองครับ )
ผู้ประกันตนมาตรา 39
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
- ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์
ผู้ประกันตนมาตรา 40
จะได้รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้
- เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีรับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ( สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2 ) และไม่เกิน 90 วัน / ปี ( สำหรับทางเลือกที่ 3 )
- เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี ( สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2 ) และไม่เกิน 90 วัน / ปี ( สำหรับทางเลือกที่ 3 )
- เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง / ปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในหรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน ( เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง )
สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) อย่างไรก็ตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
( สำหรับใครที่อยากเพิ่มความคุ้มครอง ที่เป็นหลักประกันเสริมความอุ่นใจ ทั้งเรื่องค่ารักษาพยาบาล ค่าโรงพยาบาล ของการทำ ประกันโควิด-19 ที่นี่ก็มีคำตอบให้ คลิกที่นี่! เอกสารและขั้นตอน รวมถึงสมัคร ประกันโควิด )
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคแบบนี้ เราไม่อาจรู้เลยว่าจะเกิดเหตุไม่คาดคิดติดโควิดขึ้นมาตอนไหน ถึงแม้ว่าจะป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี และแม้ว่า ผู้ประกันตน ประกันสังคม ในมาตราต่างๆ จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้ แต่ มาสิ ก็ขอแนะนำให้คุณสร้างความคุ้มครองแบบคูณสองด้วย แผน ประกันโควิด iSafe และ VSafe เบี้ยเริ่มต้นเพียง 599 บาทต่อปี จ่ายทันทีเมื่อตรวจว่าพบเชื้อโควิด-19 พร้อมคุ้มครองสูงสุด 1 ล้านบาท! เรียกได้ว่า จ่ายหลักร้อย ความคุ้มครองหลักล้าน ทั้งกรณีอาการโคม่า และ แพ้วัคซีนทุกยี่ห้อ กรณีโคม่าจากการฉีดวัคซีน รับสูงสุด 1,000,000 ขึ้นอยู่กับแผน ประกันภัย ที่เลือก ดูเงื่อนไขและรายละเอียดความคุ้มครองของ ประกันโควิด เพิ่มเติม คลิกที่นี่!
ตารางเปรียบเทียบ ประกันโควิด – 19 ทั้งสองแผน จาก ทูนประกันภัย
บริษัท |
ติดเชื้อ รับเงินก้อน |
โคม่า |
ค่ารักษาพยาบาล |
ประกันอุบัติเหตุ |
แพ้วัคซีน |
ราคา |
แผน ประกันโควิด iSafe | 10,000 บาท
ทุกแผน |
300,000 | 30,000 |
150,000 |
X |
499 |
500,000 | 50,000 | 699 | ||||
1,000,000 | 100,000 | 999 | ||||
แผน ประกันโควิด VSafe | 300,000 | 30,000 |
50,000 |
30,000 | 699 | |
500,000 | 50,000 | 50,000 | 999 | |||
1,000,000 | 100,000 | 100,000 | 1,599 |
สนใจ สมัคร ประกันโควิด –19 จาก ทูนประกันภัย
หากใครสนใจ ประกันโควิด แผน iSafe และ VSafe จากทูนประกันภัย สามารถติดต่อกับ masii ได้เลยที่ 02 710 3100 หรือแอดไลน์ @masii (มี @ ด้วยนะครับ) เพื่อติดตามข่าวสารและบทความดีๆ ที่ มาสิบล็อก เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันการเดินทาง และผลิตภัณฑ์ทางการเงินจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ ประกันโควิด ”
- รวม จุดตรวจ ATK ฟรี ! เข้าตรวจหาเชื้อ “โควิด” ได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่ายทำประกันโควิดได้ที่นี่
- รวมเบอร์สายด่วน ขอเตียงผู้ป่วยโควิด และ อย่าลืมทำประกันโควิด-19ไว้นะ
- อัพเดทแผนประกันโควิด-19 Vsafe Covid จาก ทูนประกันภัย เบี้ยเริ่มต้น 799 บาท
- ประกันสังคม มาตรา 33,39,40 เยียวยาอะไร ในช่วงโควิด 2565 และอย่าลืมทำประกันโควิดกับ masii นะ
_____________________________________________
Please become Masii Fan
Facebook: https://lnkd.in/gFFh8mh
Website: www.masii.co.th
Blog: https://masii.co.th/blog
Line: @masii
Tel: 02 710 3100
Youtube: https://lnkd.in/gbQf9eh
Instagram: https://lnkd.in/ga4j5ri
Twitter: twitter.com/MasiiGroup
#บัตรเครดิต #สมัครบัตรเครดิตออนไลน์
#ทำบัตรเครดิต #บัตรเครดิตใบแรก
#สินเชื่อส่วนบุคคล #บัตรกดเงินสด #เงินด่วนทันใจ
#สินเชื่อส่วนบุคคลออนไลน์ #กู้เงิน #เงินสด #เงินก้อน
#เงินด่วน #เงินกู้ทันใจ#masii #มาสิ #ครบง่ายสะดวก
#เพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า#ครบง่ายสะดวกเพื่อความสุขในชีวิตที่ดีกว่า
#SimplifiedComparison